ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๙. หลิททราคชาดก (๔๓๕)
ว่าด้วยจิตกลับกลอกเหมือนผ้าย้อมด้วยขมิ้น
(นางกุมาริกากล่าวกับดาบสหนุ่มว่า) [๗๘] พวกที่บำเพ็ญตบะอดกลั้นอยู่ในบ้านยังประเสริฐกว่าท่าน ผู้อดกลั้นบำเพ็ญตบะอยู่ในเสนาสนะอันสงัดในป่า @เชิงอรรถ : @ ผิวพรรณงามเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ (๑) อาหาร (๒) อากาศ (๓) ความคิด (๔) การงานที่ทำ @(ขุ.ชา.อ. ๕/๗๗/๓๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต]

๙. หลิททราคชาดก (๔๓๕)

(ดาบสหนุ่มถามดาบสผู้เป็นบิดาว่า) [๗๙] คุณพ่อ ลูกออกจากป่าไปสู่บ้านแล้ว ควรจะคบหาคนมีศีลอย่างไร มีข้อปฏิบัติอย่างไร ลูกถามแล้ว ขอพ่อจงบอกข้อนั้น (ดาบสผู้เป็นบิดาตอบว่า) [๘๐] ลูกรัก ผู้ใดพึงทำให้ลูกเบาใจ อดทนความคุ้นเคยของลูกได้ เชื่อฟังและอดกลั้นถ้อยคำของลูกได้ ลูกไปจากที่นี้แล้ว จงคบผู้นั้นเถิด [๘๑] ผู้ใดไม่ทำความชั่วทางกาย วาจา ใจ ลูกไปจากที่นี้แล้ว จงดำรงตนอยู่เหมือนลูกในใส้ คบผู้นั้นเถิด [๘๒] อนึ่ง ผู้ใดประพฤติธรรม แม้ประพฤติธรรมอยู่ก็ไม่ถือตัว ลูกไปจากที่นี้แล้วจงคบผู้นั้น ซึ่งมีปัญญาทำแต่กรรมอันบริสุทธิ์เถิด [๘๓] คนที่มีจิตกลับกลอกเหมือนลิง รักง่ายหน่ายเร็วดุจผ้าที่ย้อมด้วยขมิ้น ลูกรัก ถึงแม้ว่าพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้นจะไร้มนุษย์ ลูกก็อย่าคบคนเช่นนั้นเลย [๘๔] คนที่มีจิตโกรธเหมือนอสรพิษ ลูกจงเว้นให้ห่างไกล เหมือนคนเว้นหนทางใหญ่ที่เปื้อนคูถ และเหมือนคนขับขี่ยานพาหนะเว้นหนทางที่ไม่เรียบ [๘๕] ลูกรัก เมื่อเข้าไปคบหาคนพาลอย่างสนิท ก็จะเพิ่มพูนแต่ความฉิบหาย ลูกอย่าสมาคมกับคนพาลเลย ขึ้นชื่อว่าการอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นเหมือนการอยู่ร่วมกับศัตรูทุกเมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต]

๑๐. สมุคคชาดก (๔๓๖)

[๘๖] ลูกรัก ดังนั้นพ่อจึงขอร้องลูก ลูกจงทำตามคำของพ่อ ลูกอย่าสมาคมกับคนพาลเลย เพราะการสมาคมกับคนพาลทั้งหลายเป็นทุกข์
หลิททราคชาดกที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=435              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=5328&Z=5354                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1283              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1283&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=7955              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1283&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=7955                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja435/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :