ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. เสตเกตุชาดก (๓๗๗)
ว่าด้วยเสตเกตุดาบส
(พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์สอนมาณพเสตเกตุผู้เป็นหัวหน้าศิษย์ว่า) @เชิงอรรถ : @ ตบปาก ในที่นี้หมายถึงตบปากของฤาษีโพธิสัตว์ (ขุ.ชา.อ. ๕/๖/๕) @ ไม่อาจจะให้ประโยชน์เกิดขึ้นจากทองคำ คือไม่อาจทำทองคำให้เกิดเป็นประโยชน์ได้ (ขุ.ชา.อ. ๕/๗/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต]

๑. อวาริยวรรค ๒. เสตเกตุชาดก (๓๗๗)

[๘] พ่อเอ๋ย เจ้าอย่าโกรธ เพราะความโกรธไม่ดีเลย ทิศที่เจ้ายังไม่ได้เห็น ยังไม่ได้ยินมีอีกมาก พ่อเสตเกตุ มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญอาจารย์ว่าเป็นทิศเบื้องขวา [๙] คฤหัสถ์ถวายข้าว น้ำ และผ้า กล่าวนิมนต์ผู้ใด แม้ผู้นั้นพระอริยะทั้งหลายย่อมเรียกว่า เป็นทิศเบื้องบน เสตเกตุ ทิศนี้เป็นทิศที่ยอดเยี่ยม เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีทุกข์ถึงแล้วย่อมเป็นสุข (พระราชาทรงเห็นดาบสทั้งหลายบำเพ็ญตบะผิด จึงตรัสสนทนากับปุโรหิตว่า) [๑๐] ชฎิลเหล่าใดนุ่งห่มหนังสัตว์ที่ขรุขระ มีขี้ฟันเขรอะ ร่างกายสกปรก สาธยายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้นประกอบหน้าที่การงานของมนุษย์ จะรู้แจ้งโลกนี้แล้วพ้นจากอบายได้หรือ (ปุโรหิตกราบทูลว่า) [๑๑] ขอเดชะพระราชา หากบุคคลถึงจะเป็นพหูสูต กระทำแต่กรรมชั่ว ก็ชื่อว่าไม่ประพฤติธรรม เขาแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น แต่ไม่บรรลุจรณธรรม๑- ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ (เสตเกตุดาบสกล่าวกับปุโรหิตนั้นว่า) [๑๒] บุคคลแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น แต่ไม่บรรลุจรณธรรม ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ อาตมาเข้าใจว่า พระเวททั้งหลายเป็นสิ่งที่ไร้ผล จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวม๒- เท่านั้นเป็นสัจจะ @เชิงอรรถ : @ จรณธรรม ในที่นี้หมายถึงศีลและสมาบัติ ๘ (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๑/๑๒) @ ความสำรวม ในที่นี้เป็นชื่อของศีล (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๑/๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๖. ฉักกนิบาต]

๑. อวาริยวรรค ๓. ทรีมุขชาดก (๓๗๙)

(ปุโรหิตได้กล่าวว่า) [๑๓] พระเวททั้งหลายจะไร้ผลก็หาไม่ จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ เพราะบุคคลบรรลุพระเวททั้งหลายแล้วย่อมได้เกียรติ บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้วด้วยจรณธรรมย่อมบรรลุความสงบ๑-
เสตเกตุชาดกที่ ๒ จบ
๓. ทรีมุขชาดก (๓๗๘)
ว่าด้วยพระทรีมุขปัจเจกพุทธเจ้า
(พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพรหมทัตว่า) [๑๔] กามทั้งหลายเสมือนเปือกตม เสมือนหล่ม ก็ภัยนี้บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นมูลเหตุแห่งภัย ๓ ประการ กามทั้งหลายคือธุลีและควัน อาตมภาพก็ได้ประกาศไว้แล้ว ขอถวายพระพร พระเจ้าพรหมทัต ขอมหาบพิตรทรงละกามเหล่านี้ออกผนวชเถิด (พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสบอกความที่พระองค์พัวพัน ด้วยกิเลสว่า) [๑๕] ท่านพราหมณ์ โยมกำหนัดยินดี และหมกมุ่นอยู่ในกามทั้งหลาย ประสงค์จะมีชีวิตอยู่อย่างนี้ จึงไม่อาจจะละกามอันน่าสะพรึงกลัวนั้นได้ แต่โยมจะทำบุญทั้งหลายให้มาก @เชิงอรรถ : @ ความสงบ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๓/๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๒๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๒๒๘-๒๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=377              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=3848&Z=3869                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=837              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=837&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=123              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=837&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=123                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja377/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :