ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. อหิตุณฑิกชาดก (๓๖๕)
ว่าด้วยหมองู
(หมองูกล่าวกับลิงว่า) [๘๐] นี่เพื่อนผู้มีใบหน้างาม เราเป็นนักเลงแพ้การพนันสะกา เจ้าจงโยนมะม่วงสุกมาให้บ้าง เราจะได้กินมะม่วงเพราะความพยายามของเจ้า (ลิงได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวว่า) [๘๑] นี่เพื่อน ท่านสรรเสริญข้าพเจ้า ผู้มีปกติหลุกหลิกด้วยคำไม่จริงเลย ท่านได้ยินหรือได้เห็นลิงตัวไหนบ้างที่มีใบหน้างาม [๘๒] นี่หมองู การที่ท่านเข้าไปยังร้านขายข้าวเปลือกเมาแล้ว เฆี่ยนตีข้าพเจ้าผู้หิวโหย ยังฝังใจข้าพเจ้าอยู่จนทุกวันนี้ [๘๓] ข้าพเจ้าเมื่อระลึกถึงการนอนอันเป็นทุกข์นั้นอยู่ ถึงแม้ท่านจะให้ครองราชสมบัติ แล้วขอมะม่วงก็ไม่ยอมให้ เพราะข้าพเจ้าถูกท่านคุกคามอย่างน่ากลัวเช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๕. ปัญจกนิบาต]

๒. วัณณาโรหวรรค ๖. คุมพิยชาดก (๓๖๖)

[๘๔] นักปราชญ์ควรผูกความเป็นเพื่อนมิตรไมตรีกับคนผู้ที่ตนรู้ว่า มีชาติตระกูล มีความอิ่มในครรภ์๑- ไม่ตระหนี่
อหิตุณฑิกชาดกที่ ๕ จบ
๖. คุมพิยชาดก (๓๖๖)
ว่าด้วยยักษ์คุมพิยะ
(พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแล้วตรัสว่า) [๘๕] ยักษ์คุมพิยะ เมื่อแสวงหาเหยื่อได้วางยาพิษ อันมีสี รส และกลิ่นเหมือนน้ำผึ้งไว้ในป่า [๘๖] เหล่าชนผู้เข้าใจว่า เป็นน้ำผึ้ง ได้ลิ้มยาพิษเข้าไป ยาพิษนั้นออกฤทธิ์แรงกล้าแก่พวกเขา พวกเขาจึงถึงความตายเพราะยาพิษนั้น [๘๗] ส่วนเหล่าชนที่พิจารณาเห็นว่า นั่นคือยาพิษ แล้วงดเว้นเสียก็อยู่เป็นสุข ปราศจากทุกข์ ขณะที่พวกอื่นทุรนทุราย ถูกยาพิษเผาผลาญ [๘๘] กามทั้งหลายที่ฝังอยู่ในหมู่มนุษย์ บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้ว่า เป็นพิษ กามนั้นเป็นทั้งเหยื่อเป็นทั้งเครื่องผูก ถ้ำที่อาศัยคือร่างกายตกอยู่ในอำนาจของมัจจุราช [๘๙] บัณฑิตทั้งหลายผู้กระสับกระส่ายย่อมงดเว้น กามทั้งหลายอันเป็นเครื่องบำเรอกิเลสเหล่านี้ได้ทุกเมื่ออย่างนี้ ย่อมล่วงพ้นเครื่องข้องในโลกได้
คุมพิยชาดกที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ มีความอิ่มในครรภ์ หมายถึงบุคคลผู้อิ่มด้วยโภชนะรสดีในครรภ์แห่งมารดาก็ตาม (อยู่ในครรภ์ก็ได้รับ @การบำรุงดี) หรือในห้องนอนที่ประดับตกแต่งไว้แล้วก็ตาม (คลอดแล้วก็ได้รับการบำรุงดี) เป็นคนไม่กำพร้า @ด้วยหวังใช้สอยโภคสมบัติ ควรผูกมิตรกับคนเช่นนี้ (ขุ.ชา.อ. ๔/๘๔/๔๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๑๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=365              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=3615&Z=3629                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=773              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=773&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=38&A=9903              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=773&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=38&A=9903                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja365/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :