ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)

๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)
ว่าด้วยพญานกออกช่วยเพื่อน
(แม่เหยี่ยวพูดกับพญาเหยี่ยวว่า) [๔๔] พวกชาวชนบทพากันมัดคบเพลิงอยู่บนเกาะ ประสงค์จะกินลูกน้อยๆ ของเรา พี่พญาเหยี่ยว ขอท่านจงไปบอกมิตรสหาย เล่าถึงความพินาศแห่งหมู่ญาติของนกทั้งหลาย (เหยี่ยวนั้นถูกถามจึงแสดงเหตุที่ต้องมาว่า) [๔๕] ข้าแต่พญานกออก๑- ราชปักษี ท่านนะเป็นนกที่ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอยึดท่านเป็นที่พึ่ง พวกนายพรานชาวชนบทประสงค์จะกินลูกน้อยๆ ของข้าพเจ้า เพื่อความสุขของข้าพเจ้า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งด้วยเถิด (พญานกออกตอบเหยี่ยวว่า) [๔๖] บัณฑิตทั้งหลายผู้แสวงหาความสุขอยู่ ย่อมคบมิตรสหายทั้งในกาลและมิใช่กาล เจ้าเหยี่ยว เราจะทำตามความประสงค์ของเจ้านั้น เพราะว่าคนดีจะต้องช่วยเหลือคนดี (เหยี่ยวฟังดังนั้นแล้วเข้าไปหาพญานกออกพลางเชื้อเชิญว่า) [๔๗] กิจอันใดเป็นกิจที่คนดีจะพึงกระทำให้คนดี ด้วยความอนุเคราะห์กิจอันนี้ท่านก็ได้ทำแล้ว ท่านจงถนอมตัวไว้เถิด อย่าได้เดือดร้อนไปเลย เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ข้าพเจ้าก็จะได้ลูกต่อไป @เชิงอรรถ : @ พญานกออก หมายถึงชื่อนกเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ชอบหากินปลาในทะเล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)

(พญานกออกบันลือสีหนาทว่า) [๔๘] เราเมื่อจะกระทำการรักษาป้องกันท่านนั้น แม้ตัวจะตายก็ไม่หวาดหวั่น เพราะเพื่อนทั้งหลายเหล่านั้นจะต้องสละชีวิต กระทำเพื่อเพื่อนทั้งหลาย นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ (พระศาสดาทรงสรรเสริญคุณของพญานกออกนั้นว่า) [๔๙] พญานกออกตัวนี้เกิดจากฟองไข่ ได้ทำกรรมที่ทำได้ยาก เพื่อต้องการจะช่วยลูกนกทั้งหลายเกือบเที่ยงคืน (ฝ่ายเหยี่ยวไปหาเต่าแล้วกล่าวว่า) [๕๐] จริงอยู่ คนบางพวกแม้จะเคลื่อนคลาดพลาดพลั้ง จากการงานของตน ก็ยังดำรงตนอยู่ได้ เพราะความช่วยเหลือของมิตรทั้งหลาย ลูกๆ ของข้าพเจ้ามีความเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึงมาหาท่านให้เป็นที่พึ่ง ท่านพญาเต่า ขอท่านบำเพ็ญสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด (เต่าฟังแล้วกล่าวว่า) [๕๑] บัณฑิตทั้งหลายย่อมทำการผูกมิตรผูกสหาย ด้วยทรัพย์บ้าง ด้วยข้าวเปลือกบ้าง ด้วยตนบ้าง พญาเหยี่ยว เราจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ท่าน เพราะว่าคนดีจะต้องช่วยเหลือคนดี (ลูกเต่านอนอยู่ไม่ไกลได้ยินบิดาพูด จึงกล่าวว่า) [๕๒] คุณพ่อ ขอพ่อจงขวนขวายน้อยนั่งอยู่เฉยๆ เถิด ลูกจะช่วยบำเพ็ญประโยชน์แทนพ่อ ลูกจะป้องกันลูกน้อยๆ ของพญาเหยี่ยว บำเพ็ญประโยชน์นั้นแทนพ่อเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๓. มหาอุกกุสชาดก (๔๘๖)

(พ่อเต่ากล่าวกับลูกว่า) [๕๓] ลูกรัก จริงอยู่ การที่ลูกพึงช่วยเหลือ บำเพ็ญประโยชน์แทนพ่อนั้น เป็นธรรมของสัตบุรุษโดยแท้ บางทีพวกนายพรานเห็นพ่อซึ่งมีร่างกายใหญ่โต ก็จะไม่พึงเบียดเบียนลูกนกน้อยๆ ของพญาเหยี่ยว (เหยี่ยวไปหาราชสีห์เมื่อถูกถาม จึงกล่าวว่า) [๕๔] ท่านผู้ประเสริฐกว่าเนื้อผู้กล้าหาญ สัตว์ดิรัจฉานและมนุษย์เดือดร้อน เพราะภยันตรายย่อมเข้าไปหาท่านผู้ประเสริฐ ลูกน้อยๆ ของข้าพเจ้ามีความเดือดร้อน ข้าพเจ้าจึงมาหาท่านให้เป็นที่พึ่ง ท่านเป็นราชาของข้าพเจ้า เพื่อความสุขของข้าพเจ้า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งด้วยเถิด (ราชสีห์ฟังแล้วกล่าวว่า) [๕๕] เหยี่ยว เราจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ท่าน เรามาก็เพื่อจะฆ่าหมู่ศัตรูของท่าน ธรรมดาวิญญูชนผู้มีความสามารถรู้อยู่ จะไม่พยายามคุ้มครองมิตรผู้เสมอด้วยตนได้อย่างไร (แม่เหยี่ยวประกาศมิตตธรรมว่า) [๕๖] เพื่อบรรลุถึงความสุข บุคคลควรคบมิตรสหายผู้มีใจดี และบุคคลผู้เป็นเจ้านาย เราทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกับลูกๆ บันเทิงใจอยู่ เหมือนคนสวมเกราะป้องกันลูกศร [๕๗] ลูกนกน้อยๆ ส่งเสียงคูขันอยู่อย่างไพเราะจับใจ ต้อนรับเราและท่านผู้กำลังคูขัน เพราะการกระทำของมิตรสหายผู้ไม่หนีไปของตน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๔. อุททาลกชาดก (๔๘๗)

[๕๘] บัณฑิตนั้นได้มิตรสหายแล้วย่อมป้องกันลูก ปศุสัตว์ หรือทรัพย์ไว้ได้ ข้าพเจ้า ลูกๆ และสามีของข้าพเจ้อยู่พร้อมหน้ากัน เพราะความช่วยเหลือของมิตรทั้งหลาย [๕๙] อันบุคคลผู้มีเจ้านายและเพื่อนผู้กล้าหาญอาจจะได้รับประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีเพื่อนพรั่งพร้อมก็จะมีเพื่อนร่วมงานเช่นนี้ เขาก็จะมีมิตร มียศ มีความรุ่งเรือง บันเทิงใจอยู่ในโลกนี้ นะพี่ที่รัก [๖๐] พี่เสนกะ ควรจะผูกมิตรแม้กับคนยากจน ดูเถิด พวกเรามาพร้อมเพรียงกับหมู่ญาติได้เพราะความช่วยเหลือของมิตร [๖๑] นกตัวใดผูกมิตรไว้กับมิตรผู้กล้าหาญและมิตรผู้มีกำลัง นกตัวนั้นย่อมมีความสุขเหมือนอย่างฉันและท่าน นะพี่เสนกะ
มหาอุกกุสชาดกที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๒๙-๔๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=486              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=7324&Z=7379                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1891              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1891&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=5399              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1891&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=5399                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja486/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :