ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา
ภาษิตของพระมาลุงกยบุตรเถระ
(พระมาลุงกยบุตรเถระได้กล่าวภาสิตเหล่านี้ว่า) [๗๙๔] เมื่อเห็นรูป มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่ ย่อมหลงลืมสติได้ ผู้ที่มีจิตกำหนัดนักยังเสวยรูปารมณ์อยู่ [๗๙๕] เวทนาต่างๆ ซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา อภิชฌา๑- และวิหิงสา๒- ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน [๗๙๖] เมื่อฟังเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์อันเป็นที่รักอยู่ ย่อมหลงลืมสติได้ ผู้ที่มีจิตกำหนัดนัก ยังเสวยสัททารมณ์อยู่ สัททารมณ์นั้นย่อมผูกพันเขาไว้ [๗๙๗] เวทนาต่างๆ ซึ่งมีเสียงเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน [๗๙๘] เมื่อบุคคลดมกลิ่นแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่ายินดี ก็เป็นอันหลงลืมสติ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก เพลิดเพลิน และติดคันธารมณ์นั้นอยู่ @เชิงอรรถ : @ ความเพ่งเล็งอยากได้จัด (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๙๕/๓๓๕) @ ความพยาบาท (ขุ.เถร.อ. ๒/๗๙๒/๓๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา

[๗๙๙] เวทนาต่างๆ ซึ่งมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป ท่านกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน [๘๐๐] เมื่อบุคคลลิ้มรสแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่อร่อย ก็เป็นอันหลงลืมสติ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก เพลิดเพลิน และติดรสารมณ์นั้นอยู่ [๘๐๑] เวทนาต่างๆ ซึ่งมีรสเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน [๘๐๒] เมื่อบุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่าติดใจ ก็เป็นอันหลงลืมสติ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก เพลิดเพลิน และติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่ [๘๐๓] เวทนาต่างๆ ซึ่งมีผัสสะเป็นอารมณ์ ย่อมเจริญแก่เขา อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป ท่านกล่าวว่า ยังห่างไกลนิพพาน [๘๐๔] เมื่อบุคคลรู้ธรรมารมณ์แล้ว ใส่ใจว่าเป็นนิมิตที่น่าเพลิดเพลิน ก็เป็นอันหลงลืมสติ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เขามีจิตกำหนัดนัก เพลิดเพลิน และติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา

[๘๐๕] เวทนาต่างๆ ซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นเหตุ ย่อมเจริญแก่เขา อภิชฌา และวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของเขา เพราะสั่งสมอย่างนี้ ทุกข์ย่อมเป็นไป ท่านกล่าวว่ายังห่างไกลนิพพาน [๘๐๖] ผู้ที่เห็นรูปแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า ไม่กำหนัดยินดีในรูป มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งรูปารมณ์นั้น และไม่ติดรูปารมณ์นั้นอยู่ [๘๐๗] เมื่อพระโยคีนั้นพิจารณาเห็นรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือแม้เสวยเวทนาโดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้ กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ก็ฉันนั้น เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน [๘๐๘] ผู้ที่ฟังเสียงแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า ไม่กำหนัดยินดีในเสียง มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งสัททารมณ์นั้น และไม่ติดสัททารมณ์นั้นอยู่ [๘๐๙] เมื่อพระโยคีนั้น ฟังเสียง หรือแม้เสวยเวทนา โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้ กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน [๘๑๐] ผู้ที่ดมกลิ่นแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า ไม่กำหนัดยินดีในกลิ่น มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งคันธารมณ์นั้น และไม่ติดคันธารมณ์นั้นอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๕. มาลุงกยปุตตเถรคาถา

[๘๑๑] เมื่อพระโยคีนั้น ดมกลิ่น หรือแม้เสวยเวทนา โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้ กิเลสวัฏ ย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้นิพพาน [๘๑๒] ผู้ที่ลิ้มรสแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า ไม่กำหนัดยินดีในรส มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งรสารมณ์นั้น และไม่ติดรสารมณ์นั้นอยู่ [๘๑๓] เมื่อพระโยคีนั้นลิ้มรส หรือแม้เสวยเวทนา โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้ กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน [๘๑๔] ผู้ที่ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า ไม่กำหนัดยินดีในโผฏฐัพพะ มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งโผฏฐัพพารมณ์นั้น และไม่ติดโผฏฐัพพารมณ์นั้นอยู่ [๘๑๕] เมื่อพระโยคีนั้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ หรือแม้เสวยเวทนา โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้นเป็นไปไม่ได้ กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน [๘๑๖] ผู้ที่รู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติอยู่เฉพาะหน้า ไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์ มีจิตคลายความกำหนัด รู้แจ้งธรรมารมณ์นั้น และไม่ติดธรรมารมณ์นั้นอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๑๖. วีสตินิบาต]

๖. เสลเถรคาถา

[๘๑๗] เมื่อพระโยคีนั้น รู้แจ้งธรรมารมณ์หรือแม้เสวยเวทนา โดยที่กิเลสมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นไปไม่ได้ กิเลสวัฏย่อมสิ้นไป ย่อมก่อรากขึ้นไม่ได้ ท่านมีสติประพฤติอยู่อย่างนี้ เมื่อไม่ก่อวัฏฏทุกข์อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้นิพพาน


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๗๒-๔๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=389              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7569&Z=7644                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=389              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=389&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=7618              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=389&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=7618                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag16.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :