ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๕. หริตจชาดก (๔๓๑)
ว่าด้วยหริตจดาบสโพธิสัตว์
(พระราชาตรัสถามหริตจดาบสว่า) [๔๐] ท่านมหาพรหม โยมทราบข่าวมาว่า หริตจดาบสบริโภคกาม คำกล่าวนั้นคงเป็นเท็จใช่ไหม พระคุณเจ้ายังบริสุทธิ์อยู่ใช่ไหม (หริตจดาบสกราบทูลว่า) [๔๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ข้อนี้เป็นจริงตามที่พระองค์ได้ทรงสดับมา อาตมภาพหมกมุ่นอยู่ในกามคุณอันทำให้ลุ่มหลง ได้เดินทางผิดไปแล้ว (พระราชาตรัสว่า) [๔๒] ใจบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยปัญญาใด ปัญญานั้นเป็นธรรมชาติละเอียด คิดแต่สิ่งที่ดีๆ จะมีประโยชน์อะไร ท่านไม่อาจบรรเทาจิตได้หรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต]

๕. หริตจชาดก (๔๓๑)

(หริตจดาบสกราบทูลว่า) [๔๓] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ในโลกนี้มีสิ่งที่หยาบ มีกำลังอย่างยิ่งที่ปัญญาหยั่งไม่ถึง ๔ ประการ คือ ๑. ราคะ (ความกำหนัด) ๒. โทสะ (ความโกรธ) ๓. มทะ (ความเมา) ๔. โมหะ (ความหลง) (พระราชาตรัสว่า) [๔๔] โยมได้ยกย่องพระคุณเจ้าไว้ว่า ท่านหริตจดาบสเป็นพระอรหันต์ ถึงพร้อมด้วยศีล ประพฤติบริสุทธิ์ เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต (หริตจดาบสกราบทูลว่า) [๔๕] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ฤๅษีแม้มีปัญญา ยินดีแล้วในคุณธรรม ยังถูกความคิดลามกประกอบด้วยราคะ ที่ยึดถือว่างาม เบียดเบียนเอาได้ (พระราชาตรัสว่า) [๔๖] ราคะที่เกิดขึ้นในสรีระนี้เกิดขึ้นแล้วเป็นเหตุประทุษร้ายผิวพรรณ พระคุณเจ้าจงละราคะนั้นเสีย ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าได้รับยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์ของคนหมู่มาก (หริตจดาบสกราบทูลว่า) [๔๗] อาตมภาพจักค้นหารากเหง้าของกามเหล่านั้น ที่ทำให้มืดบอด มีทุกข์มาก มีพิษร้ายแรง จักตัดราคะพร้อมทั้งเครื่องผูก (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) [๔๘] ครั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ หริตจฤๅษีผู้ยึดมั่นสัจจะ คลายกามราคะแล้ว เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
หริตจชาดกที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๐๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=431              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=5217&Z=5241                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1246              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1246&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=7226              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1246&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=7226                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja431/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :