ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๗. โลมสกัสสปชาดก (๔๓๓)
ว่าด้วยโลมสกัสสปฤาษี
(ท้าวสักกะตรัสกับพระราชาว่า) [๖๐] ข้าแต่มหาราช หากพระองค์ให้ฤๅษีโลมสกัสสปะบูชายัญได้ พระองค์จะเป็นเหมือนพระอินทร์ ไม่แก่ ไม่ตายเลย (ฤๅษีโลมสกัสสปะกล่าวกับสัยหอำมาตย์ว่า) [๖๑] อาตมาไม่ปรารถนาแผ่นดินอันมีสมุทรเป็นขอบเขต มีสาครล้อมรอบประดุจต่างหู พร้อมกับคำนินทา ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด สัยหอำมาตย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต]

๗. โลมสกัสสปชาดก (๔๓๓)

[๖๒] พราหมณ์ น่าติเตียนการได้ยศ และการได้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิต ซึ่งเป็นเหตุให้ประสบความพินาศ หรือประพฤติไม่เป็นธรรม [๖๓] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม [๖๔] ถึงแม้เราจะเป็นนักบวชถือบาตรเลี้ยงชีพ ไม่เบียดเบียนผู้อื่นในโลก การเลี้ยงชีพเช่นนั้นแหละยังดีกว่าการครองราชสมบัติ (ประชาชนที่มาประชุมกันกล่าวว่า) [๖๕] ดวงจันทร์ก็มีกำลัง ดวงอาทิตย์ก็มีกำลัง สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายก็มีกำลัง ฝั่งสมุทรก็มีกำลัง แต่หญิงทั้งหลายมีกำลังเหนือกว่ากำลังทั้งหมด [๖๖] เพราะพระนางจันทวดีได้ใช้ฤๅษีชื่อโลมสกัสสปะ ซึ่งมีตบะสูงบูชายัญชื่อ วาชเปยยะ เพื่อประโยชน์แก่พระบิดาได้ (ฤๅษีโลมสกัสสปะสลดใจ จึงกล่าวว่า) [๖๗] กรรมที่กระทำด้วยความโลภมีกามเป็นเหตุนั้น เป็นกรรมเผ็ดร้อน เราจักค้นหารากเหง้าของกรรมนั้น จักตัดราคะพร้อมทั้งเครื่องผูก [๖๘] น่าติเตียน กามทั้งหลายแม้มากมายในโลก ขอถวายพระพรมหาบพิตร ตบะเท่านั้นประเสริฐกว่ากามคุณทั้งหลาย อาตมาจะละกาม บำเพ็ญตบะ ส่วนแว่นแคว้นและพระนางจันทวดี ขอถวายคืนมหาบพิตร
โลมสกัสสปชาดกที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๑๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๑๐-๓๑๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=433              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=5273&Z=5295                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1265              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1265&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=7678              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1265&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=7678                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja433/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :