ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๑๐. สมุคคชาดก (๔๓๖)
ว่าด้วยหญิงในผอบแก้ว
(พระโพธิสัตว์กล่าวกับยักษ์ทานพว่า) [๘๗] ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านทั้ง ๓ คนมาจากที่ไหนหนอ พวกท่านพากันมาดีแล้ว เชิญนั่งที่อาสนะเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านสุขสบายไม่มีโรคภัยเบียดเบียนหรือ นานมาแล้วพวกท่านเพิ่งจะมาที่นี้ในวันนี้ (ยักษ์ทานพกล่าวว่า) [๘๘] วันนี้ ข้าพเจ้ามาถึงที่นี้เพียงคนเดียว ข้าพเจ้าไม่มีใครเป็นเพื่อนเลย ท่านฤๅษี ท่านกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านทั้ง ๓ คนมาจากที่ไหนหนอ นั่นหมายถึงใครเล่า (พระโพธิสัตว์กล่าวว่า) [๘๙] ท่านก็คนหนึ่งละ และภรรยาสุดที่รัก ซึ่งท่านซ่อนไว้ในผอบแก้วข้างใน ท่านรักษาหล่อนไว้ในท้องในกาลทุกเมื่อ หล่อนกำลังอภิรมย์อยู่กับวิทยาธรชื่อวายุบุตรในท้องนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๙. นวกนิบาต]

๑๐. สมุคคชาดก (๔๓๖)

(พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) [๙๐] ทานพนั้น ฤๅษีบอกแล้วก็สลดใจ ได้คายผอบแก้วออกมา ณ ที่นั้น ได้เห็นภรรยาทัดทรงดอกไม้สวยงาม กำลังอภิรมย์อยู่กับวิทยาธรชื่อวายุบุตรในผอบนั้น (ยักษ์ทานพกล่าวว่า) [๙๑] เหตุการณ์นี้ ท่านผู้บำเพ็ญตบะชั้นสูงได้เห็นแจ่มแจ้งแล้วว่า นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของสตรี เหมือนนางที่เรารักษาไว้ภายในท้องนี้ดังชีวิตของตน ยังกลับประทุษร้ายเรา ชมเชยกับชายอื่น นับว่าเป็นคนเลว [๙๒] แม่นางผู้ที่เราบำรุงแล้วทั้งกลางวันและกลางคืน เหมือนไฟที่ท่านผู้บำเพ็ญตบะอยู่ในป่าบำเรออยู่ หล่อนละเมิดธรรม กลับประพฤติอธรรม เราไม่ควรทำความเชยชิดกับหญิงทั้งหลายเลย [๙๓] เราเข้าใจหญิงเลวผู้ไม่สำรวมอยู่กลางตัวเราว่า หญิงนี้เป็นของเรา มันละเมิดธรรม กลับประพฤติอธรรม เราไม่ควรทำความเชยชิดกับหญิงทั้งหลายเลย [๙๔] จะไว้ใจได้อย่างไรว่า เราคุ้มครองไว้ได้ดี เพราะพวกหญิงหลายใจ ไม่มีการรักษาไว้ได้เลย หญิงเหล่านี้เหมือนกับเหวเมืองบาดาล ชายที่มัวเมาในหญิงเหล่านี้ย่อมถึงความพินาศ [๙๕] เพราะเหตุนั้นแหละ ชายเหล่าใดสลัดมาตุคามเที่ยวไป ชายเหล่านั้นมีความสุข ปราศจากความเศร้าโศก ผู้ปรารถนาความเกษมอันสูงสุด ไม่พึงทำความเชยชิดกับมาตุคามเลย
สมุคคชาดกที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๓๑๕-๓๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=436              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=5355&Z=5389                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1292              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1292&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=8026              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1292&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=8026                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja436/en/francis-neil



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :