ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๑. มาตังคชาดก (๔๙๗)

๑๕. วีสตินิบาต
๑. มาตังคชาดก (๔๙๗)
ว่าด้วยอานุภาพของฤๅษีมาตังคะ
(มัณฑัพยกุมารตรัสกับมาตังคดาบสว่า) [๑] ท่านมาจากไหนหนอ นุ่งผ้าเก่าขาดกะรุ่งกะริ่งเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น สวมใส่เศษผ้าจากกองขยะไว้จนถึงคอ ท่านไม่ใช่ทักขิไณยบุคคล เป็นใครกันแน่ (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๒] ขอถวายพระพรพระองค์ผู้เพียบพร้อมด้วยยศ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมขบฉันและดื่มกินอาหาร ที่พระองค์ทรงตระเตรียมไว้ พระองค์ก็ทรงรู้ว่า อาตมาอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้เลี้ยงชีวิต ขอคนจัณฑาลจงได้ก้อนข้าวที่ต้องการลุกขึ้นยืนรับเถิด (มัณฑัพยกุมารตรัสว่า) [๓] อาหารนี้เราตระเตรียมไว้สำหรับพราหมณ์ทั้งหลาย อาหารนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตน สำหรับเราผู้เชื่อมั่น ท่านจงหลีกไปแต่ที่นี้เถิด จะยืนอยู่ทำไม พราหมณ์ผู้ชั่วช้า คนเช่นเราจะไม่ให้ท่าน (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๔] คนทั้งหลายเมื่อหวังผลย่อมหว่านพืชลงในนาดอน ๑ ในนาลุ่ม ๑ ในที่ไม่ใกล้แม่น้ำ ๑ ด้วยความเชื่อนั้น ขอพระองค์จงให้ทาน พึงให้ทักขิไณยบุคคลยินดีได้แน่แท้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๑. มาตังคชาดก (๔๙๗)

(มัณฑัพยกุมารตรัสว่า) [๕] เรารู้แจ้งเนื้อนาบุญเป็นที่ประดิษฐานเมล็ดพืชทั้งหลายในโลก เนื้อนาบุญ คือ พราหมณ์ทั้งหลายที่เกิดโดยชาติและมนต์ นับว่าเป็นเนื้อนาบุญที่มีศีลเป็นที่รักยิ่ง (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) [๖] ก็อคุณธรรมเหล่านี้ คือ ความเมาเพราะชาติ ๑ ความมีมานะจัด ๑ โลภะ ๑ โทสะ ๑ มทะ ๑ โมหะ ๑ ทุกอย่างมีอยู่ในเนื้อนาบุญเหล่าใด เนื้อนาบุญเหล่านั้นนับว่าเป็นเนื้อนาบุญที่ไม่มีศีลเป็นที่รักในโลก [๗] อคุณธรรมเหล่านี้ คือ ความเมาเพราะชาติ ๑ ความมีมานะจัด ๑ โลภะ ๑ โทสะ ๑ มทะ ๑ โมหะ ๑ ทุกอย่างไม่มีอยู่ในเนื้อนาบุญเหล่าใด เนื้อนาบุญเหล่านั้นนับว่าเป็นเนื้อนาบุญที่มีศีลเป็นที่รักในโลก (เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวความนี้ซ้ำอีก มัณฑัพยกุมารทรงกริ้วแล้วตรัสว่า) [๘] เจ้าอุปโชติยะ เจ้าอุปัชฌายะ และเจ้าภัณฑกุจฉิไปไหนกันหมด พวกเจ้าจงเฆี่ยนตี จงทำร้ายเจ้าดาบสนี้ แล้วจับคอเจ้าคนชั่ว ไสหัวมันออกไป (พระโพธิสัตว์เหาะไปอยู่ในอากาศกราบทูลว่า) [๙] พระองค์ทรงด่าว่าฤๅษีชื่อว่าขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟันและพยายามกลืนกินไฟ (พระศาสดาทรงประกาศข้อความนั้นว่า) [๑๐] มาตังคฤๅษีครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มีความบากบั่นแน่วแน่ในสัจจะ เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายเห็นอยู่ ได้เหาะหนีไปในอากาศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๑. มาตังคชาดก (๔๙๗)

(นางทิฏฐมังคลิการีบเสด็จไปโดยเร็วเห็นว่า) [๑๑] ศีรษะบิดกลับไปข้างหลัง แขนกางออกใช้การไม่ได้ นัยน์ตาขาวเหมือนนัยน์ตาของคนตายแล้ว ใครหนอได้กระทำบุตรของดิฉันนี้ให้เป็นอย่างนี้ (ชนผู้อยู่ในที่นั้นบอกนางว่า) [๑๒] สมณะนุ่งผ้าเก่าขาดกะรุ่งกะริ่งเหมือนปีศาจคลุกฝุ่น สวมใส่เศษผ้าจากกองขยะไว้จนถึงคอได้มา ณ ที่นี้ สมณะรูปนั้นได้กระทำบุตรของท่านนี้ให้เป็นอย่างนี้ (นางทิฏฐมังคลิกาถามว่า) [๑๓] พ่อมาณพ สมณะผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ได้ไปยังทิศไหนเสียเล่า ขอท่านโปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปขอโทษท่าน ทำอย่างไร ข้าพเจ้าจึงจะได้ชีวิตของบุตรนั้นคืนมา (มาณพทั้งหลายผู้อยู่ในที่นั้นบอกว่า) [๑๔] ฤๅษีผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดินได้เหาะไป ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญลอยอยู่ท่ามกลางนภากาศ อีกอย่างหนึ่ง ฤๅษีผู้เป็นคนดีแม้รูปนั้น ปฏิญญามั่นอยู่ด้วยสัจจะ ได้ไปทางทิศบูรพา (นางทิฏฐมังคลิกาจะถามพระโพธิสัตว์ว่า) [๑๕] ศีรษะบิดกลับไปข้างหลัง แขนกางออกใช้การไม่ได้ นัยน์ตาขาวเหมือนนัยน์ตาของคนตายแล้ว ใครหนอได้กระทำบุตรของดิฉันนี้ให้เป็นอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๑. มาตังคชาดก (๔๙๗)

(พระโพธิสัตว์มาตังคบัณฑิตกล่าวตอบนางว่า) [๑๖] ยักษ์ทั้งหลายผู้มีอานุภาพมากยังมีอยู่แล ก็ยักษ์เหล่านั้นได้ติดตามฤๅษีทั้งหลายผู้เป็นคนดี ทราบว่าบุตรของท่านมีจิตประทุษร้าย โกรธเคืองจึงได้ทำให้เป็นอย่างนี้ (นางทิฏฐมังคลิกากล่าวว่า) [๑๗] ก็ยักษ์ทั้งหลายได้กระทำบุตรของดิฉันให้เป็นอย่างนี้ ส่วนพระคุณเจ้าผู้ประพฤติพรหมจรรย์อย่าโกรธบุตรดิฉันเลย พระคุณเจ้าผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ดิฉันขอถึงพระคุณเจ้าเท่านั้นเป็นที่พึ่งที่ระลึก เป็นบาทเบื้องต้น ดิฉันได้ติดตามมาด้วยความโศกถึงบุตร (พระโพธิสัตว์มาตังคบัณฑิตกล่าวว่า) [๑๘] ทั้งในกาลนั้น ทั้งเดี๋ยวนี้ การคิดประทุษร้ายทางใจบางอย่าง ของอาตมาก็ไม่มีแก่อาตมา ส่วนบุตรของท่านเป็นผู้มัวเมาเพราะ ความเมาในพระเวท เรียนจบพระเวทแล้วหารู้จักประโยชน์ไม่ (นางทิฏฐมังคลิกากล่าวว่า) [๑๙] แน่นอน ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ธรรมดาคนเรา สัญญาย่อมเลือนไปเพียงชั่วครู่ พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ขอพระคุณเจ้าจงอดโทษสักครั้งหนึ่งเถิด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่มีความโกรธรุนแรง (พระโพธิสัตว์มาตังคบัณฑิตผู้ถูกนางทิฏฐมังคลิกาอ้อนวอนขอโทษให้บุตร จึงกล่าวว่า) [๒๐] นี้ก้อนข้าวที่อาตมาฉันเหลือ มัณฑัพยบุตรของท่านผู้มีปัญญาน้อยจงบริโภค ยักษ์ทั้งหลายไม่พึงเบียดเบียนมัณฑัพยบุตรของท่าน และบุตรของท่านจักเป็นผู้ไม่มีโรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๔๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก [๑๕. วีสตินิบาต]

๒. จิตตสัมภูตชาดก (๔๙๘)

(ลำดับนั้น มารดากล่าวกับบุตรว่า) [๒๑] พ่อมัณฑัพยะ เจ้าเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา ไม่ฉลาดต่อบุคคลผู้เป็นเนื้อนาบุญ ได้ให้ทานในบุคคลผู้มีกิเลสเพียงดังน้ำฝาดมากมาย ผู้มีการงานเศร้าหมอง ไม่สำรวม [๒๒] บางพวกเกล้าผมเป็นชฎา บางพวกนุ่งหนังสัตว์ บางพวกปากมีหนวดรุงรังเหมือนบ่อน้ำเก่า เจ้าจงดูหมู่ชนนี้ มีรูปทราม มวยผมและหนังสัตว์คุ้มครองคนมีปัญญาทรามไม่ได้ [๒๓] ชนเหล่าใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว ชนเหล่านั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระอรหันต์ ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้นมีผลมาก
มาตังคชาดกที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๗ หน้าที่ ๔๖๙-๔๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=497              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=7993&Z=8064                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2033              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=27&item=2033&items=21              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=27&item=2033&items=21              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja497/en/rouse



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :