ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส๑-
อธิบายมหาวิยูหสูตร
ว่าด้วยการวิวาทกันเพราะทิฏฐิสูตรใหญ่
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายมหาวิยูหสูตร ดังต่อไปนี้ [๑๓๐] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้ ยึดถือทิฏฐิอยู่ พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น คำว่า พวกใดพวกหนึ่ง ในคำว่า สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้ ยึดถือทิฏฐิอยู่ ได้แก่ ทุกพวกโดยอาการทั้งหมด ทุกพวกไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง คำว่า พวกใดพวกหนึ่ง นี้ เป็นคำกล่าวรวมไว้ทั้งหมด คำว่า ยึดถือทิฏฐิอยู่ อธิบายว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก สมณ- พราหมณ์เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดา ทิฏฐิ ๖๒ แล้ว อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตนๆ เหมือนพวก คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็อยู่ในเรือน หมู่ภิกษุผู้มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ หรือพวกปุถุชนผู้มี กิเลสก็อยู่ในกิเลส ฉันใด สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิบางพวก สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิ เหล่านั้น ยึด ยึดถือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งบรรดาทิฏฐิ๒- ๖๒ แล้ว อยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองในทิฏฐิของตนๆ ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้ ยึดถือทิฏฐิอยู่ คำว่า พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง อธิบายว่า กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๙๐๒-๙๒๑/๕๑๐-๕๑๔ @ ทิฏฐิ ๖๒ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒/๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงว่า “โลกไม่เที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคต จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความ ว่า พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะได้รับการนินทา คือ ได้รับการติเตียน ได้รับความเสื่อมเกียรติ ได้แก่ ทุกพวกจะถูกนินทา จะถูกติเตียน จะถูกทำให้เสื่อม เกียรติ รวมความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา คำว่า หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น อธิบายว่า จะได้ คือ จะได้รับ สมหวัง ประสบความสรรเสริญ คือ ความชื่นชม เกียรติคุณ ความยกย่อง ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ในความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตนนั้น รวมความว่า หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น ด้วยเหตุนั้น พระพุทธ เนรมิตจึงทูลถามว่า สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งเหล่านี้ ยึดถือทิฏฐิอยู่ พากันกล่าวอ้างว่า นี้เท่านั้นจริง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกพวกนั่นแหละจะถูกนินทา หรือว่า จะได้ความสรรเสริญในเพราะทิฏฐินั้น [๑๓๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อความสงบ เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น ๒ อย่าง บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม ไม่พึงวิวาทกัน คำว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ในคำว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อ ความสงบ ได้แก่ ผลนี้น้อย คือ ผลนี้ต่ำทราม หน่อยเดียว น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย รวมความว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก คำว่า ไม่พอเพื่อความสงบ อธิบายว่า ไม่พอเพื่อความสงบราคะ เพื่อความ สงบโทสะ เพื่อความสงบโมหะ ไม่พอเพื่อความสงบ คือเพื่อเข้าไปสงบ เพื่อสงบเย็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

เพื่อความดับ เพื่อความสลัดทิ้ง เพื่อความสงบระงับโกธะ ... อุปาหนะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความ กระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ไม่พอเพื่อความสงบ คือ เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อสงบเย็น เพื่อความดับ เพื่อความ สลัดทิ้ง เพื่อความสงบระงับอกุสลาภิสังขารทุกประเภท๑- รวมความว่า ผลแห่ง วาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อความสงบ
ว่าด้วยผลแห่งการวิวาท ๒ อย่าง
คำว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น ๒ อย่าง อธิบายว่า ผลแห่งการ ทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาท เพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายเพราะทิฏฐิ มี ๒ อย่าง คือ ชนะกับพ่ายแพ้ มีลาภกับ เสื่อมลาภ มียศกับเสื่อมยศ นินทากับสรรเสริญ สุขกับทุกข์ โสมนัสกับโทมนัส อารมณ์ที่พึงปรารถนากับไม่พึงปรารถนา ความชอบกับความชัง ความเฟื่องฟูกับ ความแฟบฟุบ ความยินดีกับความยินร้าย อีกนัยหนึ่ง เรากล่าว คือ พูด บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า กรรมนั้นเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดเดรัจฉาน เป็นไป เพื่อเปตวิสัย รวมความว่า เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น ๒ อย่าง คำว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว ในคำว่า บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว... ไม่พึงวิวาทกัน อธิบายว่า เห็นแล้ว คือ แลเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง แล้วซึ่งโทษนี้ ในเพราะเหตุแห่งการทะเลาะกันด้วยอำนาจทิฏฐิ การบาดหมางกัน ด้วยอำนาจทิฏฐิ การแก่งแย่งกันด้วยอำนาจทิฏฐิ การวิวาทกันด้วยอำนาจทิฏฐิ การมุ่งร้ายกันด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า เห็นโทษแม้นี้แล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูคำแปลจากข้อ ๕/๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่พึงวิวาทกัน อธิบายว่า ไม่พึงก่อการทะเลาะ ไม่พึงก่อการบาดหมาง ไม่พึงก่อการแก่งแย่ง ไม่พึงก่อการวิวาท ไม่พึงก่อการมุ่งร้าย คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท การมุ่งร้าย ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการทะเลาะ การบาดหมาง การแก่งแย่ง การวิวาท และการมุ่งร้าย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว ... ไม่พึงวิวาทกัน คำว่า มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม อธิบายว่า อมตนิพพาน ตรัสเรียกว่า ภูมิแห่งการไม่วิวาท ได้แก่ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้ง อุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท บุคคลมองเห็น คือ แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นภูมิแห่งการ ไม่วิวาทนี้ โดยความเป็นธรรมอันเกษม คือ โดยความเป็นธรรมเครื่องป้องกัน เป็นที่หลีกเร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ไม่มีภัย เป็นที่ไม่จุติ เป็นอมตธรรม เป็นนิพพาน รวมความว่า มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสตอบว่า ผลแห่งวาทะนี้น้อยนัก ไม่พอเพื่อความสงบ เรากล่าวผลแห่งการวิวาทเป็น ๒ อย่าง บุคคลเห็นโทษแม้นี้แล้ว มองเห็นภูมิ(เหตุ)แห่งการไม่วิวาทว่า เกษม ไม่พึงวิวาทกัน [๑๓๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) ทิฏฐิสมมติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดจากปุถุชน บุคคลผู้มีความรู้ย่อมไม่เข้าถึงทิฏฐิสมมติเหล่านี้ทุกอย่าง บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงนั้น ไม่ทำความพอใจในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน พึงถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงอะไรเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิด จากปุถุชน ได้แก่ ทุกอย่างโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นคำกล่าวรวมไว้ทั้งหมด คำว่า ทิฏฐิสมมติ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า สมมติ จึงชื่อว่า ทิฏฐิสมมติ คำว่า เกิดจากปุถุชน อธิบายว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านั้น เกิดจากปุถุชน จึงชื่อว่า เกิดจากปุถุชน หรือ ทิฏฐิสมมติเหล่านี้เกิดจากชนต่างๆ มากมาย จึงชื่อว่าเกิดจาก ปุถุชน รวมความว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดจากปุถุชน คำว่า บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่เข้าถึงทิฏฐิสมมติเหล่านี้ทุกอย่าง อธิบายว่า บุคคลผู้มีความรู้ คือ มีวิชชา มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ย่อมไม่ถึง ไม่เข้าถึง คือ ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ทิฏฐิสมมติเหล่านี้ ทุกอย่าง รวมความว่า บุคคลผู้มีความรู้ ย่อมไม่เข้าถึงทิฏฐิสมมติเหล่านี้ทุกอย่าง
ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุเข้าถึง ๒ อย่าง
คำว่า กิเลสเป็นเหตุเข้าถึง ในคำว่า บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงนั้น... พึงถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงอะไรเล่า อธิบายว่า กิเลสเป็นเหตุเข้าถึง ๒ อย่าง คือ (๑) กิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจตัณหา (๒) กิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่ากิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่ากิเลสเป็นเหตุเข้าถึง ด้วยอำนาจทิฏฐิ บุคคลนั้นละกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งกิเลสเป็น เหตุเข้าถึงด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจ ตัณหา สลัดทิ้งกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว บุคคลจึงชื่อว่าไม่มีกิเลส เป็นเหตุเข้าถึง พึงเข้าถึง คือ เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น รูปอะไรเล่าว่า “อัตตา ของเรา” ... เวทนาอะไรเล่า ... สัญญาอะไรเล่า ... สังขารอะไรเล่า ... คติอะไรเล่า ... การเข้าถึงกำเนิดอะไรเล่า ... ปฏิสนธิอะไรเล่า ... ภพอะไรเล่า ... สงสารอะไรเล่า” พึง เข้าถึง คือ เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่น วัฏฏะอะไรเล่าว่า “วัฏฏะของเรา” รวมความว่า ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงนั้น ... พึงถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงอะไรเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ทำความพอใจในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อธิบายว่า ไม่ทำความ พอใจ คือ ไม่ทำฉันทะ ไม่ทำความรัก ไม่ทำความกำหนัด ได้แก่ ไม่ให้ความ พอใจเกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นในรูปที่เห็น หรือความหมดจด เพราะรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน ในอารมณ์ ที่รับรู้ หรือความหมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ รวมความว่า ไม่ทำความพอใจในรูป ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดจากปุถุชน บุคคลผู้มีความรู้ย่อมไม่เข้าถึงทิฏฐิสมมติเหล่านี้ทุกอย่าง บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเป็นเหตุเข้าถึงนั้น ไม่ทำความพอใจในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน พึงถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงอะไรเล่า [๑๓๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด สมาทานวัตรแล้ว ดำรงอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวมว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความหมดจดแห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ
ว่าด้วยผู้มีกุศลถึงพร้อมประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
คำว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด ... ได้กล่าวความหมดจดด้วย ความสำรวม อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด สมณ- พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว คือ ย่อมกล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพียงด้วยศีล เพียงด้วยความสำรวม เพียงด้วยความสังวร เพียงด้วยความไม่ล่วงละเมิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

เปรียบเหมือนปริพาชกผู้เป็นบุตรแห่งนางปริพาชิกาชื่อสมณมุณฑิกา กล่าวไว้ อย่างนี้ว่า “ช่างไม้เอ๋ย เราบัญญัติบุรุษบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า เป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม บรรลุถึงอรหัตตผลอันอุดมที่ควรบรรลุ เป็นสมณะไม่มีใครสู้ได้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ช่างไม้เอ๋ย บุคคลเช่นนั้นในโลกนี้ ๑. ย่อมไม่ทำกรรมชั่วช้าทางกาย ๒. ไม่กล่าววาจาชั่วช้า ๓. ไม่ดำริความดำริชั่วช้า ๔. ไม่ประกอบอาชีพชั่วช้า ช่างไม้เอ๋ย เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม บรรลุถึงอรหัตตผลอันอุดมที่ควรบรรลุ เป็นสมณะไม่มีใครสู้ได้๑- ฉันใด มีสมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว คือ ย่อมกล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยเหตุ เพียงศีล ด้วยเหตุเพียงความสำรวม ด้วยเหตุเพียงความสังวร ด้วยเหตุเพียงความ ไม่ล่วงละเมิด ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่า สูงสุด ... ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวม
ว่าด้วยการสมาทานวัตรต่างๆ
คำว่า วัตร ในคำว่า สมาทานวัตรแล้วดำรงอยู่ อธิบายว่า ถือเอา สมาทาน คือ ยึดถือ รับเอา ถือ ยึดมั่น ถือมั่น วัตรเยี่ยงช้างบ้าง วัตรเยี่ยงม้าบ้าง วัตร เยี่ยงโคบ้าง วัตรเยี่ยงแพะบ้าง วัตรเยี่ยงสุนัขบ้าง วัตรเยี่ยงกาบ้าง วัตรเยี่ยง ท้าววาสุเทพบ้าง วัตรเยี่ยงท้าวปุณณภัทรบ้าง วัตรเยี่ยงท้าวมณีภัทรบ้าง วัตรคือ การบูชาไฟบ้าง วัตรเยี่ยงนาคบ้าง วัตรเยี่ยงครุฑบ้าง วัตรเยี่ยงยักษ์บ้าง วัตรเยี่ยง อสูรบ้าง วัตรเยี่ยงคนธรรพ์บ้าง วัตรเยี่ยงท้าวมหาราชบ้าง วัตรเยี่ยงพระจันทร์บ้าง @เชิงอรรถ : @ ม.ม. ๑๓/๒๖๐/๒๓๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

วัตรเยี่ยงพระอาทิตย์บ้าง วัตรเยี่ยงพระอินทร์บ้าง วัตรเยี่ยงพระพรหมบ้าง วัตรเยี่ยง เทวดาบ้าง วัตรคือการไหว้ทิศบ้างแล้วดำรงอยู่ คือ ดำรงมั่น ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อ รวมความว่า สมาทานวัตรแล้วดำรงอยู่ คำว่า ในทิฏฐินี้ ในคำว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความ หมดจดแห่งวัตรนั้น ได้แก่ ในทิฏฐิของตน คือ ในความถูกใจของตน ความพอใจ ของตน ลัทธิของตน คำว่า ศึกษา ได้แก่ ศึกษา คือ ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละ คำว่า และศึกษาความหมดจดแห่งวัตรนั้น อธิบายว่า และศึกษาความ หมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้น ไปแห่งวัตรนั้น รวมความว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความหมดจด แห่งวัตรนั้น คำว่า ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ในคำว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ได้แก่ ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ คือ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงภพ ติดใจในภพ น้อมใจเชื่อในภพ รวมความว่า ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ คำว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ได้แก่ กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด คือ กล่าวอ้างว่าเป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวมความว่า กล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอ้างศีลว่าสูงสุด สมาทานวัตรแล้ว ดำรงอยู่ ได้กล่าวความหมดจดด้วยความสำรวมว่า พวกเราศึกษาในทิฏฐินี้แหละและศึกษาความหมดจดแห่งวัตรนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอ้างตนว่าเป็นคนฉลาด ย่อมเป็นผู้ถูกนำเข้าสู่ภพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

[๑๓๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร พลาดกรรมแล้วก็หวั่นไหว เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อ และปรารถนาความหมดจด เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง พลัดจากพวกฉะนั้น
ว่าด้วยเหตุให้เคลื่อนจากศีลวัตร
คำว่า ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร อธิบายว่า บุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร ด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เคลื่อนเพราะผู้อื่นชี้ขาด (๒) เคลื่อนเพราะไม่บรรลุ บุคคลเคลื่อนเพราะผู้อื่นชี้ขาด เป็นอย่างไร คือ ผู้อื่นชี้ขาดว่า “ศาสดานั้นมิใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ศาสดากล่าวสอนไว้ ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดาบัญญัติ ไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำสัตว์ออกจากทุกข์ ในลัทธินั้นไม่มีความหมดจด ความ สะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป หรือความหลุดพ้นไป คือ ในลัทธินั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือ หลุดพ้นไปไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย ชื่อว่าผู้อื่นชี้ขาด ด้วยอาการอย่างนี้ ผู้ที่ถูกชี้ขาดอย่างนี้ ย่อมเคลื่อนจากศาสดา เคลื่อนจากธรรมที่ศาสดากล่าวสอน เคลื่อนจากหมู่คณะ เคลื่อนจากทิฏฐิ เคลื่อน จากปฏิปทา เคลื่อนจากมรรค บุคคลชื่อว่าเคลื่อนเพราะผู้อื่นชี้ขาดเป็นอย่างนี้ บุคคลเคลื่อนเพราะไม่บรรลุ เป็นอย่างไร คือ บุคคลไม่บรรลุศีล จึงเคลื่อนจากศีล ไม่บรรลุวัตร จึงเคลื่อนจากวัตร ไม่ บรรลุศีลวัตร จึงเคลื่อนจากศีลวัตร บุคคลชื่อว่าเคลื่อนเพราะไม่บรรลุ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า หวั่นไหว ในคำว่า พลาดกรรมแล้วก็หวั่นไหว อธิบายว่า หวั่น หวั่นไหว คือ หวาดหวั่นเรื่องศีล วัตร หรือ ศีลวัตรว่า เราผิด พลั้ง พลาด คลาดไปเสียแล้ว เราผิดพลาดจากอรหัตตผลเสียแล้ว รวมความว่า หวั่นไหว คำว่า พลาดกรรมแล้ว อธิบายว่า หวั่น หวั่นไหว คือ หวาดหวั่นเรื่อง ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร หรืออาเนญชาภิสังขารว่า “เราผิด พลั้ง พลาด คลาดไปเสียแล้ว เราผิดพลาดจากอรหัตตผลเสียแล้ว” รวมความว่า พลาดกรรม แล้วก็หวั่นไหว คำว่า พร่ำเพ้อ ในคำว่า เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อและปรารถนาความ หมดจด ได้แก่ เพ้อ พร่ำเพ้อ คือ เพ้อพกเรื่องศีล วัตร หรือศีลวัตร รวมความว่า พร่ำเพ้อ คำว่า และปรารถนาความหมดจด ได้แก่ ปรารถนา คือ ชอบใจ ใฝ่ฝัน ความหมดจดเพราะศีล ความหมดจดเพราะวัตร หรือความหมดจดเพราะศีลวัตร รวมความว่า เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อและปรารถนาความหมดจด คำว่า เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง พลัดจากพวก ฉะนั้น อธิบายว่า บุรุษออกจากเรือน อยู่ร่วม คือ เป็นอยู่กับพวกเดินทาง พลัดจากพวก คือ ติดตามพวกเดินทางไป หรือกลับมาสู่เรือนของตนเอง ฉันใด เจ้าลัทธินั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถือ คือ ยึดมั่น ถือมั่นศาสดานั้นหรือศาสดาอื่น ธรรมที่ศาสดากล่าวสอนนั้น หรือธรรมที่ศาสดากล่าวสอนอื่น หมู่คณะนั้นหรือหมู่ คณะอื่น ทิฏฐินั้นหรือทิฏฐิอื่น ปฏิปทานั้นหรือปฏิปทาอื่น มรรคนั้นหรือมรรคอื่น รวมความว่า เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง พลัดจากพวก ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ถ้าบุคคลเคลื่อนจากศีลวัตร พลาดกรรมแล้วก็หวั่นไหว เขาย่อมเฝ้าแต่พร่ำเพ้อ และปรารถนาความหมดจด เหมือนคนออกจากเรือน อยู่ร่วมกับพวกเดินทาง พลัดจากพวกฉะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

[๑๓๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) อริยสาวกละศีลวัตรได้ทั้งหมด ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้ ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป คำว่า ละศีลวัตรได้ทั้งหมด อธิบายว่า ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมด สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความหมดจดเพราะศีลได้ทั้งหมด... ความหมดจดเพราะ วัตรได้ทั้งหมด... ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง ความหมดจดเพราะศีลวัตรได้ทั้งหมด รวมความว่า ละศีลวัตรได้ทั้งหมด
ว่าด้วยกรรมมีโทษและกรรมไม่มีโทษ
คำว่า ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้ อธิบายว่า กรรมดำ๑- มีวิบากดำ ตรัสเรียกว่า กรรมที่มีโทษ กรรมขาว๒- มีวิบากขาว ตรัสเรียกว่า กรรม ที่ไม่มีโทษ พระอริยสาวก ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี อีกซึ่งกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษได้แล้ว รวมความว่า ละกรรมที่มีโทษและ กรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้ คำว่า ความไม่หมดจด ในคำว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่ หมดจด ได้แก่ พวกปุถุชนปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนาอกุศลธรรม คำว่า ความหมดจด อธิบายว่า พวกปุถุชนปรารถนาความหมดจด คือ ปรารถนากามคุณ ๕ ปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนาอกุศลธรรมและกาม- คุณ ๕ ปรารถนาความหมดจด คือ ปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ปรารถนาความไม่หมดจด @เชิงอรรถ : @ กรรมดำ มีวิบากดำ หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ทำเกิดในอบาย @ กรรมขาว มีวิบากขาว หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมมีผลให้บุคคลผู้ทำเกิดในสวรรค์ @(ที.ปา.อ. ๓/๓๑๒/๒๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คือ ปรารถนาอกุศลธรรม กามคุณ ๕ และทิฏฐิ ๖๒ ปรารถนาความหมดจด คือ ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ปรารถนาความไม่หมดจด คือ ปรารถนา อกุศลธรรม กามคุณ ๕ ทิฏฐิ ๖๒ และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณ- ปุถุชน ปรารถนาความสะอาด คือ ปรารถนาความก้าวย่างสู่อริยมรรค พระเสขะ ปรารถนาอรหัตตผล ซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตตผล พระอรหันต์ไม่ ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนากามคุณ ๕ ไม่ปรารถนาทิฏฐิ ๖๒ ไม่ปรารถนา กุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ๑- ไม่ปรารถนาความก้าวย่างสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนา อรหัตตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระอรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนา ล่วงพ้นความ เจริญและความเสื่อมเสียแล้ว พระอรหันต์นั้นอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติ จรณธรรมแล้ว... และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและ ความไม่หมดจด คำว่า งดเว้นแล้ว ในคำว่า งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป อธิบายว่า งด งดเว้น คือ เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับ ความหมดจดและความไม่หมดจด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า งดเว้นแล้ว คำว่า เที่ยวไป ได้แก่ เที่ยวไป คือ ท่องเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า งดเว้นแล้ว เที่ยวไป @เชิงอรรถ : @ ไตรธาตุ คือ (๑) กามธาตุ(กามภพ) (๒) รูปธาตุ(รูปภพ) (๓) อรูปธาตุ(อรูปภพ) @๑. ธาตุอย่างหยาบ ชื่อกามธาตุ ๒. ธาตุอย่างกลาง ชื่อรูปธาตุ ๓. ธาตุอย่างประณีต ชื่ออรูปธาตุ @กรรมอำนวยผลให้ในกามธาตุ กามภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็น @ยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างหยาบ ธาตุอย่างหยาบ(กามธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชาเป็น @เครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป @กรรมอำนวยผลให้ในรูปธาตุ รูปภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็นยาง @เหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างกลาง ธาตุอย่างกลาง(รูปธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชาเป็นเครื่อง @ปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป @กรรมอำนวยผลให้ในอรูปธาตุ อรูปภพจึงปรากฏมีขึ้น กรรมจึงเป็นไร่นา วิญญาณเป็นพืช ตัณหาเป็น @ยางเหนียว วิญญาณดำรงมั่นอยู่ได้เพราะธาตุอย่างประณีต ธาตุอย่างประณีต(อรูปธาตุ)ของสัตว์มีอวิชชา @เป็นเครื่องปิดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ การเกิดในภพใหม่จึงมีต่อไป (องฺ.ติก.(แปล) ๒๐/๗๗/๓๐๐-๓๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิที่มีอยู่ พระอรหันต์ไม่ยึด คือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ รวมความว่า งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อริยสาวกละศีลวัตรได้ทั้งหมด ละกรรมที่มีโทษและกรรมที่ไม่มีโทษนั้นเสียได้ ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด งดเว้นแล้ว ไม่ยึดมั่นทิฏฐิที่มีอยู่เที่ยวไป [๑๓๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรืออารมณ์ที่รับรู้ เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ จึงยังพร่ำพูดถึงความหมดจดอยู่ คำว่า สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะเกลียดชังตบะ ถือการเกลียดชังตบะเป็นสรณะ อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อความเกลียดชังตบะ รวมความว่า สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น คำว่า เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรืออารมณ์ที่รับรู้ อธิบายว่า อาศัย เข้าไปอาศัย คือ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูปที่เห็น หรือความหมดจดเพราะรูป ที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรือความหมดจดเพราะเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือความ หมดจดเพราะอารมณ์ที่รับรู้ รวมความว่า เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรือ อารมณ์ที่รับรู้ คำว่า เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า... จึงยังพร่ำพูดถึงความ หมดจดอยู่ อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวก เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสาร ข้างหน้า สมณพราหมณ์พวกไหน เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า สมณ- พราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้ถือความหมดจดโดยส่วนเดียว ถือความหมดจดโดยการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

เวียนว่ายตายเกิด ผู้มีความเห็นว่าทำแล้วไม่เป็นอันทำ๑- มีวาทะว่าเที่ยง๒- สมณพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า สมณ- พราหมณ์เหล่านั้นก็พร่ำพูด คือ กล่าว พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป โดยสงสาร รวมความว่า เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า ... จึงยังพร่ำพูดถึงความ หมดจดอยู่ คำว่า ตัณหา ในคำว่า ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ผู้ยังไม่คลายตัณหา คือ ไม่ปราศจาก ตัณหา ไม่สละตัณหา ไม่คายตัณหา ไม่เปลื้องตัณหา ไม่ละตัณหา ไม่สลัดทิ้งตัณหา ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปาก- วัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็น เครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิ ต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป รวมความว่า ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อย ภพใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สมณพราหมณ์เข้าไปอาศัยตบะที่ตนเกลียดชังนั้น เข้าไปอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรืออารมณ์ที่รับรู้ เป็นผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ จึงยังพร่ำพูดถึงความหมดจดอยู่ [๑๓๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่กำหนดแล้ว @เชิงอรรถ : @ ทำแล้วไม่เป็นอันทำ หมายถึง อกิริยทิฏฐิ คือลัทธิที่ถือว่าการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่ว @ก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม (ที.สี.อ. ๑๖๖/๑๔๕) @ มีวาทะว่าเที่ยง หมายถึง สัสสตทิฏฐิ คือลัทธิที่ถือว่า โลกและอัตตาเที่ยง (ที.สี. (แปล) ๙/๓๐-๓๗/๑๑-๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร คำว่า ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ คำว่า ผู้กำลังปรารถนา ได้แก่ ผู้กำลังปรารถนา คือ ผู้กำลังต้องการ ยินดี มุ่งหมาย มุ่งหวัง รวมความว่า ผู้กำลังปรารถนา คำว่า ชอบใจ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความชอบใจ คือ ความ กำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา คำว่า ความกำหนด ในคำว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่ กำหนดแล้ว ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ คำว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่กำหนดแล้ว อธิบายว่า ผู้หวาดระแวงว่า วัตถุที่กำหนดไว้แล้วจะถูกแย่งชิงไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้น กำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมหวั่นไหวบ้าง ผู้หวาดระแวงว่า วัตถุที่กำหนดไว้แล้วจะแปรผันไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้น กำลังแปรผันไป ย่อมหวั่นไหวบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้ว ย่อมหวั่นไหว คือ สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่บ้าง รวมความว่า อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะ วัตถุที่กำหนดแล้ว คำว่า ภิกษุใด ในคำว่า ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดใน ธรรมวินัยนี้ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ อธิบายว่า การไป การมา การไปและ การมา ความตาย คติ ภพน้อยภพใหญ่ จุติ การถือกำเนิด ความเกิด ความดับ ชาติ ชรา มรณะ ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ แก่พระอรหันตขีณาสพใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

ได้แก่ ความตายและความเกิดนั้น พระอรหันตขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ คำว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร อธิบายว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรว่า “เป็นผู้กำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง เป็นผู้หลง เป็นผู้ยึดติด เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เป็นผู้ลังเล หรือว่า เป็นผู้ตกอยู่ในพลังกิเลส” ภิกษุนั้นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว ภิกษุพึง หวั่นไหวด้วยเหตุอะไรตามคติเล่าว่า “เป็นผู้เกิดในนรก เป็นผู้เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นผู้เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือว่าเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่” ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหว คือ สั่นเทา กระสับกระส่ายด้วยเหตุ ปัจจัย และการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้น ไม่มี รวมความว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร คำว่า หรือพึงชอบใจในอะไร อธิบายว่า หรือว่า พึงชอบใจในอะไร คือ พึงชอบใจในวัตถุอะไร ได้แก่ พึงชอบใจ รักใคร่ พอใจในวัตถุนั้นอย่างไร รวมความว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ- ภาคจึงตรัสว่า ความชอบใจวัตถุย่อมมีแก่ผู้กำลังปรารถนา อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุที่กำหนดแล้ว ความตายและความเกิดมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร หรือพึงชอบใจในอะไร [๑๓๘] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า) สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เยี่ยม แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับกล่าวธรรมนั้นนั่นเองว่า เลว วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงกันหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

เพราะสมณะพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวก ต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคนฉลาด คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เยี่ยม อธิบายว่า สมณ- พราหมณ์บางพวก กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด อย่างนี้ว่า “ธรรมนี้ เยี่ยม คือ ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด” รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เยี่ยม คำว่า แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับกล่าวธรรมนั้นนั่นเองว่า เลว อธิบายว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งกลับกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นเอง อย่างนี้ว่า “ธรรมนี้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย” รวมความว่า แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับกล่าวธรรมนั้น นั่นเองว่า เลว คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงกันหนอ อธิบายว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหน จริง คือ แท้ แท้จริง เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงกันหนอ คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวกต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคน ฉลาด อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวก ต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคนฉลาด คือ กล่าวอ้างว่าเป็นบัณฑิต อ้างว่าเป็นนักปราชญ์ อ้างว่ามีญาณ อ้างว่ามีเหตุผล อ้างว่ามีคุณลักษณะ อ้างว่าเหมาะแก่เหตุ อ้างว่าสมฐานะ ตามลัทธิของตน รวม ความว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวกต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคนฉลาด ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เยี่ยม แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นกลับกล่าวธรรมนั้นนั่นเองว่า เลว วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริงกันหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทุกพวก ต่างกล่าวอ้างตนว่า เป็นคนฉลาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

[๑๓๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่า เลว พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้วย่อมวิวาทกัน เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติของตนๆ ว่า จริง คำว่า อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ อธิบายว่า อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวกกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตน อย่างนี้ว่า “ธรรมนี้เพียบพร้อม บริบูรณ์ ไม่บกพร่อง” รวมความว่า อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ คำว่า แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่า เลว อธิบายว่า สมณพราหมณ์พวก เดียวกันนั้น กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของผู้อื่น อย่างนี้ว่า “ธรรมนี้เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย” รวมความว่า แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่า เลว คำว่า พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้วย่อมวิวาทกัน อธิบายว่า พวกสมณพราหมณ์ จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่นอย่างนี้ ย่อมวิวาทกัน คือ ย่อมก่อ การทะเลาะ ก่อการบาดหมาง ก่อการแก่งแย่ง ก่อการวิวาท ก่อการมุ่งร้ายกันโดย พูดว่า “ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้... หรือหากท่านสามารถ ก็จงแก้ไขเถิด” รวมความว่า พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้วย่อมวิวาทกัน คำว่า เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติของตนๆ ว่า จริง อธิบายว่า ต่างกล่าวว่า “โลกเที่ยง... หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติ ของตนๆ ว่า จริง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า อนึ่ง สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่า เลว พวกสมณพราหมณ์ถือมั่นแม้อย่างนี้แล้วย่อมวิวาทกัน เพราะต่างกล่าวทิฏฐิสมมติของตนๆ ว่า จริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

[๑๔๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า) หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้ ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย เพราะคนส่วนมากต่างกล่าวยืนยันในแนวทางของตน พากันกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นสิ่งเลวทราม คำว่า หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้ อธิบายว่า หากบุคคลอื่นเป็นคนพาล เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย เพราะเหตุที่ผู้อื่นติเตียน คือ เพราะเหตุที่ผู้อื่นนินทา ตำหนิ ว่าร้ายไซร้ รวมความว่า หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้ คำว่า ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย อธิบายว่า ก็จะไม่พึงมี ใครเลิศ ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุดในธรรมทั้งหลายได้เลย รวมความว่า ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย คำว่า เพราะคนส่วนมาก... พากันกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นสิ่งเลว ทราม อธิบายว่า คนส่วนมากพากันกล่าว คือ ว่าร้าย นินทา ติเตียนธรรมของคน ส่วนมาก โดยความเป็นสิ่งเลว ทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยบ้าง คนส่วนมากพากันกล่าว คือ ว่าร้าย นินทา ติเตียนธรรมของคนผู้หนึ่ง โดยความ เป็นสิ่งเลว ทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยบ้าง คนผู้หนึ่ง กล่าว คือ ว่าร้าย นินทา ติเตียนธรรมของคนส่วนมาก โดยความเป็นสิ่งเลว ทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยบ้าง คนผู้หนึ่งกล่าว คือ ว่าร้าย นินทา ติเตียนธรรมของคนผู้หนึ่ง โดยความเป็นสิ่งเลว ทราม คือ ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อยบ้าง รวมความว่า เพราะคนส่วนมาก... พากันกล่าวธรรมของผู้อื่น โดยความเป็นสิ่งเลวทราม คำว่า ต่างกล่าวยืนยันในแนวทางของตน... โดยความเป็นสิ่งเลวทราม อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่า แนวทางของตน มรรค ก็ชื่อว่าแนวทางของตน คนส่วนมากต่างกล่าวยืนยัน คือ กล่าวมั่นคง กล่าวแข็งขัน กล่าวหนักแน่นในแนวทางของตน รวมความว่า ต่างกล่าว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

ยืนยันในแนวทางของตน... โดยความเป็นสิ่งเลวทราม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า หากบุคคลเป็นคนเลวเพราะเหตุที่ผู้อื่นพูดติเตียนไซร้ ก็จะไม่พึงมีใครวิเศษในธรรมทั้งหลายได้เลย เพราะคนส่วนมากต่างกล่าวยืนยันในแนวทางของตน พากันกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นสิ่งเลวทราม [๑๔๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น คำว่า การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง อธิบายว่า การบูชาหลักการของตน เป็นอย่างไร คือ บุคคลสักการะ เคารพ นับถือ บูชาศาสดาของตนว่า “ศาสดานี้ เป็น สัพพัญญู” นี้ชื่อว่าการบูชาหลักการของตน บุคคลย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคของตนว่า “มรรคนี้ เป็นทางนำสัตว์ออกจากทุกข์” นี้ชื่อว่าการบูชาหลักการของตน คำว่า การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง อธิบายว่า การบูชาหลัก การของตน เป็นเรื่องแท้จริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง คำว่า เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น อธิบายว่า ธรรม ชื่อว่าแนวทางของตน ทิฏฐิ ชื่อว่าแนวทางของตน ปฏิปทา ชื่อว่า แนวทางของตน มรรค ก็ชื่อว่าแนวทางของตน พวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญ คือ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาแนวทางของตน รวมความว่า เหมือนพวกสมณ- พราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง อธิบายว่า การว่าร้ายทุกอย่างก็ พึงมีอยู่แท้จริง คือ แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า การว่าร้ายทุกอย่าง ก็พึงมีอยู่แท้จริง คำว่า เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน เท่านั้น อธิบายว่า ความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น รวมความว่า เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตน เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า การบูชาหลักการของตน เป็นเรื่องแท้จริง เหมือนพวกสมณพราหมณ์พากันสรรเสริญแนวทางของตน ฉะนั้น การว่าร้ายทุกอย่างก็พึงมีอยู่แท้จริง เพราะความหมดจดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นเรื่องเฉพาะตนเท่านั้น [๑๔๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาททั้งหลายได้แล้ว แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ คำว่า ไม่ ในคำว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ เป็นคำปฏิเสธ คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ ได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็น พราหมณ์๑- คำว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ อธิบายว่า ความเป็นผู้มี ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์ ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึง @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๐๔-๑๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

แนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อมเห็น คือ ความเป็นผู้มีญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์ ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึงแนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้ อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อม เห็นว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์”... ความเป็นผู้มีญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ไม่มีแก่พราหมณ์ คือ พราหมณ์ ไม่เป็นผู้ที่ผู้อื่นพึงแนะนำ ไม่ดำเนินตามผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ไม่ถึงความเกี่ยว เนื่องกับผู้อื่น รู้ เห็น ไม่หลง รู้ตัว มีสติ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มี ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ คำว่า ตกลงใจ ได้แก่ ตกลงใจ คือ วินิจฉัย ตัดสิน ชี้ขาด เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง คำว่า ยึดมั่น ได้แก่ จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า “สิ่งนี้ จริง แท้จริง แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต” ไม่มี ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ความตกลงใจแล้วยึดมั่น พราหมณ์นั้น ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความตกลง ใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาท ทั้งหลายได้แล้ว อธิบายว่า เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะ ปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลย คือ ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นการ ทะเลาะเพราะทิฏฐิ การบาดหมางเพราะทิฏฐิ การแก่งแย่งเพราะทิฏฐิ การวิวาท เพราะทิฏฐิ การมุ่งร้ายเพราะทิฏฐิ รวมความว่า เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลย การวิวาททั้งหลายได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ อธิบายว่า พราหมณ์ย่อมไม่เห็น คือ ไม่แลเห็น ไม่ตรวจดู ไม่เพ่งพินิจ ไม่พิจารณา เห็นศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคอื่น คือ อื่นจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค มีองค์ ๘ ว่า เป็นธรรมเลิศ ประเสริฐ คือ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด รวมความว่า แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ญาณที่ผู้อื่นพึงแนะนำไม่มีแก่พราหมณ์ ความตกลงใจแล้วยึดมั่นในธรรมทั้งหลายก็ไม่มี เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงล่วงเลยการวิวาททั้งหลายได้แล้ว แท้จริง พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นของประเสริฐ [๑๔๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด เพราะทิฏฐิว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น คำว่า เรารู้ ในคำว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง ได้แก่ เรารู้ด้วย ปรจิตตญาณ(ญาณเป็นเครื่องรู้ใจผู้อื่น)บ้าง รู้ด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(ญาณ เป็นเครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน)บ้าง คำว่า เราเห็น ได้แก่ เราเห็นด้วยมังสจักขุบ้าง ด้วยทิพพจักขุบ้าง คำว่า ความหมดจดนี้ว่ามีจริง ได้แก่ ความหมดจดนี้มีแท้จริง แท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจดเพราะทิฏฐิ อธิบายว่า สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความ หลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิ คือ สมณพราหมณ์บางพวก เชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” สมณพราหมณ์บางพวก เชื่อความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง ... หลังจาก ตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น โมฆะ” รวมความว่า สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจดเพราะทิฏฐิ คำว่า ได้เห็นแล้ว ในคำว่า ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมี ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า อธิบายว่า ได้เห็นแล้ว ด้วยปรจิตตญาณบ้าง ได้เห็นแล้วด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง ได้เห็นแล้วด้วย มังสจักขุบ้าง ได้เห็นแล้วด้วยทิพพจักขุบ้าง รวมความว่า ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้ เห็นแล้ว คำว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า อธิบาย ว่า สมณพราหมณ์นั้นทำอะไรได้เพราะการเห็นนั้น คือ ไม่มีการกำหนดรู้ทุกข์ ไม่มีการละสมุทัย ไม่มีการเจริญมรรค ไม่มีการทำให้แจ้งผล ไม่มีการละราคะได้ โดยตัดขาด ไม่มีการละโทสะได้โดยตัดขาด ไม่มีการละโมหะได้โดยตัดขาด ไม่มีการ ละกิเลสทั้งหลายได้โดยตัดขาด ไม่มีการตัดขาดสังสารวัฏเลย รวมความว่า ถ้า สมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์ นั้นเล่า คำว่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าว ความหมดจดด้วยการเห็นอื่น อธิบายว่า เดียรถีย์เหล่านั้นก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วง พ้นทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความสะอาด ทางแห่งความบริสุทธิ์ ทางแห่ง ความผ่องแผ้ว ทางแห่งความผ่องใส ย่อมกล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจง ความ หมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

นอกจากสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมด จด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้นทางแห่งความไม่หมดจด ทางแห่งความไม่สะอาด ทางแห่งความไม่ บริสุทธิ์ ทางแห่งความไม่ผ่องแผ้ว ทางแห่งความไม่ผ่องใสของเดียรถีย์เหล่านั้นย่อม กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจด ด้วยการเห็นอื่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด เพราะทิฏฐิว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย (ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น [๑๔๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้ ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจด เพราะการเห็นนามรูปนั้น คำว่า นรชนเมื่อเห็น ในคำว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป อธิบายว่า นรชนเมื่อเห็นด้วยปรจิตตญาณบ้าง เมื่อเห็นด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง เมื่อ เห็นด้วยมังสจักขุบ้าง เมื่อเห็นด้วยทิพพจักขุบ้าง ก็เห็นนามรูปนั่นเอง โดยความเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

ของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน มิได้เห็นความเกิด ความดับ คุณ โทษ หรือการสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้นเลย รวมความว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็น นามรูป คำว่า ครั้นเห็นแล้ว ในคำว่า หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูป เหล่านั้นเท่านั้น อธิบายว่า ครั้นเห็นแล้วด้วยปรจิตตญาณบ้าง เห็นแล้วด้วย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง เห็นแล้วด้วยมังสจักขุบ้าง เห็นแล้วด้วยทิพพจักขุบ้าง ครั้นเห็นเพียงนามรูปนั่นเองแล้ว ก็รู้จักโดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน มิได้รู้จักความเกิด ความดับ คุณ โทษ หรือการสลัดออกแห่ง ธรรมเหล่านั้นเลย รวมความว่า หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้น เท่านั้น คำว่า นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้ ได้แก่ เห็นนามรูปมาก บ้างน้อยบ้าง โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตนโดยแท้ รวมความว่า นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้ คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าว ความหมดจดเพราะการเห็นนามรูปนั้น อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดใน สัมมัปปธาน ผู้ฉลาดในอิทธิบาท ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์ ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ไม่กล่าว ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป เพราะการเห็นนามรูป ด้วยปรจิตตญาณบ้าง ด้วย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง ด้วยมังสจักขุบ้าง ด้วยทิพพจักขุบ้าง รวมความว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจดเพราะการเห็นนามรูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้ ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจด เพราะการเห็นนามรูปนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

[๑๔๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงามในเพราะทิฏฐินั้น นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็นว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น คำว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำ ได้ง่าย อธิบายว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า “โลกไม่เที่ยง ... หลังจากตาย แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” คำว่า ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย อธิบายว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วย ความเชื่อมั่น เป็นคนที่พึงแนะนำได้ยาก ทำให้เข้าใจได้ยาก ทำให้เพ่งพินิจได้ยาก ทำให้พิจารณาได้ยาก ทำให้เลื่อมใสได้ยาก รวมความว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วย ความเชื่อมั่น ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย คำว่า เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว อธิบายว่า เป็นผู้เชิดชู คือ เที่ยว ยกย่องทิฏฐิที่กำหนดแล้ว กำหนดไว้แล้ว คือ ปรุงแต่งไว้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้ว มีทิฏฐิ เป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นยอดธง มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ถูกทิฏฐิครอบงำเที่ยวไป รวมความว่า เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว คำว่า อาศัยศาสดาใด ในคำว่า อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ในเพราะทิฏฐินั้น อธิบายว่า อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อ ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด รวมความว่า อาศัยศาสดาใด คำว่า ในเพราะทิฏฐินั้น ได้แก่ ในเพราะทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจของตน ลัทธิของตน คำว่า ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม ได้แก่ กล่าวศาสดานั้นว่าดีงาม คือ กล่าวว่าดี กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นนักปราชญ์ กล่าวว่ามีญาณ กล่าวว่า มีเหตุผล กล่าวว่ามีคุณลักษณะ กล่าวว่าเหมาะแก่เหตุ กล่าวว่าสมฐานะ ตามลัทธิ ของตน รวมความว่า อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงามในเพราะทิฏฐินั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้กล่าวความหมดจด ในคำว่า นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็น ว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น อธิบายว่า กล่าวความหมดจด คือ กล่าวความสะอาด กล่าว ความบริสุทธิ์ กล่าวความผ่องแผ้ว กล่าวความผ่องใส อีกนัยหนึ่ง เป็นผู้มีความเห็น หมดจด คือ เป็นผู้มีความเห็นสะอาด เป็นผู้มีความเห็นบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็น ผ่องแผ้ว เป็นผู้มีความเห็นผ่องใส รวมความว่า ผู้กล่าวความหมดจด คำว่า ในทิฏฐินั้น ได้แก่ ในทิฏฐิของตน คือ ความถูกใจของตน ความพอใจ ของตน ลัทธิของตน คำว่า นรชนนั้น... ได้เห็นว่าแท้จริง อธิบายว่า ได้เห็น คือ ได้แลเห็น มองเห็น แทงตลอดแล้วว่า แท้จริง คือแท้ เป็นจริง แน่นอน ไม่วิปริต รวมความว่า นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็นว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า นรชนผู้มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น ไม่ใช่คนที่ใครพึงแนะนำได้ง่าย เป็นผู้เชิดชูทิฏฐิที่กำหนดไว้แล้ว อาศัยศาสดาใด ก็กล่าวศาสดานั้นว่าดีงามในเพราะทิฏฐินั้น นรชนนั้นผู้กล่าวความหมดจดได้เห็นว่าแท้จริงในทิฏฐินั้น [๑๔๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) พราหมณ์พิจารณาแล้วย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิเพราะญาณ พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้วก็วางเฉยทิฏฐิสมมติที่เกิดจากปุถุชน แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น คำว่า ไม่ ในคำว่า พราหมณ์ทราบแล้วย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด เป็น คำปฏิเสธ คำว่า พราหมณ์ อธิบายว่า ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการ ได้แล้ว... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า ความกำหนด ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) ความกำหนด ด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วย อำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ญาณ ตรัสเรียกว่า เครื่องพิจารณา คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ความไม่หลง งมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ๑- คำว่า พราหมณ์พิจารณาแล้วย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด อธิบายว่า พราหมณ์พิจารณาแล้ว คือ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” พราหมณ์พิจารณาแล้ว คือ รู้แล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่าง แล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ย่อมไม่ถึง ไม่เข้าถึง คือ ไม่สนใจ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความ กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า พราหมณ์พิจารณาแล้วย่อมไม่เข้าถึงความ กำหนด คำว่า ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิเพราะญาณ อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ พราหมณ์นั้นละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว พราหมณ์นั้น ไม่ไป ไม่ ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่กลับไป ไม่หวนกลับไปหาทิฏฐินั้น โดยความเป็นสาระ รวมความว่า ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ คำว่า ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิเพราะญาณ อธิบายว่า ไม่ก่อ คือ ไม่ ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความผูกพันด้วยอำนาจตัณหา หรือ ความผูกพันด้วยอำนาจทิฏฐิ เพราะญาณในสมาบัติ ๘ ญาณในอภิญญา ๕ หรือมิจฉาญาณ รวมความว่า ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิ เพราะญาณ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า ครั้นรู้แล้ว ในคำว่า พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้ว... ทิฏฐิสมมติที่เกิดจาก ปุถุชน อธิบายว่า ครั้นรู้แล้ว คือ ครั้นทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ครั้นรู้แล้ว คือ ครั้นทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้ว ทิฏฐิ ๖๒ ตรัสเรียกว่า ทิฏฐิสมมติ คำว่า ที่เกิดจากปุถุชน อธิบายว่า ทิฏฐิสมมติเหล่านั้น เกิดจากปุถุชน จึงชื่อว่า ที่เกิดจากปุถุชน หรือทิฏฐิสมมติเหล่านั้น เกิดจากชนต่างๆ มากมาย จึงชื่อว่า ที่เกิดจากปุถุชน รวมความว่า พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้ว... ทิฏฐิสมมติที่เกิด จากปุถุชน คำว่า ก็วางเฉย... แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ ส่วนพระอรหันต์วางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รวมความว่า ก็วางเฉย... แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า พราหมณ์พิจารณาแล้วย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด ไม่แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ผูกพันด้วยตัณหาหรือทิฏฐิเพราะญาณ พราหมณ์นั้นครั้นรู้แล้วก็วางเฉยทิฏฐิสมมติที่เกิดจากปุถุชน แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น [๑๔๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว ก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้นเป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า มุนีสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่าง คือ ๑. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ๒. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือพยาบาท ๓. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือสีลัพพตปรามาส ๔. กิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือความถือมั่นว่านี้เท่านั้นจริง ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออภิชฌา ความอาฆาต ความไม่พอใจในวาทะของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ พยาบาท ความยึดมั่นศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคือ สีลัพพตปรามาส ทิฏฐิของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดกายคืออิทังสัจจาภินิเวส คำว่า สลัด ได้แก่ สละ หรือสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด อีกนัยหนึ่ง มุนีแก้ หรือ สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องผูกพัน ที่ร้อยรัด รัดรึง ข้อง ติด เกี่ยว เกี่ยวพัน เกาะติด ติดแน่นแล้ว อธิบายว่า มุนีสละ หรือ สลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด เหมือนคน ทำการปลด ปล่อยวอ รถ เกวียน หรือรถมีเครื่องประดับ คือ ให้เคลื่อนที่ไปได้ ฉะนั้น อีกนัยหนึ่ง มุนีแก้ หรือสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ กิเลสเครื่องผูกพัน ที่ร้อยรัด รัดรึง ข้อง ติด เกี่ยว เกี่ยวพัน เกาะติด ติดแน่นแล้ว คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- คำว่า ในโลกนี้ ได้แก่ ในทิฏฐินี้... มนุษยโลกนี้ รวมความว่า มุนีสลัดกิเลส เครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว คำว่า เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว ก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย อธิบายว่า เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว คือ เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

ได้แก่ เมื่อคนทั้งหลาย ถึงฉันทาคติ ถึงโทสาคติ ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ มุนีนั้น ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไป ตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ อุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้วก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น เป็นผู้สงบ วางเฉย อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะ สงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ... ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับ อกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว รวมความว่า เป็นผู้สงบ คำว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ อธิบายว่า เมื่อคนทั้งหลาย ไม่สงบ คือ ไม่ เข้าไปสงบ ไม่สงบเย็น ไม่ดับ ไม่ระงับ รวมความว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คำว่า มุนีนั้น... วางเฉย อธิบายว่า มุนีผู้เป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยอุเบกขา มีองค์๑- ๖ เห็นรูปทางตาแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู... เป็นผู้อบรมแล้ว เป็นผู้สงบ รอคอยอยู่แต่เวลาเท่านั้น รวมความว่า เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้น เป็นผู้สงบ... วางเฉย @เชิงอรรถ : @ อุเบกขามีองค์ ๖ คือภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ในพระธรรมวินัยนี้ @(๑) เห็นรูปทางตาแล้ว (๒) ฟังเสียงทางหูแล้ว (๓) ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว (๔) ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว @(๕) ถูกต้องสัมผัสทางกายแล้ว (๖) รับรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย @มีสติสัมปชัญญะอยู่ @อุเบกขาองค์มี ๑๐ คือ @(๑) ฉฬงฺคุเปกฺขา อุเบกขาประกอบด้วยองค์ ๖ (๒) พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร (๓) @โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์ (๔) วิริยุเปกฺขา อุเบกขาคือวิริยะ (๕) สงฺขารุเปกฺขา อุเบกขา @ในสังขาร (๖) เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา (๗) วิปสฺสนูเปกฺขา อุเบกขาในวิปัสสนา @(๘) ตตฺรมชฺฌตฺตุเปกฺขา อุเบกขาในเจตสิก หรือ อุเบกขาที่ยังธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน @(๙) ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน (๑๐) ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก (วิสุทฺธิ. ๑/๘๔-๘๙/ @๑๗๓-๑๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ถือมั่น แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น อธิบายว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ถือ ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ มุนีผู้เป็นพระอรหันต์วางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รวมความว่า ไม่ถือมั่น แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีสลัดกิเลสเครื่องร้อยรัดในโลกนี้แล้ว เมื่อคนเกิดวิวาทกันแล้ว ก็ไม่เข้าไปเป็นฝักเป็นฝ่าย เมื่อคนทั้งหลายไม่สงบ มุนีนั้นเป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น แต่สมณพราหมณ์เหล่าอื่นพากันถือมั่น [๑๔๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก คำว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีต ตรัสเรียกว่า อาสวะเก่า กิเลสเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะ ปรารภสังขารที่เป็นอดีต มุนีละ คือ สละ สลัด ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งกิเลสเหล่านั้นแล้ว รวมความว่า ละอาสวะเก่า คำว่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า อาสวะใหม่ มุนีไม่ก่อความพอใจ ไม่ก่อความรัก ไม่ก่อ ความกำหนัด เพราะปรารภสังขารที่เป็นปัจจุบัน คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้ บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้น รวมความว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ คำว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ในคำว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น อธิบายว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึง โมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ คือ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจราคะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจ โทสะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจโมหะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจมานะ ไม่ดำเนินไปตาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

อำนาจทิฏฐิ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจอุทธัจจะ ไม่ดำเนินไปตามอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ ดำเนินไปตามอำนาจอนุสัย ได้แก่ ไม่ไป คือ ไม่ออกไป ไม่ถูกพาไป ไม่ถูกนำไป ด้วยธรรมที่ก่อความเป็นฝักเป็นฝ่าย รวมความว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ คำว่า ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น อธิบายว่า ไม่มีปกติกล่าวด้วย ความเชื่อมั่นว่า “โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” ไม่มีปกติกล่าวด้วย ความเชื่อมั่นว่า “โลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ... หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ” รวมความว่า ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น คำว่า มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย อธิบายว่า ทิฏฐิ ๖๒ มุนีนั้นละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้ เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้นพ้นขาดแล้ว คือ ไม่เกี่ยวข้องกับทิฏฐิ ทั้งหลาย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ คำว่า เป็นนักปราชญ์ ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส รวมความว่า มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี ๒ อย่าง
คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก อธิบายว่า คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความ ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ มุนีนั้นละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความติดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ได้แล้ว เป็นผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิเข้าไปติด จึงไม่ติด ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติด ใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

อบายโลก ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก ... ธาตุโลก ... อายตนโลก คือ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่ติดอยู่ในโลก คำว่า ติเตียนตนเองไม่ได้ อธิบายว่า มุนีย่อมติเตียนตนเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ มุนีย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร คือ มุนีย่อมติเตียนตนว่า “เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำวจีทุจริต... เราทำมโนทุจริต... เราทำปาณาติบาต... เราทำมิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ” มุนีชื่อว่า ย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง มุนีย่อมติเตียนตนว่า “เราไม่รักษาศีลให้บริบูรณ์ ไม่สำรวมในอินทรีย์ ทั้ง ๖ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ ไม่หมั่นประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่เจริญสัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕ ไม่เจริญโพชฌงค์ ๗ ไม่ เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละทุกขสมุทัย ไม่เจริญมรรค ไม่ทำให้ แจ้งนิโรธ” มุนีชื่อว่าย่อมติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้ มุนีไม่ทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งกรรมที่ ติเตียนตน จึงชื่อว่าติเตียนตนเองไม่ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า ติเตียนตน เองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีละอาสวะเก่า ไม่ก่ออาสวะใหม่ ไม่ดำเนินไปตามความพอใจ ทั้งไม่มีปกติกล่าวด้วยความเชื่อมั่น มุนีนั้นเป็นนักปราชญ์ พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย ติเตียนตนเองไม่ได้ ไม่ติดอยู่ในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

[๑๔๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ว่า) มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา คำว่า มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ รูปที่เห็น เสียงที่ ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เสนามาร ตรัสเรียกว่า เสนา กายทุจริต ชื่อว่าเสนามาร วจีทุจริต ชื่อว่าเสนามาร มโนทุจริต ชื่อว่า เสนามาร ราคะ... โทสะ... โมหะ... โกธะ... อุปนาหะ... มักขะ... ปฬาสะ... อิสสา... มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ... มานะ... อติมานะ... มทะ... ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง... ความ เร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท ชื่อว่า เสนามาร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า กิเลสกามเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑ ของท่าน ความไม่ยินดีเราเรียกว่าเสนากองที่ ๒ ของท่าน ความหิวกระหายเราเรียกว่าเสนากองที่ ๓ ของท่าน ตัณหาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๔ ของท่าน ถีนมิทธะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๕ ของท่าน ความกลัวเราเรียกว่าเสนากองที่ ๖ ของท่าน วิจิกิจฉาเราเรียกว่าเสนากองที่ ๗ ของท่าน มักขะและถัมภะเราเรียกว่าเสนากองที่ ๘ ของท่าน ลาภ ความสรรเสริญ สักการะและยศที่ได้มาผิดๆ เราเรียกว่าเสนากองที่ ๙ ของท่าน การยกตนและข่มผู้อื่นเราเรียกว่าเสนากองที่ ๑๐ ของท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

มารเอ๋ย เสนาของท่านนี้ มีปกติประหารผู้มีธรรมดำ คนขลาดเอาชนะเสนานั้นไม่ได้ แต่คนกล้า ครั้นชนะได้แล้วย่อมได้ความสุข๑- เมื่อใด เสนามารทั้งหมด และกิเลสที่สร้างเสนาฝ่ายตรงข้ามทั้งปวง ถูกมุนี พิชิตและทำให้ปราชัย ถูกทำลาย กำจัด ทำให้ไม่สู้หน้าแล้วด้วยอริยมรรค ๔ เมื่อนั้น มุนีนั้นตรัสเรียกว่า เป็นผู้กำจัดเสนา คือ เป็นผู้กำจัดเสนาในรูปที่เห็น กำจัดเสนาในเสียงที่ได้ยิน กำจัดเสนาในอารมณ์ที่รับรู้ และกำจัดเสนาในธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งแล้ว รวมความว่า มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ว่าด้วยภาระ ๓ อย่าง
คำว่า มุนีนั้น เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว อธิบายว่า คำว่า ภาระ ได้แก่ ภาระ ๓ อย่าง คือ (๑) ขันธภาระ (๒) กิเลสภาระ (๓) อภิสังขารภาระ ขันธภาระ เป็นอย่างไร คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในปฏิสนธิ นี้ชื่อว่าขันธภาระ กิเลสภาระ เป็นอย่างไร คือ ราคะ โทสะ โมหะ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท นี้ชื่อว่ากิเลสภาระ อภิสังขารภาระ เป็นอย่างไร คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้ชื่อว่าอภิสังขารภาระ เมื่อใดขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระ มุนีละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น มุนีนั้นตรัสเรียกว่า เป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว คือ ผู้มีภาระ ตกไปแล้ว มีภาระอันปลดแล้ว มีภาระอันปล่อยแล้ว มีภาระอันวางแล้ว มีภาระ อันระงับแล้ว @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๔๓๙-๔๔๒/๔๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

ว่าด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการ
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกเฟ้น ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไป กำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้ อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลาย กิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาดุจปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ผู้ที่ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้บรรลุ โมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม ๓ ประการ คือ (๑) โมเนยยธรรมทางกาย (๒) โมเนยย ธรรมทางวาจา (๓) โมเนยยธรรมทางใจ โมเนยยธรรมทางกาย เป็นอย่างไร คือ การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายปริญญา(การกำหนดรู้กาย) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย มรรคที่สหรคตด้วย ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในกาย ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ความดับแห่งกายสังขาร การบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นอย่างไร คือ การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วาจาปริญญา(การกำหนดรู้วาจา) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา มรรคที่สหรคตด้วย ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในวาจา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร การบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

โมเนยยธรรมทางใจ เป็นอย่างไร คือ การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ จิตต- ปริญญา(การกำหนดรู้จิต) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจิต ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ ความดับแห่งจิตตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ละกิเลสทั้งปวงได้ บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาปได้แล้ว๑- มุนีผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการเหล่านี้ มี ๖ จำพวก คือ ๑. อาคารมุนี ๒. อนาคารมุนี ๓. เสขมุนี ๔. อเสขมุนี ๕. ปัจเจกมุนี ๖. มุนิมุนี อาคารมุนี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้ครองเรือน เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้ ชื่อว่าอาคารมุนี อนาคารมุนี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้เป็นบรรพชิต เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้ ชื่อว่าอนาคารมุนี @เชิงอรรถ : @ ขุ.อิติ. ๒๕/๖๗/๒๘๒, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่ามุนิมุนี (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่งๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่ ส่วนบุคคลผู้ฉลาด เลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่า เป็นมุนีแท้ ผู้ที่รู้โลกทั้ง ๒ ก็เรียกว่า เป็นมุนี๑- (เช่นกัน) ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ ทั้งภายในและภายนอก ในโลกทั้งปวง เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๒- คำว่า พ้นขาดแล้ว อธิบายว่า จิตของมุนีหลุด พ้น หลุดพ้นดีแล้วจากราคะ... จิตของมุนีหลุด พ้น หลุดพ้นดีแล้วจากโทสะ... จากโมหะ... จากอกุสลาภิสังขาร ทุกประเภท รวมความว่า มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว คำว่า ความกำหนด ในคำว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความ ปรารถนา ได้แก่ ความกำหนด ๒ อย่าง คือ (๑) ความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อ ว่าความกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ๓- @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖๘-๒๖๙/๖๓ @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๓/๔๓๘ @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘-๕๙, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

มุนีนั้นละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความ กำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว มุนีจึงไม่กำหนด คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้ บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนดด้วยอำนาจตัณหา หรือความกำหนดด้วย อำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ไม่มีความกำหนด คำว่า ไม่เข้าไปยินดี อธิบายว่า พาลปุถุชนทุกจำพวกย่อมกำหนัด พระเสขะ ๗ จำพวก รวมทั้งกัลยาณปุถุชนย่อมยินดี ยินดียิ่ง ยินดีเฉพาะเพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง พระอรหันต์เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง พึงมีใจ เป็นอิสระ (จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี คำว่า ไม่มีความปรารถนา อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- ตัณหาที่เรียกว่าความปรารถนานี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้ สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น ตรัสเรียกว่า ไม่มีความปรารถนา
อธิบายคำว่า ภควา
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา๑- ๔ อรูปสมาบัติ๒- ๔ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์๓- ๘ อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ๔- ๙ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ อัปปมัญญา ๔ คือธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐและปฏิบัติต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบไม่มีขอบเขต @ได้แก่ (๑) เมตตา (๒) กรุณา (๓) มุทิตา (๔) อุเบกขา (ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐) @ อรูปสมาบัติ ๔ ดูเชิงอรรถข้อ ๖/๒๕ @ วิโมกข์ ๘ ได้แก่ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ @ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ เช่น ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญ @กสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม) เป็นต้น (ที.ปา. ๑๑/๓๓๙/๒๓๑) @ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ คือธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ @และสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ (ที.ปา. ๑๑/๓๔๓/๒๓๔-๒๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๓. มหาวิยูหสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา๑- ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาค อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติ และผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม(พระนามในลำดับการบรรลุ อรหัตตผล) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ(บัญญัติที่เกิดเพราะทรงรู้แจ้งอรหัตตผล) ของพระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีนั้น เป็นผู้กำจัดเสนาในธรรมทั้งปวง คือรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่รับรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง มุนีนั้นเป็นผู้ปลงภาระลงแล้ว พ้นขาดแล้ว ไม่มีความกำหนด ไม่เข้าไปยินดี ไม่มีความปรารถนา
มหาวิยูหสุตตนิทเทสที่ ๑๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ สัญญาภาวนา ๑๐ แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกัมมัฏฐาน ได้แก่ @(๑) อนิจจสัญญา (๒) อนัตตสัญญา (๓) อสุภสัญญา @(๔) อาทีนวสัญญา (๕) ปหานสัญญา (๖) วิราคสัญญา @(๗) นิโรธสัญญา (๘) สัพพโลเก อนภิรตสัญญา @(๙) สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา (๑๐) อานาปานสติ (องฺ.ทสก. ๒๔/๖๐/๘๖-๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๐๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๓๖๒-๔๐๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=6833&Z=7638                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=600              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=600&items=99              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=8477              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=600&items=99              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=8477                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :