ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)
ว่าด้วยสุกรชื่อตัจฉะ
(สุกรตัจฉะเที่ยวเสาะหาฝูงสุกรในป่าพบสุกรจำนวนมากแล้วดีใจ จึงกล่าวว่า) [๑๖๐] เราเมื่อเสาะหาหมู่ญาติใด เที่ยวไปตามเทือกเขาลำเนาไพร เราเที่ยวตามหาอยู่ช้านาน ญาติทั้งหลายนี้นั้นเราก็ได้พบแล้ว [๑๖๑] มูลผลาหารนี้ก็มีอยู่มาก และภักษาหารนี้ก็มีอยู่ไม่น้อย ส่วนแม่น้ำ ภูเขานี้ก็น่ารื่นรมย์ คงจะอยู่ได้สบาย [๑๖๒] เราจักอยู่พร้อมกับหมู่ญาติทั้งปวงในที่นี้แหละ จักเป็นผู้ขวนขวายน้อย หมดความระแวงภัย ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีภัยแต่ที่ไหน (สุกรทั้งหลายกล่าวว่า) [๑๖๓] ตัจฉะ ท่านจงเสาะหาถ้ำในที่อื่นอยู่เถิด ในที่นี้พวกเรามีศัตรู มันมาที่นี้ฆ่าสุกรแล้วกัดกินเนื้อล่ำๆ เป็นประจำ (สุกรตัจฉะถามว่า) [๑๖๔] ใครหนอเป็นศัตรูของพวกเราในที่นี้ ใครกันรังควานหมู่ญาติผู้พร้อมเพรียงซึ่งรังควานได้ยาก เราถามแล้ว ขอพวกท่านจงบอกผู้นั้นแก่เรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)

(สุกรเหล่านั้นตอบว่า) [๑๖๕] ท่านตัจฉะ พญาเนื้อ เป็นสัตว์มีพลัง มีเขี้ยวเป็นอาวุธ มันมาที่นี่ฆ่าสุกรแล้วกัดกินเนื้อล่ำๆ เป็นประจำ (สุกรตัจฉะกล่าวว่า) [๑๖๖] พวกเราไม่มีเขี้ยวก็หาไม่ พลังกายก็พร้อมมูล พวกเราทั้งหมดจงพร้อมเพรียงกัน สร้างอำนาจร่วมกัน (สุกรเหล่านั้นกล่าวว่า) [๑๖๗] ท่านตัจฉะ ท่านนะพูดได้จับใจ สบายหู แม้ตัวใดหนีไปในขณะต่อสู้ พวกเราจะฆ่าตัวนั้นในภายหลัง (ชฎิลโกงเห็นเสือโคร่งกลับมามือเปล่า จึงกล่าวว่า) [๑๖๘] วันนี้ท่านงดเว้นจากปาณาติบาตหรือหนอ หรือว่าท่านให้อภัยแก่หมู่สัตว์ทั้งปวง ท่านไม่มีเขี้ยวที่จะฆ่าเนื้อหรือหนอ ถึงอยู่ในฝูงสุกรก็ยังซบเซาเหมือนคนกำพร้า (พญาเสือโคร่งได้กล่าวว่า) [๑๖๙] ข้าพเจ้าจะไม่มีเขี้ยวก็หาไม่ พลังกายก็พร้อมมูล แต่เพราะเห็นญาติๆ พร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกัน เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงซบเซาอยู่ผู้เดียวในป่า [๑๗๐] เมื่อก่อนสุกรเหล่านี้กลัวภัย แยกกันหนีไปคนละทิศละทาง แสวงหาที่พึ่ง แต่บัดนี้พวกมันกลับรวมหมู่กันตั้งท่าสู้ ยากที่ข้าพเจ้าจะข่มพวกมันได้ [๑๗๑] พวกมันได้ผู้นำดี มีความพร้อมเพรียงกัน มีความเห็นอย่างเดียวกัน พร้อมกันที่จะทำลายข้าพเจ้าได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ปรารถนาสุกรเหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๙. ตัจฉสูกรชาดก (๔๙๒)

(ชฎิลโกงเมื่อจะให้เสือโคร่งเกิดความอุตสาหะ จึงกล่าวว่า) [๑๗๒] พระอินทร์องค์เดียวยังเอาชัยชนะพวกอสูรได้ นกเหยี่ยวตัวเดียวยังข่มขี่ฆ่านกทั้งหลายได้ เสือโคร่งตัวเดียวเข้าไปอยู่ในฝูงเนื้อ ก็ยังฆ่าเนื้อตัวล่ำๆ ซึ่งมีกำลังเหมือนเช่นนั้นได้ (เสือโคร่งกล่าวว่า) [๑๗๓] หมู่ญาติผู้พร้อมเพรียงร่วมใจกัน มีกิริยาเช่นเสือโคร่ง ไม่ว่าพระอินทร์หรือนกเหยี่ยว หรือเสือโคร่ง ซึ่งเป็นพญาสัตว์ ก็ไม่อาจให้อยู่ในอำนาจได้ (ชฎิลโกงปลุกใจเสือโคร่งว่า) [๑๗๔] ฝูงนกกุมภีลกาตัวเล็กๆ เที่ยวไปเป็นฝูง เป็นหมู่ รื่นเริง จับกลุ่มกันโผผิน บินร่อนไปมา [๑๗๕] ก็เมื่อนกเหล่านั้นโผผินอยู่ เหยี่ยวย่อมโฉบเอานกตัวหนึ่ง บรรดานกเหล่านั้นที่แตกฝูงออกมา นั้นเป็นคติของเหล่าพยัคฆ์ทั่วไป (พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า) [๑๗๖] เสือโคร่งมีเขี้ยวเป็นอาวุธ ถูกชฎิลชั่วผู้เห็นแก่อามิสปลุกใจ มีความสำคัญเหมือนครั้งก่อน จึงได้เผ่นเข้าไปในฝูงของสุกรผู้ที่มีเขี้ยว (รุกขเทวดาเห็นเหตุอัศจรรย์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า) [๑๗๗] ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกันเป็นการดี ถึงแม้จะเป็นต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ตาม เสือโคร่งถูกสุกรทั้งหลายที่สามัคคีกันฆ่าตาย ในหนทางที่เดินได้คนเดียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๔. ปกิณณกนิบาต]

๑๐. มหาวาณิชชาดก (๔๙๓)

(พระศาสดาตรัสว่า) [๑๗๘] สุกรทั้งหลายได้ฆ่าเสียทั้ง ๒ คน คือ พราหมณ์ ๑ เสือโคร่ง ๑ จึงได้รื่นเริงบันเทิงใจ ส่งเสียงบันลือลั่น [๑๗๙] สุกรเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันที่โคนต้นมะเดื่อ ได้อภิเษกสุกรตัจฉะว่า ท่านจงเป็นราชา เป็นใหญ่แห่งเราทั้งหลายเถิด
ตัจฉสูกรชาดกที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๔๙-๔๕๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=492              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=7658&Z=7710                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1975              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=1975&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=6889              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=1975&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=6889                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja492/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :