ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส๑-
อธิบายคุหัฏฐกสูตร
ว่าด้วยนรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายคุหัฏฐกสูตร ดังต่อไปนี้ [๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ เมื่อดำรงตนอยู่(อย่างนี้) ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย คำว่า ผู้ข้องอยู่ ในคำว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ กล่าวไว้แล้วข้างต้น อนึ่ง คำว่า ถ้ำ ควรกล่าวถึงก่อน กาย ตรัสเรียกว่า ถ้ำ คำว่า กาย ถ้ำ ร่างกาย ร่างกายตน เรือ รถ ธง จอมปลวก รัง นคร กระท่อม ฝี หม้อ หรือนาค นี้เป็นชื่อของกาย คำว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ได้แก่ ผู้ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพัน อยู่ในถ้ำ อธิบายว่า นรชน ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันอยู่ในถ้ำ เหมือนสิ่งของที่ข้อง ติด เกี่ยว แขวน เกี่ยวพัน ติดตรึงอยู่ที่ตะปูข้างฝา หรือที่ ไม้แขวน ฉะนั้น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ราธะ๒- ผู้ข้อง ติดอยู่ในความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็น เหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่น ถือมั่น นอนเนื่องในรูป เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ข้อง ... ราธะ ผู้ข้อง ติดอยู่ ในความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก อุบายและความยึดมั่นอันเป็นเหตุที่ใจเข้าไปตั้งมั่น ถือมั่น นอนเนื่องในเวทนา ... ใน @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๗๗๙-๗๘๖/๔๘๖-๔๘๘ @ ราธะ เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรซึ่งบวชเมื่อแก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

สัญญา ...ในสังขาร ... ในวิญญาณ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า ผู้ข้อง”๑- คำว่า ผู้ข้อง เป็นชื่อของความเกี่ยวข้อง รวมความว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คำว่า ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ อธิบายว่า ถูกกิเลสเป็นอันมากปิดบังไว้ คือ ถูกราคะปิดบังไว้ ถูกโทสะปิดบังไว้ ถูกโมหะปิดบังไว้ ถูกโกธะปิดบังไว้ ถูก อุปนาหะปิดบังไว้ ถูกมักขะปิดบังไว้ ถูกปฬาสะปิดบังไว้ ถูกอิสสาปิดบังไว้ ถูก มัจฉริยะปิดบังไว้ ถูกมายาปิดบังไว้ ถูกสาเถยยะปิดบังไว้ ถูกถัมภะปิดบังไว้ ถูก สารัมภะปิดบังไว้ ถูกมานะปิดบังไว้ ถูกอติมานะปิดบังไว้ ถูกมทะปิดบังไว้ ถูก ปมาทะปิดบังไว้ ได้แก่ ถูกกิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ...ความกระวนกระวาย ทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขาร ทุกประเภท ปิดบัง ปกปิด ปิดล้อม หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ รวมความว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ คำว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ในคำว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง อธิบายว่า นรชนเมื่อดำรงตนอยู่ คือ ผู้กำหนัดก็ดำรงตนอยู่ ตามอำนาจราคะ ผู้ขัดเคืองก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจโทสะ ผู้หลงก็ดำรงตนอยู่ตาม อำนาจโมหะ ผู้ยึดติดก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจมานะ ผู้ยึดถือก็ดำรงตนอยู่ตาม อำนาจทิฏฐิ๒- ผู้ฟุ้งซ่านก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ผู้ลังเล @เชิงอรรถ : @ สํ.ข. ๑๗/๑๖๑/๑๕๓ @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึง ทิฏฐิ ๖๒ แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ @๑. ปุพพันตกัปปิกวาทะ ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอดีตมี ๑๘ คือ @(๑) สัสสตวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงมี ๔ อย่าง (๒) เอกัจจสัสสตวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง @เป็นบางอย่างมี ๔ อย่าง (๓) อันตานันติกวาทะ เห็นว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุดมี ๔ อย่าง (๔) อมรา- @วิกเขปวาทะ ความเห็นหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนมี ๔ อย่าง (๕) อธิจจสมุปปันนวาทะ เห็นว่าอัตตาและโลก @เกิดขึ้นเองไม่มีเหตุปัจจัยมี ๒ อย่าง @๒. อปรันตกัปปิกวาทะ ความเห็นกำหนดขันธ์ส่วนอนาคตมี ๔๔ คือ @(๑) สัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญามี ๑๖ อย่าง (๒) อสัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลัง @จากตายแล้วไม่มีสัญญามี ๘ อย่าง (๓) เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ เห็นว่าอัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญาก็ @มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่มี ๘ อย่าง (๔) อุจเฉทวาทะ เห็นว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญมี ๗ อย่าง @(๕) ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ เห็นว่ามีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบันมี ๕ อย่าง @(ที.สี.(แปล) ๙/๒๘-๑๐๔/๑๑-๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ก็ดำรงตนอยู่ตามอำนาจวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลสก็ดำรงตน อยู่ตามอำนาจอนุสัย(กิเลสที่นอนเนื่อง) รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็นอย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ก็มีอยู่ ถ้าภิกษุ เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย เสียงที่รู้ได้ทางหู ... มีอยู่ ... กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก ... มีอยู่ ... รสที่รู้ได้ทางลิ้น ... มีอยู่ ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ... มีอยู่ ... ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ก็มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น อยู่”๑- รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็นอย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ(ความรู้แจ้ง อารมณ์) ที่เข้าถึงรูป เมื่อดำรงอยู่ ก็มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวย ความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้ ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ที่เข้าถึงเวทนา ... วิญญาณ ที่เข้าถึงสัญญา ... วิญญาณ ที่เข้าถึงสังขาร เมื่อดำรงอยู่ ก็มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้ง เข้าไปเสพเสวยความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้”๒- รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อม เป็นอย่างนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความ เพลิดเพลิน ความทะยานอยาก มีอยู่ในกวฬิงการาหาร(อาหารคือคำข้าว) วิญญาณ ก็ตั้งอยู่ งอกงามในกวฬิงการาหารนั้นได้ วิญญาณ ตั้งอยู่ งอกงามได้ในที่ใด การ ก้าวลงแห่งนามรูปก็มีได้ในที่นั้น ความก้าวลงแห่งนามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญ แห่งสังขารก็มีได้ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารมีอยู่ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ก็มี ได้ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปก็มีได้ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป มีอยู่ในที่ใด เราก็กล่าวว่า ที่นั้นมีความเศร้าโศก มีความ หม่นหมอง มีความคับแค้นใจ” รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็น อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ สํ.สฬา. ๑๘/๑๑๔/๘๖ @ สํ.ข. ๑๗/๕๓/๔๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ใน ผัสสาหาร(อาหารคือผัสสะ) ... ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือมโนสัญเจตนา) ... ภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากมีอยู่ในวิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) วิญญาณก็ตั้งอยู่ งอกงามในวิญญาณาหารนั้นได้ วิญญาณ ตั้งอยู่งอกงามได้ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปก็มีได้ในที่นั้น ความก้าวลงแห่ง นามรูปมีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารก็มีได้ในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารมีอยู่ ในที่ใด ความเกิดในภพใหม่ก็มีได้ในที่นั้น ความเกิดในภพใหม่มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา มรณะ ต่อไปก็มีได้ในที่นั้น ชาติ ชรา มรณะ ต่อไป มีอยู่ในที่ใด เราก็กล่าวว่า ที่นั้น มีความเศร้าโศก มีความหม่นหมอง มีความคับแค้นใจ๑-” รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ย่อมเป็นอย่างนี้ คำว่า จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง อธิบายว่า กามคุณ ๕ ตรัสเรียกว่า เหตุให้ลุ่มหลง คือ รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เสียงที่รู้ได้ทางหู ... กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก ... รสที่รู้ได้ทางลิ้น ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เพราะเหตุไร กามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า เหตุให้ลุ่มหลง เพราะโดย มากเทวดาและมนุษย์ ย่อมหลง ลุ่มหลง หลงงมงายในกามคุณ ๕ เทวดาและมนุษย์ เหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้หลง ลุ่มหลง หลงงมงาย คือ ถูกอวิชชาทำให้มืดบอด หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ เพราะเหตุนั้น กามคุณ ๕ จึงตรัส เรียกว่า เป็นเหตุให้ลุ่มหลง คำว่า จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง ได้แก่ จมลง หมกมุ่น หยั่งลง ดิ่งลง ในเหตุ ให้ลุ่มหลง รวมความว่า นรชน ... เมื่อดำรงตนอยู่ ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง @เชิงอรรถ : @ สํ.นิ. ๑๖/๖๔/๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยวิเวก ๓ อย่าง
คำว่า วิเวก ในคำว่า ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ได้แก่ วิเวก ๓ อย่าง คือ (๑) กายวิเวก(ความสงัดกาย) (๒) จิตตวิเวก(ความสงัดใจ) (๓) อุปธิวิเวก(ความสงัดอุปธิ) กายวิเวก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้สอยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่า โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ช่องเขา สุสาน ป่าดงดิบ กลางแจ้ง ลอมฟาง และมีกายสงัดอยู่ คือ เดินรูปเดียว ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว นอนรูปเดียว เข้าหมู่บ้านบิณฑบาตรูปเดียว กลับรูปเดียว นั่งในที่ลับรูปเดียว อธิษฐานจงกรมรูปเดียว เที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปลำพังรูปเดียว นี้ชื่อว่ากายวิเวก จิตตวิเวก เป็นอย่างไร คือ ผู้บรรลุปฐมฌานย่อมมีจิตสงัดจากนิวรณ์๑- ผู้บรรลุทุติยฌานย่อมมีจิตสงัด จากวิตกและวิจาร ผู้บรรลุตติยฌานย่อมมีจิตสงัดจากปีติ ผู้บรรลุจตุตถฌานย่อมมี จิตสงัดจากสุขและทุกข์ ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ๒- ย่อมมีจิตสงัดจาก รูปสัญญา๓- ปฏิฆสัญญา๔- นานัตตสัญญา๕- ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ๖- ย่อมมี จิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ๗- ย่อมมีจิต สงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา ผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ๘- ย่อมมี จิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา @เชิงอรรถ : @ นิวรณ์ ดูรายละเอียดข้อ ๕/๑๗ @ อากาสานัญจายตนสมาบัติ คือสมาบัติที่กำหนดอากาศ คือความว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็น @ขั้นที่ ๑ ของอรูปฌาน (ขุ.ม.อ. ๗/๙๖) @ รูปสัญญา คือความจำได้หมายรู้เรื่องรูป หมายถึงสัญญาในรูปฌาน ๑๕ ด้วยสามารถกุศลวิบากและกิริยา @(ขุ.ม.อ. ๗/๙๖) @ ปฏิฆสัญญา คือความจำได้หมายรู้ ความกระทบกระทั่งในใจ ที่เกิดจากการกระทบกันแห่งตากับรูป เป็นต้น @(ขุ.ม.อ. ๗/๙๖) @ นานัตตสัญญา คือความหมายรู้ไม่ใช่ตนก็มิใช่ หมายถึงกามาวจรสัญญา ๔๔ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗) @ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ คือสมาบัติที่กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗) @ อากิญจัญญายตนสมาบัติ คือสมาบัติที่กำหนดความไม่มีอะไรเหลือเป็นอารมณ์ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๗) @ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติคือสมาบัติที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (ขุ.ม.อ. ๗/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ผู้เป็นพระโสดาบันย่อมมีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ๑- วิจิกิจฉา๒- สีลัพพตปรามาส๓- ทิฏฐานุสัย๔- วิจิกิจฉานุสัย๕- และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับสักกายทิฏฐิ เป็นต้นนั้น ผู้เป็นพระสกทาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์๖- ปฏิฆสังโยชน์อย่าง หยาบ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ กามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น ผู้เป็นพระอนาคามี ย่อมมีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์อย่าง ละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างละเอียด และเหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียว กับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น ผู้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีจิตสงัดจากรูปราคะ๗- อรูปราคะ๘- มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย๙- ภวราคานุสัย๑๐- อวิชชานุสัย๑๑- เหล่ากิเลสที่อยู่ในพวกเดียวกับ รูปราคะเป็นต้นนั้น และสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่าจิตตวิเวก @เชิงอรรถ : @ สักกายทิฏฐิ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒/๕๙ @ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในฐานะ ๘ อย่าง คือ (๑) ความสงสัยในทุกข์ (๒) ความสงสัยในทุกขสมุทัย @(๓) ความสงสัยในทุกขนิโรธ (๔) ความสงสัยในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (๕) ความสงสัยในส่วนเบื้องต้น @(๖) ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย (๗) ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย (๘) ความสงสัย @ในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้เป็นปัจจัย ดูรายละเอียด ข้อ ๑๗๔/๔๙๔ @ สีลัพพตปรามาส คือความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์ หลุดพ้น @ได้ด้วยศีลพรต (ขุ.ม.อ. ๗/๙๘) @ ทิฏฐานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑ @ วิจิกิจฉานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑ @ กามราคสังโยชน์ กิเลสอันผูกใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์หรือผูกกรรมไว้กับผล คือความกำหนัด @ในกาม ความติดใจในกาม (อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๙๖๙/๖๒๐) @ รูปราคะ คือความกำหนัดด้วยอำนาจความพอในรูปภพ (ขุ.ม.อ. ๗/๑๐๐) @ อรูปราคะ คือความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอรูปภพ (ขุ.ม.อ. ๗/๑๐๐) @ มานานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑ @๑๐ ภวราคานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑ @๑๑ อวิชชานุสัย ดูเชิงอรรถข้อ ๓/๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

อุปธิวิเวก เป็นอย่างไร คือ กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี ตรัสเรียกว่า อุปธิ อมตนิพพาน ตรัส เรียกว่า อุปธิวิเวก คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็น ที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท นี้ชื่อว่าอุปธิวิเวก กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออกแล้ว ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงความเป็นผู้ผ่องแผ้วยิ่ง และอุปธิวิเวกย่อมมีแก่ บุคคลผู้ปราศจากอุปธิ บรรลุนิพพานอันปราศจากปัจจัยปรุงแต่งแล้ว คำว่า ไกลจากวิเวก อธิบายว่า ผู้ข้องอยู่ในถ้ำอย่างนี้ ถูกกิเลสมากหลาย ปิดบังไว้อย่างนี้ จมลงในเหตุให้ลุ่มหลงอย่างนี้ ย่อมอยู่ไกลจากกายวิเวกบ้าง ไกลจาก จิตตวิเวกบ้าง ไกลจากอุปธิวิเวกบ้าง คือ ไกล ห่างไกล แสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ใกล้เคียง ไม่ชิด ไม่ใกล้ชิด คำว่า ผู้เป็นเช่นนั้น ได้แก่ ผู้เป็นเช่นนั้น คือ ผู้เป็นอย่างนั้น ผู้ดำรงอยู่ อย่างนั้น ผู้เป็นประการนั้น ผู้มีส่วนอย่างนั้น จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง รวมความว่า ผู้เป็นเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
คำว่า กาม ในคำว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละ ได้ง่ายเลย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม วัตถุกาม คืออะไร คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาส หญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง หมู่บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง และวัตถุที่น่ายินดีอย่างใดอย่างหนึ่ง (เหล่านี้)ชื่อว่าวัตถุกาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง กามที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน กามที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก กามอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่าง ประณีต กามที่เป็นของสัตว์ในอบาย ที่เป็นของมนุษย์ ที่เป็นของทิพย์ กามที่ปรากฏ เฉพาะหน้า ที่เนรมิตขึ้นเอง ที่ไม่ได้เนรมิตขึ้นเอง ที่ผู้อื่นเนรมิตให้ กามที่มีผู้ ครอบครอง ที่ไม่มีผู้ครอบครอง ที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งปวง กามที่ เป็นเหตุเกิดแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหา ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่า น่าปรารถนา น่ายินดี น่าลุ่มหลง เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม กิเลสกาม คืออะไร คือ ความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ความดำริ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ ชื่อว่ากาม ได้แก่ ความพอใจ ด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัดด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วย อำนาจความใคร่ ความทะยานอยากด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจ ความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำคือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือ ความใคร่ กิเลสเครื่องยึดมั่นคือความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วย อำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย (สมจริงดังที่พระเจ้าอัฑฒมาสกเปล่งอุทานว่า) เจ้ากามเอ๋ย เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดเพราะความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก เจ้าจักไม่เกิดมาเป็นอย่างนี้ได้อีกละเจ้ากามเอ๋ย๑- เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม @เชิงอรรถ : @ ขุ.ชา. ๒๗/๓๙/๑๘๘, ขุ.จู. ๓๐/๘/๓๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก๑- มนุษยโลก เทวโลก๒- ขันธโลก ธาตุโลก๓- อายตนโลก๔- คำว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย อธิบาย ว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกเป็นของที่นรชนละได้ยาก คือ สละได้ยาก สละออก ได้ยาก ย่ำยีได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก รวมความว่า เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็น ของที่นรชนละได้ง่ายเลย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ อบายโลก คือโลกที่ปราศจากความเจริญ ได้แก่ (๑) นิรย นรก (๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดสัตว์เดรัจฉาน @(๓) ปิตติวิสัย แดนเปรต (๔) อสุรกาย พวกหวาดหวั่นไร้ความเจริญ (ขุ.อิติ. ๒๕/๙๓/๓๑๒) @ เทวโลก คือโลกของหมู่เทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง ๖ เป็นภพที่มีอารมณ์เลิศ โลกที่มีแต่ความสุข แต่ยัง @เกี่ยวข้องกับกามอยู่ ได้แก่ (๑) จาตุมหาราชิกา สวรรค์ที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ปกครองอยู่ (ท้าวธตรฐ จอม- @คนธรรพ์ครองทิศตะวันออก, ท้าววิรุฬหกจอมกุมภัณฑ์ครองทิศใต้, ท้าววิรูปักษ์จอมนาคครองทิศตะวันตก, @ท้าวกุเวรหรือเวสวัณจอมยักษ์ครองทิศเหนือ) (๒) ดาวดึงส์ แดนที่อยู่แห่งเทพ ๓๓ มีท้าวสักกะ เป็น @จอมเทพ (๓) ยามา แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์ มีท้าวสุยามาเป็นจอมเทพ (๔) ดุสิต แดนที่อยู่ @แห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ (๕) นิมมานรดี แดนแห่งเทพผู้มี @ความยินดีในการเนรมิต มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ (๖) ปรนิมมิตวสวัตดี แดนที่อยู่แห่งเทพผู้ยังอำนาจ @ให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิต คือเสวยสมบัติที่เทพพวกอื่นนิรมิตให้ มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพ @(สํ.ม. ๑๙/๑๐๘๑/๓๖๙) @ ธาตุโลก หมายถึงธาตุ ๑๘ คือสิ่งที่ทรงสภาวะของตนเองอยู่ ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเป็นไปตาม @ธรรมนิยาม คือ กำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้าง ผู้บันดาล และมีรูปลักษณะ กิจ อาการเป็นแบบจำเพาะตัว @อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ ได้แก่ (๑) จักขุธาตุ ธาตุคือจักขุปสาท (๒) รูปธาตุ ธาตุคือ @รูปารมณ์ (๓) จักขุวิญญาณธาตุ ธาตุคือจักขุวิญญาณ (๔) โสตธาตุ ธาตุคือโสตปสาท (๕) สัททธาตุ @ธาตุคือสัททารมณ์ (๖) โสตวิญญาณธาตุ ธาตุคือโสตวิญญาณ (๗) ฆานธาตุ ธาตุคือฆานปสาท (๘) คันธธาตุ @ธาตุคือคันธารมณ์ (๙) ฆานวิญญาณธาตุ ธาตุคือฆานวิญญาณ (๑๐) ชิวหาธาตุ ธาตุคือชิวหาปสาท @(๑๑) รสธาตุ ธาตุคือรสารมณ์ (๑๒) ชิวหาวิญญาณธาตุ ธาตุคือชิวหาวิญญาณ (๑๓) กายธาตุ ธาตุคือ @กายปสาท (๑๔) โผฏฐัพพธาตุ ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ (๑๕) กายวิญญาณธาตุ ธาตุคือกายวิญญาณ @(๑๖) มโนธาตุ ธาตุคือมโน (๑๗) ธรรมธาตุ ธาตุคือธรรมารมณ์ (๑๘) มโนวิญญาณธาตุ ธาตุคือ @มโนวิญญาณ (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๘๓-๑๘๔/๑๔๒-๑๔๖) @ อายตนโลก หมายถึงอายตนะ ๑๒ คือ (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้) @อายตนะภายใน ๖ ได้แก่ (๑) ตา (๒) หู (๓) จมูก (๔) ลิ้น (๕) กาย (๖) ใจ อายตนะภายนอก ๖ ได้แก่ @(๑) รูป (๒) เสียง (๓) กลิ่น (๔) รส (๕) โผฏฐัพพะ (๖) ธรรมารมณ์ ทั้ง ๖ นี้ เรียกทั่วไปว่า อารมณ์ ๖ คือ @เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง (อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๕๔-๑๖๗/๑๑๒-๑๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ ถูกกิเลสมากหลายปิดบังไว้ เมื่อดำรงตนอยู่(อย่างนี้) ก็จมลงในเหตุให้ลุ่มหลง ผู้เป็นเช่นนั้นแล ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของที่นรชนละได้ง่ายเลย [๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สัตว์เหล่านั้น มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความ ข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติ ที่ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่ มีข่าย ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่ แผ่ไป ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน ความคนึงหา ตัณหาที่นำ พาไปสู่ภพ ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความ หวังในทรัพย์ ความหวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่ กระซิบบ่อยๆ ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่ อารมณ์ดีๆ ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ที่ติดใจ ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์ เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาดุจเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุอย่างต่างๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร วิสัยแห่งมาร ตัณหาดุจแม่น้ำ ตัณหาดุจตาข่าย ตัณหา ดุจโซ่ตรวน ตัณหาดุจสมุทร อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ คำว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ได้แก่ มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ คือ มีความปรารถนาเป็นสาเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นเหตุ มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ คำว่า ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ อธิบายว่า ความพอใจในภพอย่างเดียว คือ สุขเวทนา ความพอใจในภพ ๒ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. วัตถุที่น่าปรารถนา ความพอใจในภพ ๓ อย่าง คือ ๑. ความเป็นหนุ่มสาว ๒. ความไม่มีโรค ๓. ชีวิต ความพอใจในภพ ๔ อย่าง คือ ๑. ลาภ ๒. ยศ ๓. สรรเสริญ ๔. สุข ความพอใจในภพ ๕ อย่าง คือ ๑. รูปที่น่าพอใจ ๒. เสียงที่น่าพอใจ ๓. กลิ่นที่น่าพอใจ ๔. รสที่น่าพอใจ ๕. โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ความพอใจในภพ ๖ อย่าง คือ ๑. ความสมบูรณ์แห่งตา ๒. ความสมบูรณ์แห่งหู ๓. ความสมบูรณ์แห่งจมูก ๔. ความสมบูรณ์แห่งลิ้น ๕. ความสมบูรณ์แห่งกาย ๖. ความสมบูรณ์แห่งใจ ผู้ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ ได้แก่ ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในสุขเวทนา ... ในวัตถุที่น่าปรารถนา ... ในความเป็นหนุ่มสาว ... ในความ ไม่มีโรค ... ในชีวิต ... ในลาภ ... ในยศ ... ในสรรเสริญ ... ในสุข ... ในรูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ... ในความสมบูรณ์แห่งตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ข้อง คือ ติด เกี่ยว เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในความสมบูรณ์แห่งใจ รวมความว่า มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ คำว่า สัตว์เหล่านั้น ... ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้น ไม่ได้เลย อธิบายว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุด พ้นได้ยาก หรือสัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความ พอใจในภพนั้น ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก เป็นอย่างไร คือ สุขเวทนา อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก คือ ปลดเปลื้องได้ยาก ทรงตัวได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับ ตัวหลีกได้ยาก วัตถุที่น่าปรารถนา ... ความเป็นหนุ่มสาว ... ความไม่มีโรค ... ชีวิต ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... รูปที่น่าพอใจ ... เสียงที่น่าพอใจ ... กลิ่นที่น่าพอใจ ... รสที่น่าพอใจ ... โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ... ความสมบูรณ์แห่งตา ... ความสมบูรณ์ แห่งหู ... ความสมบูรณ์แห่งจมูก ... ความสมบูรณ์แห่งลิ้น ... ความสมบูรณ์แห่งกาย ... ความสมบูรณ์แห่งใจ อันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก คือ ปลดเปลื้องได้ยาก ทรงตัว ได้ยาก แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้น ได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพเหล่านั้น อันสัตว์ หลุดพ้นได้ยากเป็นอย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความ พอใจในภพนั้น เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คือ สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก คือ ปลดเปลื้องขึ้นได้ยาก ทรงตัวได้ ยาก ทรงตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก จากสุขเวทนา ... จากวัตถุที่น่าปรารถนา ... จากความเป็นหนุ่มสาว ... จากความ ไม่มีโรค ... จากชีวิต ... จากลาภ ... จากยศ ... จากสรรเสริญ ... จากสุข ... จากรูป ที่น่าพอใจ ... จากเสียงที่น่าพอใจ ... จากกลิ่นที่น่าพอใจ ... จากรสที่น่าพอใจ ... จาก โผฏฐัพพะที่น่าพอใจ ... จากความสมบูรณ์แห่งตา ... จากความสมบูรณ์แห่งหู ... จาก ความสมบูรณ์แห่งจมูก ... จากความสมบูรณ์แห่งลิ้น ... จากความสมบูรณ์แห่งกาย ปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก คือ ปลดเปลื้องขึ้นได้ยาก ทรงตัวได้ยาก ทรงตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยาก ยกตัวขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง แก้ออกได้ยาก แหวกออกได้ยาก ข้าม ได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก จากความสมบูรณ์แห่งใจ สัตว์ทั้งหลายปลดเปลื้อง(ตน)ได้ยาก จากธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความพอใจในภพนั้น เป็นอย่างนี้ รวมความว่า สัตว์เหล่านั้น ... ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก คำว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้น ตนเองก็จมดิ่งอยู่ จึงไม่สามารถฉุดรั้งคนอื่นที่จมดิ่งอยู่แล้วขึ้นมาได้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ว่า “จุนทะ ข้อที่บุคคลซึ่งตนเองก็จมดิ่งอยู่จักฉุดรั้งผู้อื่นที่จมดิ่งอยู่แล้วขึ้นมาได้ เป็นไปไม่ได้เลย จุนทะ ข้อที่บุคคลผู้มิได้ฝึกฝน มิได้อบรม ยังมิได้ดับกิเลสด้วย ตนเอง จักฝึกฝนอบรมผู้อื่น ทำผู้อื่นให้ดับกิเลส เป็นไปไม่ได้เลย”๑- (สัตว์เหล่านั้น) จึง ชื่อว่าทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ไม่มีใครอื่นที่จะทำให้สัตว์เหล่านั้นหลุดพ้นได้ ถ้าสัตว์เหล่านั้นจะ พึงหลุดพ้นได้ สัตว์เหล่านั้นเมื่อปฏิบัติชอบ ปฏิบัติเหมาะสม ปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ปฏิบัติเอื้อประโยชน์ ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรมด้วยตนเอง ก็จะพึงหลุดพ้น ได้ด้วยเรี่ยวแรง ด้วยกำลัง ด้วยความพากเพียร ด้วยความบากบั่น ด้วยเรี่ยวแรง ของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความพากเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของ บุรุษของตนเองเท่านั้น (สัตว์เหล่านั้น) จึงชื่อว่าทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็น อย่างนี้บ้าง @เชิงอรรถ : @ ม.มู. ๑๒/๘๗/๖๐, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า โธตกะ๑- เราไม่สามารถปลดเปลื้องใครๆ ที่มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้แจ้งธรรมอันประเสริฐ ก็จะข้ามโอฆะนี้ได้เอง ด้วยประการฉะนี้๒- (สัตว์เหล่านั้น)จึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ตนทำชั่วเอง ก็เศร้าหมองเอง ไม่ทำชั่ว ก็บริสุทธิ์เอง ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้๓- สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย เป็นอย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ฉันนั้นเหมือนกันแหละพราหมณ์ นิพพานมีอยู่ ทางไปนิพพานมีอยู่ เรา(ตถาคต)ผู้ชักชวนก็มีอยู่ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ สาวกที่เราสั่งสอนอยู่อย่างนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกสำเร็จนิพพานอันถึงที่สุด โดยส่วนเดียว บางพวกก็ไม่สำเร็จ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตก็เป็นแต่ผู้ บอกทาง พระพุทธเจ้าก็เพียงบอกทางให้ ผู้ที่ปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น จึงจะพึง หลุดพ้นได้”๔- สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่า ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย อย่างนี้บ้าง รวม ความว่า สัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย คำว่า มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน อธิบายว่า อนาคต ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีต ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน อีกนัยหนึ่ง อนาคตใกล้ อดีตก็ดี ปัจจุบันใกล้อดีตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลภายหลัง อดีตใกล้อนาคตก็ดี ปัจจุบันใกล้อนาคตก็ดี ตรัสเรียกว่า ในกาลก่อน @เชิงอรรถ : @ โธตกะ เป็นชื่อของมาณพซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี (ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๘) @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๐๗๑/๕๓๘, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๘, อภิ.ก. ๓๗/๓๒๕/๑๖๘ @ ขุ.ธ. ๒๕/๑๖๕/๔๖, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๙ @ ม.อุ. ๑๔/๗๗/๕๗-๕๘, ขุ.จู. ๓๐/๓๓/๙๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

บุคคลทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อนอย่างไร คือ บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตอันยาวนาน เราได้มีรูปอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีเวทนาอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีสัญญาอย่างนี้มาแล้ว ... ได้มีสังขารอย่างนี้มาแล้ว บุคคลย่อมหวนระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตอันยาวนาน เราได้มีวิญญาณอย่างนี้มาแล้ว บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่ง หวัง(กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลมีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีต อันยาวนาน เราได้มีตาอย่างนี้ ได้เห็นรูปอย่างนี้ เพราะมีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วย ฉันทราคะ เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึง ชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน อย่างนี้บ้าง ... ได้มีหูอย่างนี้ ได้ยินเสียง อย่างนี้ ... ได้มีจมูกอย่างนี้ ได้กลิ่นอย่างนี้ ... ได้มีลิ้นอย่างนี้ ได้รู้รสอย่างนี้ ... ได้มี กายอย่างนี้ รู้สึกผัสสะอย่างนี้ ... มีวิญญาณเกี่ยวเนื่องด้วยฉันทราคะในอารมณ์นั้นว่า ในอดีตอันยาวนาน เราได้มีใจอย่างนี้ รู้ธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะมีวิญญาณเกี่ยว เนื่องด้วยฉันทราคะ เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลยินดี มุ่งหวัง ถึงความปลื้มใจ ด้วยการหัวเราะ พูดจา เล่นหัว กับมาตุคามในกาลก่อน บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลก่อน เป็นอย่างนี้บ้าง บุคคลทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลังอย่างไร คือ บุคคลตามระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตอันยาว นาน เราพึงมีรูปอย่างนี้ ... พึงมีเวทนาอย่างนี้ ... พึงมีสัญญาอย่างนี้ ... พึงมีสังขาร อย่างนี้ บุคคลตามระลึกถึงความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นว่า ในอนาคตอันยาวนาน เราพึงมีวิญญาณอย่างนี้ บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง เป็นอย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตอันยาวนาน ขอเราพึงมีตาอย่างนี้ เห็นรูปอย่างนี้ เพราะมีการตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงเพลิดเพลิน กับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความมุ่งหวัง (กาม)ในกาลภายหลัง อย่างนี้บ้าง ... พึงมีหูอย่างนี้ ได้ยินเสียงอย่างนี้ ... พึงมีจมูก อย่างนี้ ได้กลิ่นอย่างนี้ ... พึงมีลิ้นอย่างนี้ รู้รสอย่างนี้ ... พึงมีกายอย่างนี้ รู้สึก ผัสสะอย่างนี้ ... บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ในอนาคตอันยาวนาน ขอเราพึงมีใจอย่างนี้ รู้ธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะมีการตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึง เพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่า ทำความ มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง เป็นอย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง บุคคลตั้งจิตเพื่อให้ได้อารมณ์ที่ยังไม่ได้ว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทวดา หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง เพราะการตั้งจิตเป็นปัจจัย เขาจึงเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลินกับอารมณ์นั้น บุคคลจึงชื่อว่าทำ ความมุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง เป็นอย่างนี้บ้าง รวมความว่า มุ่งหวัง(กาม)ในกาล ภายหลัง หรือในกาลก่อน คำว่า (ปรารถนา)กามเหล่านี้ ในคำว่า ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มี อยู่ก่อน ได้แก่ ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง กามคุณ ๕ ที่เป็น ปัจจุบัน คำว่า ปรารถนากามที่มีอยู่ก่อน ได้แก่ ปรารถนา คือ ครวญหา พร่ำหา กามคุณ ๕ ที่เป็นอดีต รวมความว่า ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น มีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ ติดพันอยู่กับความพอใจในภพ มุ่งหวัง(กาม)ในกาลภายหลัง หรือในกาลก่อน ปรารถนากามเหล่านี้และกามที่มีอยู่ก่อน ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก (และ)ทำให้ผู้อื่นหลุดพ้นไม่ได้เลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

[๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สัตว์เหล่านั้น ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด ประสบทุกข์แล้ว จึงคร่ำครวญอยู่ว่า เราจุติจากภพนี้ จักเป็นอะไรหนอ
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
คำว่า ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- ตัณหาตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๒- สัตว์ทั้งหลาย กำหนัด ยินดี คือ ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในวัตถุกามด้วยกิเลสกาม รวมความว่า ยินดีในกามทั้งหลาย คำว่า ขวนขวาย อธิบายว่า แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไป ในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ ขวนขวายในกาม แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหารูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหาโผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปใน กามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม แม้สัตว์ผู้ได้เฉพาะรูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้ได้เฉพาะ โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักใน กามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

แม้สัตว์ผู้บริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้บริโภค โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักใน กามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม เปรียบเหมือนสัตว์ผู้ก่อการทะเลาะ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในการทะเลาะ ผู้ทำการ งาน ชื่อว่าผู้ขวนขวายในการทำงาน ผู้เที่ยวไปในโคจร ชื่อว่าผู้ขวนขวายในโคจร๑- ผู้เจริญฌาน ชื่อว่าผู้ขวนขวายในฌาน ฉันใด แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหากาม ทั้งหลาย เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่า ผู้ขวนขวายในกาม แม้สัตว์ผู้บริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้บริโภค โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกาม นั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม ฉันนั้นเหมือนกัน คำว่า ลุ่มหลง อธิบายว่า โดยมากเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมหลง ลุ่มหลง หลงงมงายในกามคุณ ๕ เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้หลง ลุ่มหลง หลงงมงาย คือถูกอวิชชาทำให้มืดบอด หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ รวมความว่า ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกาม ทั้งหลาย คำว่า ผู้ตกต่ำ ในคำว่า เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด อธิบายว่า แม้ผู้ ไปต่ำ ก็ชื่อว่าผู้ตกต่ำ แม้ผู้ตระหนี่ก็ตรัสเรียกว่า ผู้ตกต่ำ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อคำ คำที่ เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอน ของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า ก็ชื่อว่าผู้ตกต่ำ ผู้ไปต่ำอย่างไร จึงชื่อว่าผู้ตกต่ำ ผู้ไปต่ำ อธิบายว่า ไปสู่นรก ไปสู่กำเนิด เดรัจฉาน ไปสู่เปตวิสัย รวมความว่า ผู้ไปต่ำอย่างนี้ ชื่อว่าผู้ตกต่ำ @เชิงอรรถ : @ โคจร หมายถึงที่ควรเที่ยวไป อารมณ์หรือหน้าที่ที่จำเป็น มีสติปัฏฐานเป็นต้น (ขุ.ม.อ. ๙/๑๐๗) @ดูรายละเอียดข้อ ๑๙๖/๕๗๖-๕๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง
ผู้ตระหนี่อย่างไร จึงตรัสเรียกว่าผู้ตกต่ำ มัจฉริยะ มี ๕ อย่าง คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ(ความตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ(ความตระหนี่ตระกูล) ๓. ลาภมัจฉริยะ(ความตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ(ความตระหนี่วรรณะ) ๕. ธัมมมัจฉริยะ(ความตระหนี่ธรรม) ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ ความถี่เหนียว ความที่จิตเจ็บร้อน(ในการให้) ความมีจิตหวงแหนเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ อีกนัยหนึ่ง ความตระหนี่ขันธ์ก็ดี ความตระหนี่ธาตุก็ดี ความตระหนี่อายตนะ ก็ดี ความมุ่งแต่จะได้ก็ดี เรียกว่า ความตระหนี่ ชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยความ ตระหนี่นี้ คือ ความเป็นผู้ไม่รู้จักถ้อยคำของยาจก เป็นผู้ประมาท ผู้ตระหนี่อย่างนี้ ตรัสเรียกว่า ผู้ตกต่ำ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้าอย่างไร จึงชื่อว่าผู้ตกต่ำ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่ยอมฟัง ไม่เงี่ยโสต สดับ ไม่ตั้งใจเพื่อให้รู้พระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอน ของพระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ทำตามคำ ประพฤติ ฝ่าฝืน เบือนหน้าไปทางอื่น ผู้ไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัส คำที่เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า อย่างนี้ชื่อว่าผู้ตกต่ำ รวม ความว่า เป็นผู้ตกต่ำ คำว่า สัตว์เหล่านั้น ... ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด อธิบายว่า ตั้งอยู่ คือตั้งมั่น ตั้งเฉพาะ ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อ เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ผิด ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) อทินนาทาน(การลักทรัพย์) กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) มุสาวาท(การพูดเท็จ) ปิสุณาวาจา(วาจา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ส่อเสียด) ผรุสวาจา(วาจาหยาบ) สัมผัปปลาปะ(คำพูดเพ้อเจ้อ) อภิชฌา(ความเพ่งเล็ง อยากได้ของเขา) พยาบาท(ความคิดปองร้าย) มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิดจาก ทำนองคลองธรรม) สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ (... ในเจตนา ... ในความ ปรารถนา ... ในความตั้งใจที่ผิด) รวมความว่า สัตว์เหล่านั้น ... เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ ในกรรมที่ผิด คำว่า ประสบทุกข์แล้ว ในคำว่า ประสบทุกข์แล้ว จึงคร่ำครวญอยู่ ได้แก่ ประสบทุกข์แล้ว คือ ถึงทุกข์ ประจวบกับทุกข์ เข้าถึงทุกข์แล้ว ถึงมาร ประจวบกับ มาร เข้าถึงมารแล้ว ถึงมรณะ ประจวบกับมรณะ เข้าถึงมรณะแล้ว รวมความว่า ประสบทุกข์แล้ว คำว่า คร่ำครวญอยู่ ได้แก่ ร่ำไร รำพัน เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหล รวมความว่า ประสบทุกข์แล้ว จึงคร่ำครวญอยู่ คำว่า เราจุติจากภพนี้ จักเป็นอะไรหนอ อธิบายว่า เราจุติจากภพนี้แล้ว จักเป็นอะไรหนอ คือ จักเป็นสัตว์นรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา มีรูป ไม่มีรูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่ แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปหาความเคลือบแคลง เกิดความไม่แน่ใจ ย่อมร่ำไร รำพัน เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหลว่า ในอนาคตอันยาวนาน เราจักมีหรือจักไม่มี ในอนาคตอันยาวนาน เราจักเป็นอะไร หรือจักเป็นอย่างไร หรือในอนาคตอันยาวนาน เราเป็นอะไรแล้ว จักเป็นอะไรอีก รวมความว่า เราจุติจากภพนี้จักเป็นอะไรหนอ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง ตรัสว่า สัตว์เหล่านั้น ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด ประสบทุกข์แล้ว จึงคร่ำครวญอยู่ว่า เราจุติจากภพนี้ จักเป็นอะไรหนอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

[๑๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้ พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย
ว่าด้วยสิกขา ๓
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้ ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น เมื่อเห็นโทษนั้นในกามทั้งหลาย รวมความว่า เพราะฉะนั้น คำว่า พึงศึกษา ได้แก่ สิกขา ๓ คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑- สมบูรณ์ด้วยอาจาระ๒- และโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาใน สิกขาบททั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก๓- สีลขันธ์ใหญ่๔- ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อ ความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา @เชิงอรรถ : @ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำ ดังนี้ คือ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกายวาจา @ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบท ที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ @หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗) @ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและ @วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือการไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิด ที่พระพุทธเจ้ารังเกียจ เช่น ไม่ @เลี้ยงชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสนาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่า @คฤหัสถ์ ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘) @ สีลขันธ์เล็ก หมายถึงอาบัติที่แก้ไขได้ คืออาบัติตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา (ขุ.ม.อ. ๑๐/๑๒๐) @ สีลขันธ์ใหญ่ หมายถึงอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ คือ อาบัติปาราชิกอย่างเดียว (ขุ.ม.อ. ๑๐/๑๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขา มีสติ- สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เธอ รู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิด ทุกข์)” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)” เธอรู้ตามความ เป็นจริงว่า “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์)” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “เหล่านี้อาสวะ” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสว- สมุทัย” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธ” เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า “นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อสัตว์เกิดนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่า พึงศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่า พึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรม ที่ควรเจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า ในที่นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความ ยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้ อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ในที่นี้ คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ คือ นรชน ... มนุษย์๑- รวมความว่า เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้ คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ เป็นคำกล่าวรวมๆ ไว้ทั้งหมด คำว่า พึงรู้จัก ... ว่า เป็นกรรมที่ผิด อธิบายว่า พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ แทงตลอดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ผิด ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความ ปรารถนา ความตั้งใจที่ผิดว่าเป็นกรรมที่ผิด คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก รวมความว่า พึงรู้จักกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด คำว่า ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น อธิบายว่า ไม่พึง ประพฤติ คือ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ ไม่พึง สมาทานประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจที่ผิด รวมความว่า ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่ง กรรมที่ผิดนั้น @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อยด้วยเหตุ ๒ ประการ
คำว่า ชีวิต ในคำว่า นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย ได้แก่ อายุ ความดำรงอยู่ ความดำเนินไป ความให้ชีวิตดำเนินไป ความเคลื่อนไหว ความเป็นไป ความรักษา ความเป็นอยู่ ชีวิตินทรีย์ อนึ่ง ชีวิตเป็นของน้อย ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ชีวิตเป็นของน้อยเพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย (๒) ชีวิตเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย ชีวิตเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร คือ ในขณะจิตที่เป็นอดีต ชีวิตเป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นอนาคต ชีวิตจักเป็นอยู่ ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ในขณะ จิตที่เป็นปัจจุบัน ชีวิตกำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งปวง เป็นธรรมที่ประกอบกันขึ้นชั่วขณะจิตเดียว ขณะย่อมหมุนไปอย่างรวดเร็ว เทวดาผู้ดำรงอยู่ได้ตั้ง ๘๔,๐๐๐ กัป ก็มิได้ประกอบด้วยจิต ๒ ดวง(ในขณะจิตเดียว) เป็นอยู่ได้ ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายไป หรือยังดำรงอยู่ในโลกนี้ ดับไปแล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งหมด เป็นอย่างเดียวกัน ดับไปแล้วก็มิได้สืบต่อกัน ขันธ์ที่แตกไปในอดีตอันหาลำดับมิได้ และขันธ์ที่จะแตกไปในอนาคต มีลักษณะไม่ต่างกับขันธ์ที่ดับในปัจจุบัน สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคตขันธ์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ เพราะจิตแตกดับไป สัตว์โลกชื่อว่า ตายแล้ว นี้เป็นปรมัตถบัญญัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

เพราะมีอายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่แปรไปตามฉันทะ ย่อมเป็นไปไม่ขาดสาย เหมือนน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ขันธ์ทั้งหลายถึงการทรงตัวอยู่ไม่ได้แตกไปแล้ว กองขันธ์ในอนาคตก็ไม่มี ส่วนขันธ์ที่เกิดแล้วในปัจจุบันก็ดำรงอยู่ เหมือนเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น ความแตกทำลายแห่งขันธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเหล่านั้น ปรากฏอยู่ข้างหน้า ขันธ์ทั้งหลายที่มีการแตกเป็นธรรมดา ดำรงอยู่ มิได้รวมกับขันธ์เก่า ขันธ์ทั้งหลายมาโดยสภาวะที่ไม่ปรากฏ แตกทำลายไปแล้ว ก็ไปสู่สภาวะที่ไม่ปรากฏ ย่อมเกิดขึ้นและดับไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ ฉะนั้น ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะดำรงอยู่ชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้ ชีวิตเป็นของน้อยเพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างไร คือ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้า ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจออก ชีวิต เกี่ยวเนื่องด้วยลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยมหาภูตรูป๑- ชีวิต เกี่ยวเนื่องด้วยอาหารที่กลืนกิน ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วยไฟธาตุ ชีวิตเกี่ยวเนื่องด้วย วิญญาณ มูลเหตุ(กรัชกาย) ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย บุพพเหตุ๒- ของ สภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ปัจจัยทั้งหลายมีอารมณ์เป็นต้นมีกำลังน้อย แดน เกิด(ตัณหา) มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิดร่วมกัน ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ธรรมที่ประกอบกัน (อรูปธรรม) ของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย ธรรมที่เกิดพร้อม @เชิงอรรถ : @ มหาภูตรูป ๔ (๑) ปฐวีธาตุ (สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ สภาพอันเป็นหลักที่ตั้ง ที่อาศัยแห่งสหชาตรูป @เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน) (๒) อาโปธาตุ (สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม ซ่านไป ขยายขนาด @ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือธาตุน้ำ) (๓) เตโชธาตุ (สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญ @ว่า ธาตุไฟ) (๔) วาโยธาตุ (สภาวะที่ทำให้สั่นไหว เคลื่อนที่ ค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม) @(ที.สี. (แปล) ๙/๔๘๗-๔๙๙/๒๑๖-๒๒๐) @ บุพพเหตุ ในที่นี้หมายถึง อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ (ขุ.ม.อ. ๑๐/๑๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

กันของสภาวธรรมเหล่านี้มีกำลังน้อย กิเลสเครื่องประกอบ(ตัณหา)มีกำลังน้อย สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่างมีกำลังน้อยตลอดเวลา สภาวธรรมเหล่านี้แต่ละอย่าง ไม่มั่นคง สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ทำให้สภาวธรรมอื่นตกล่วงลงไป เพราะสภาวธรรม เหล่านี้ต่างก็ไม่มีความต้านทาน สภาวธรรมเหล่านี้ต่างก็ไม่ดำรงกันและกันอยู่ได้ แม้สภาวธรรมที่ทำให้ธรรมเหล่านี้เกิดก็ไม่มี อนึ่ง ธรรมไรๆ ก็มิได้เสื่อมไปเพราะธรรมไรๆ เพราะขันธ์เหล่านี้ พึงถึงความแตกดับไปโดยประการทั้งปวง ขันธ์เหล่านี้ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยก่อน แม้เหตุปัจจัยที่เกิดก่อนก็แตกดับไปแล้วในกาลก่อน ในกาลไหนๆ ขันธ์ที่เกิดก่อนและที่เกิดในภายหลัง จึงไม่ได้เห็นกันและกัน ชีวิตชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะมีคุณค่าเพียงเล็กน้อย เป็นอย่างนี้ อนึ่ง เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นจาตุมหาราช ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่ ไม่นาน เพราะเทียบกับชีวิตของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้น ดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ... เพราะเทียบเคียงกับ ชีวิตของเทวดาชั้นพรหมกายิกา ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย คือ เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน สมจริงดังที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์น้อย จำต้องไปสู่ปรโลก ต้อง ประสบกับความตายที่เข้าใจกันอยู่ ควรทำกุศล ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่เกิดมาแล้ว ไม่ตายไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีชีวิตยืนนาน ผู้นั้นก็อยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรืออยู่ได้ เกินกว่านั้นก็มีน้อย” (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

มนุษย์มีอายุน้อย บุคคลผู้ฉลาดพึงดูหมิ่นชีวิตที่น้อยนั้น พึงเร่งประพฤติธรรมเหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น เพราะความตายจะไม่มาถึงไม่มี๑- วันคืนล่วงเลยไป ชีวิตก็ใกล้หมดสิ้นไป อายุของสัตว์ทั้งหลายก็หมดสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยจะแห้งไป ฉะนั้น๒-
ว่าด้วยปัญญาที่เรียกว่า ธี
คำว่า นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย อธิบายว่า ชื่อว่านักปราชญ์ เพราะมีปัญญา ชื่อว่านักปราชญ์เพราะมีปัญญาเครื่องทรงจำ ชื่อว่านักปราชญ์เพราะ สมบูรณ์ด้วยปัญญาเครื่องทรงจำ ชื่อว่านักปราชญ์เพราะติเตียนบาป ปัญญาตรัสเรียกว่า ธี ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความ เลือกเฟ้น ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความ เข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความคิดค้น ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา เครื่องนำทาง ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาดุจปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง คือปัญญา ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความ เลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชื่อว่านักปราชญ์ เพราะประกอบด้วยปัญญานั้น อีกนัยหนึ่ง เป็นปราชญ์ในขันธ์ ปราชญ์ในธาตุ ปราชญ์ในอายตนะ ปราชญ์ใน ปฏิจจสมุปบาท ปราชญ์ในสติปัฏฐาน ปราชญ์ในสัมมัปปธาน ปราชญ์ในอิทธิบาท ปราชญ์ในอินทรีย์ ปราชญ์ในพละ ปราชญ์ในโพชฌงค์ ปราชญ์ในมรรค ปราชญ์ในผล ปราชญ์ในนิพพาน นักปราชญ์เหล่านั้น กล่าว คือ พูด แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า ชีวิตของมนุษย์จึงน้อย เล็กน้อย นิดหน่อย ชั่วขณะ เร็วพลัน ประเดี๋ยวเดียว ตั้งอยู่ ไม่นาน ดำรงอยู่ไม่นาน รวมความว่า นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย ด้วย เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๑๔๕/๑๓๐ @ สํ.ส. ๑๕/๑๔๖/๑๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้ พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น นักปราชญ์กล่าวว่า ชีวิตนี้เป็นของน้อย [๑๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนที่เลว ผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช
ว่าด้วยหมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา
คำว่า เราเห็น ในคำว่า เราเห็น ... กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก ได้แก่ เราเห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดู ด้วยมังสจักขุบ้าง ด้วยทิพพจักขุบ้าง ด้วยปัญญาจักขุบ้าง ด้วยพุทธจักขุบ้าง ด้วยสมันตจักขุบ้าง คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า กำลังดิ้นรนอยู่ อธิบายว่า เราเห็น แลเห็น ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูหมู่สัตว์นี้ ผู้กำลังดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่าย ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ดิ้นรนเพราะกิเลส ดิ้นรนเพราะการประกอบ ดิ้นรนเพราะวิบาก ดิ้นรนเพราะทุจริต คือ ผู้กำหนัดก็ดิ้นรนตามอำนาจราคะ ผู้ขัดเคืองก็ดิ้นรนตามอำนาจโทสะ ผู้หลงก็ดิ้นรนตามอำนาจโมหะ ผู้ยึดติดก็ดิ้นรนตามอำนาจมานะ ผู้ยึดถือก็ดิ้นรนตามอำนาจทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ผู้ฟุ้งซ่านก็ดิ้นรนตามอำนาจอุทธัจจะ ผู้ลังเลก็ดิ้นรนตามอำนาจวิจิกิจฉา ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลสก็ดิ้นรนตามอำนาจอนุสัย ดิ้นรนเพราะลาภ เพราะเสื่อมลาภ เพราะยศ เพราะเสื่อมยศ เพราะสรรเสริญ เพราะนินทา เพราะสุข เพราะทุกข์ ดิ้นรนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะพยาธิ เพราะมรณะ เพราะโสกะ(ความ เศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ดิ้นรนเพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในนรก เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดใน กำเนิดเดรัจฉาน เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย เพราะทุกข์เนื่องจากการ เกิดในโลกมนุษย์ เพราะทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจาก การอยู่ในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์ เพราะทุกข์ที่สืบเนื่องจาก ผู้เกิด เพราะทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายาม ของตนเอง เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของผู้อื่น เพราะทุกข์ที่เกิดจากความ ทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะทุกข์ที่เกิดจากสังขาร เพราะทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางตา เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางหู เพราะ ทุกข์ที่เกิดจากโรคทางจมูก เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางลิ้น เพราะทุกข์ที่เกิดจาก โรคทางกาย เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคศีรษะ ... โรคหู ... โรคปาก ... โรคฟัน ... โรคไอ ... โรคหืด ... ไข้หวัด ... ไข้พิษ ... ไข้เชื่อมซึม ... โรคท้อง ... เป็นลมสลบ ... ลงแดง ... จุกเสียด ... อหิวาตกโรค ... โรคเรื้อน ... ฝี ... กลาก ... มองคร่อ ... ลมบ้าหมู ... หิดเปื่อย ... หิดด้าน ... หิด ... หูด ... โรคละลอก ... โรคดีซ่าน ... โรคเบาหวาน ... โรคเริม ... โรคพุพอง ... โรคริดสีดวงทวาร ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี ... ความ เจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม ... ไข้สันนิบาต ... ความ เจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล .... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยน อิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง .... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ... ความหนาว ... ความร้อน ... ความหิว ... ความกระหาย ... ปวดอุจจาระ ... ปวดปัสสาวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย ...ทุกข์เพราะบิดาตาย ... ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ... ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย ... ทุกข์เพราะบุตรตาย ... ทุกข์เพราะธิดาตาย ... ความพินาศของญาติ ... โภคทรัพย์พินาศ ... ความเสียหายที่เกิดจากโรค ... สีลวิบัติ ... ทิฏฐิวิบัติ รวมความว่า เราเห็น ... กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์นี้ ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย เป็นชื่อเรียกสัตว์ คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา คำว่า ผู้ตกไปในอำนาจตัณหา อธิบายว่า ผู้ตกไปในอำนาจตัณหา คือ ไปตามอำนาจตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมลงในตัณหา ถูกตัณหาผลักให้ตกไป ถูก ตัณหาครอบงำ มีจิตถูกตัณหายึดครอง คำว่า ในภพทั้งหลาย ได้แก่ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมความว่า หมู่ สัตว์นี้ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย คำว่า นรชนที่เลว ในคำว่า นรชนที่เลว ... ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช อธิบายว่า นรชน ที่เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย เพราะ ประกอบด้วยกายกรรม ... วจีกรรม ... มโนกรรมที่เลว ... ปาณาติบาต ... อทินนาทาน ... กาเมสุมิจฉาจาร ... มุสาวาท ... ปิสุณาวาจา ... ผรุสวาจา ... สัมผัปปลาปะ ... อภิชฌา ... พยาบาท ... มิจฉาทิฏฐิ ... สังขารทั้งหลาย .. กามคุณ ๕ ... นิวรณ์ ๕ ... เจตนา ... ความปรารถนา ... ที่เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย เพราะประกอบด้วยความตั้งใจที่เลว รวมความว่า นรชนที่เลว คำว่า ใกล้ปากมัจจุราช ในคำว่า ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช อธิบายว่า นรชนผู้ถึงมัจจุราช ประจวบกับมัจจุราช เข้าถึงมัจจุราช ถึงมาร ประจวบกับมาร เข้าถึงมาร ถึงมรณะ ประจวบกับมรณะ เข้าถึงมรณะ ร่ำไร คือ รำพัน เศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหล ใกล้ปากมาร ใกล้ปากมรณะ รวมความว่า นรชนที่เลว... ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า ผู้ยังไม่คลายจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา ... ธัมมตัณหา คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏ และวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดใน กามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ใน กรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป คำว่า ผู้ยังไม่คลายตัณหา ได้แก่ ผู้ยังไม่คลายตัณหา คือ ไม่ปราศจาก ตัณหา ไม่สละตัณหา ไม่คายตัณหา ไม่เปลื้องตัณหา ไม่ละตัณหา ไม่สลัดทิ้งตัณหา รวมความว่า ผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนที่เลว ผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช [๑๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว นรชนเห็นโทษนี้แล้วก็อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ว่าด้วยความยึดถือ ๒ อย่าง
คำว่า พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบายว่า คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา ด้วยอำนาจทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือ ว่าเป็นของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเราซึ่ง วัตถุมีประมาณเท่านี้ว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีปริมาณเท่านี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วย อำนาจตัณหา ซึ่งจำแนกได้ ๑๐๘ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจ ตัณหา ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ๑- ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ๒- ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ๓- ๑๐ ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง ความ ถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่าเป็นจริง เห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ @เชิงอรรถ : @ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ คือปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ - @(๑) ย่อมตามเห็นรูปเป็นอัตตา (๒) เห็นอัตตามีรูป (๓) เห็นรูปในอัตตา (๔) เห็นอัตตาในรูป (๕) ย่อมตาม @เห็นเวทนาเป็นอัตตา (๖) เห็นอัตตามีเวทนา (๗) เห็นเวทนาในอัตตา (๘) เห็นอัตตาในเวทนา (๙) ย่อม @ตามเห็นสัญญาเป็นอัตตา (๑๐) เห็นอัตตามีสัญญา (๑๑) เห็นสัญญาในอัตตา (๑๒) เห็นอัตตาในสัญญา @(๑๓) ย่อมตามเห็นสังขารเป็นอัตตา (๑๔) เห็นอัตตามีสังขาร (๑๕) เห็นสังขารในอัตตา (๑๖) เห็นอัตตาใน @สังขาร (๑๗) ย่อมตามเห็นวิญญาณเป็นอัตตา (๑๘) เห็นอัตตามีวิญญาณ (๑๙) เห็นวิญญาณในอัตตา @(๒๐) เห็นอัตตาในวิญญาณ (สํ.ข. ๑๗/๑๕๕/๑๔๙, ขุ.ม.อ. ๑๒/๑๕๘) @ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ (๑) ทานที่ให้แล้วไม่มีผล (๒) การบูชาไม่มีผล (๓) การบวงสรวงไม่มีผล @(๔) กรรมที่ทำไว้ดีและทำไว้ไม่ดีไม่มีผล (๕) โลกนี้ไม่มี (๖) โลกหน้าไม่มี (๗) มารดาไม่มี (๘) บิดาไม่มี @(๙) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี (๑๐) สมณพราหมณ์ที่ดำเนินตนชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำให้แจ้งในโลกนี้และ @โลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้(ผู้อื่น)ทราบ ไม่มี (ขุ.จู. ๓๐/๑๔๓/๒๘๘) @ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ หมายถึงความเห็นผิดแล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง มี ๑๐ ประการ คือเห็นว่า @(๑) โลกเที่ยง (๒) โลกไม่เที่ยง (๓) โลกมีที่สุด (๔) โลกไม่มีที่สุด (๕) ชีวะกับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน (๖) @ชีวะกับสรีระ เป็นคนละอย่าง (๗) หลังจากตายไปตถาคตเกิดอีก (๘) หลังจากตายไปตถาคตไม่เกิดอีก (๙) @หลังจากตายไปตถาคตเกิดอีกก็ใช่ ไม่เกิดอีกก็ใช่ (๑๐) หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีก @ก็มิใช่ (องฺ.ทสก. ๒๔/๙๓/๑๔๙-๑๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น ของเรา อธิบายว่า หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่าจะมีผู้แย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูก แย่งชิงไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่า จะมีความแปรผันไปแห่ง วัตถุที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไป ย่อมดิ้นรน บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง คือ กระวนกระวาย กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ พวกเธอจงดู คือ แลดู มองดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูหมู่สัตว์ ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ คือ กระวนกระวาย กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่อย่างนี้ รวมความว่า พวกเธอจงดู หมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา คำว่า เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว อธิบายว่า หมู่สัตว์ผู้หวาด ระแวงว่าจะมีผู้แย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลัง ถูกแย่งชิงไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่าจะมีความแปรผันไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไป แล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง คือกระวนกระวาย กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อย คือ น้ำนิดหน่อย น้ำแห้ง ไป ถูกกา เหยี่ยว หรือนกยางโฉบลากขึ้นมาแทะกินก็ดิ้นรน กระวนกระวาย กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น รวม ความว่า เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว คำว่า นรชนเห็นโทษนี้แล้ว ... พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบาย ว่า นรชนเห็นแล้ว คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา รวมความว่า นรชนเห็น โทษนี้แล้ว คำว่า พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบายว่า คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเรา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ นรชนละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึด ถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ไม่ยึดถือตาว่าเป็นของเรา ไม่ยึดถือหูว่าเป็น ของเรา ไม่ยึดถือจมูกว่าเป็นของเรา ไม่ยึดถือลิ้นว่าเป็นของเรา ไม่ยึดถือกายว่าเป็น ของเรา ไม่ยึดถือใจว่าเป็นของเรา ไม่ยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ธรรมารมณ์ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ๑- ... จตุโวการภพ๒- ... ปัญจโวการภพ๓- ... อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน ... รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งว่าเป็นของเรา พึงประพฤติ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า นรชน เห็นโทษนี้แล้ว ... พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา คำว่า ในภพทั้งหลาย ในคำว่า อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพ ทั้งหลาย ได้แก่ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตัณหาตรัสเรียกว่า เครื่องเกี่ยวข้อง คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๔- คำว่า อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย อธิบายว่า อย่าก่อ ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย คือ อย่าก่อ อย่าให้เกิด อย่าให้เกิดขึ้น อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดขึ้นซึ่งความพอใจ ความรัก ความใคร่ ความชอบใจ รวมความว่า อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี พระภาค จึงตรัสว่า @เชิงอรรถ :- @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๒ @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว นรชนเห็นโทษนี้แล้ว ก็อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา [๑๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) นักปราชญ์ พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ ติเตียนกรรมใดด้วยตน ก็ไม่ทำกรรมนั้น ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว คำว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน อธิบายว่า คำว่า ส่วนสุด ได้แก่ ผัสสะ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นส่วน สุดอีกด้านหนึ่ง อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง สุขเวทนา เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ความถือตัวเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งความถือ ตัวเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัด ด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยาก ด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจ ความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำ คือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่ ความยึดถือด้วยอำนาจความใคร่ กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย คำว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน ได้แก่ พึงกำจัด คือ ขจัด ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน รวมความว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผัสสะต่างๆ
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ อธิบายว่า คำว่า ผัสสะ๑- ได้แก่ จักขุสัมผัส(สัมผัสทางตา) โสตสัมผัส(สัมผัสทางหู) ฆานสัมผัส(สัมผัสทางจมูก) ชิวหาสัมผัส(สัมผัสทางลิ้น) กายสัมผัส(สัมผัสทางกาย) มโนสัมผัส(สัมผัสทางใจ) อธิวจนสัมผัส(สัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร) ปฏิฆสัมผัส (สัมผัสแห่งการกระทบใจ) สุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา) ทุกข- เวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา) อทุกขมสุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุขเวทนา) ผัสสะที่เป็นกุศล ผัสสะที่เป็นอกุศล ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต ผัสสะที่เป็นกามาวจร ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร สุญญตผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ผัสสะที่ เป็นอดีต ผัสสะที่เป็นอนาคต ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่ ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ผัสสะ
ว่าด้วยปริญญา ๓
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว อธิบายว่า กำหนดรู้ผัสสะด้วยปริญญา ๓ คือ (๑) ญาตปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นรู้จัก) (๒) ตีรณปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นพิจารณา) (๓) ปหานปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นละ) ญาตปริญญา เป็นอย่างไร คือ นักปราชญ์รู้จักผัสสะ คือ รู้ เห็นว่า “นี้จักขุสัมผัส นี้โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้ผัสสะเป็น ที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข- เวทนา นี้ผัสสะที่เป็นกุศล นี้ผัสสะที่เป็นอกุศล นี้ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต นี้ผัสสะที่ @เชิงอรรถ : @ ผัสสะ หมายถึงความสัมผัสอารมณ์ที่มากระทบ เช่น ตากระทบกับรูป หรือตาเห็นรูป เรียกว่า จักขุสัมผัส @เป็นต้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

เป็นกามาวจร นี้ผัสสะที่เป็นรูปาวจร นี้ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร นี้สุญญตผัสสะ นี้อนิมิตตผัสสะ นี้อัปปณิหิตผัสสะ นี้ผัสสะที่เป็นโลกิยะ นี้ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ นี้ผัสสะที่เป็นอดีต นี้ผัสสะที่เป็นอนาคต นี้ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน” นี้ชื่อว่าญาตปริญญา ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร คือ นักปราชญ์ทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาผัสสะ คือ พิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น(บังคับไม่ได้) เป็นของทรุดโทรม เป็นเสนียด เป็นอุปัททวะ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ต้านทาน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นของมีโทษ เป็นของแปรผันไปเป็น ธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นเหตุแห่งความลำบาก เป็นดุจเพชฌฆาต เป็น ของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของที่ถูกเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็น เหยื่อแห่งมาร มีชาติ(ความเกิด)เป็นธรรมดา มีชรา(ความแก่)เป็นธรรมดา มีพยาธิ(ความเจ็บป่วย)เป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)เป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้ หาความแช่มชื่นไม่ได้ เป็นโทษ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา ปหานปริญญา เป็นอย่างไร คือ นักปราชญ์ครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในผัสสะ สมจริงดังที่พระ ผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในผัสสะทั้งหลายเสีย ผัสสะนั้น เธอทั้งหลายละได้เด็ดขาดแล้วอย่างนี้ ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้” นี้ชื่อว่าปหานปริญญา คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ได้แก่ กำหนดรู้ผัสสะด้วยปริญญา ๓ อย่าง เหล่านี้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่ติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่ ความ กำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ๑- ความติดใจนี้ ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นเรียกว่า ผู้ไม่ติดใจ ผู้นั้นไม่ติดใจ คือ ไม่ยินดี ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูป...เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ตระกูล ... หมู่คณะ ... อาวาส ... ลาภ ... ยศ ... สรรเสริญ ... สุข ... จีวร ... บิณฑบาต ... เสนาสนะ ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ... กามธาตุ ... รูปธาตุ ... อรูปธาตุ ... กามภพ ... รูปภพ ... อรูปภพ ... สัญญาภพ ... อสัญญาภพ ... เนวสัญญานาสัญญาภพ ... เอกโวการภพ ... จตุโวการภพ ... ปัญจโวการภพ ...อดีต ... อนาคต ... ปัจจุบัน ... รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้ คลายความติดใจแล้ว ปราศจากความติดใจแล้ว สละความติดใจแล้ว คายความติดใจ แล้ว ปล่อยความติดใจแล้ว ละความติดใจแล้ว สลัดทิ้งความติดใจแล้ว คือเป็นผู้ คลายความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อย ราคะแล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะแล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้วก็ไม่ติดใจ คำว่า ใด ในคำว่า ติเตียนกรรมใดด้วยตนก็ไม่ทำกรรมนั้น ได้แก่ กรรมใด คำว่า ติเตียน (กรรม)ใดด้วยตน อธิบายว่า นักปราชญ์ติเตียนตนเพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ (๑) เพราะทำ (๒) เพราะไม่ทำ นักปราชญ์ติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างไร คือ นักปราชญ์ย่อมติเตียนตนว่า เราทำกายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต เราทำวจี ทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต ไม่ทำมโนสุจริต คือ นักปราชญ์ย่อมติเตียน ตนว่า เราทำปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต เราทำ อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน เราทำกาเมสุมิจฉา- จาร(ประพฤติผิดในกาม) ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำมุสาวาท @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๓/๑๐-๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

(การพูดเท็จ) ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา(การพูดส่อเสียด) ไม่ทำความงดเว้น จากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) ไม่ทำ ความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ) ไม่ทำความงดเว้น จากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) ไม่ทำอนภิชฌา เรา ทำพยาบาท(ความคิดปองร้าย) ไม่ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ นักปราชญ์ชื่อว่าติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้ อีกนัยหนึ่ง นักปราชญ์ย่อมติเตียนตนว่า เราไม่รักษาศีลให้บริบูรณ์ ไม่สำรวม ในอินทรีย์ทั้ง ๖ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่อง ตื่นอยู่เสมอ ไม่หมั่นประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ ไม่เจริญ สัมมัปปธาน ๔ ไม่เจริญอิทธิบาท ๔ ไม่เจริญอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญพละ ๕ ไม่เจริญ โพชฌงค์ ๗ ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญ มรรค ไม่ทำให้แจ้งนิโรธ นักปราชญ์ชื่อว่าติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้ นักปราชญ์ไม่ทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่ง กรรมที่ติเตียนตน ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า นักปราชญ์ติเตียนกรรมใดด้วย ตนก็ไม่ทำกรรมนั้น คำว่า นักปราชญ์ ... ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว อธิบายว่า คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความ ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า นักปราชญ์ ได้แก่ นักปราชญ์ คือ ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้มีปัญญา เครื่องตรัสรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส นักปราชญ์ละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ได้แล้ว ไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว @เชิงอรรถ : @ เทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็น อิสระ(จากความติด)อยู่ รวมความว่า นักปราชญ์ ... ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและ ได้ยินแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นักปราชญ์ พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ ติเตียนกรรมใดด้วยตน ก็ไม่ทำกรรมนั้น ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว [๑๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้ามโอฆะได้ ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้ อธิบายว่า คำว่า สัญญา ได้แก่ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เนกขัมม- สัญญา อัพยาบาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่าสัญญา คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ได้แก่ กำหนดรู้สัญญา ด้วยปริญญา ๓ อย่าง คือ (๑) ญาตปริญญา (๒) ตีรณปริญญา (๓) ปหานปริญญา ญาตปริญญา เป็นอย่างไร คือ มุนีรู้จักสัญญา คือรู้ เห็นว่า “นี้กามสัญญา นี้พยาบาทสัญญา นี้วิหิงสา- สัญญา นี้เนกขัมมสัญญา นี้อัพยาบาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา นี้สัททสัญญา นี้คันธสัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา” นี้ชื่อว่าญาตปริญญา ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร คือ มุนีทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาสัญญา คือ พิจารณาโดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นเสนียด เป็นอุปัททวะ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง ... เป็นเหตุเกิดทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้ หาความ แช่มชื่นไม่ได้ เป็นโทษ เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา ปหานปริญญา เป็นอย่างไร คือ มุนีครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้ ก็ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง ความไม่มีอีก ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา สมจริงดังที่พระ ผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในสัญญา สัญญานั้น เธอทั้งหลายละได้เด็ดขาดแล้วอย่างนี้ ตัดราก ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ นี้ชื่อว่าปหานปริญญา คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ได้แก่ กำหนดรู้สัญญาด้วยปริญญา ๓ อย่าง เหล่านี้แล้ว คำว่า พึงข้ามโอฆะได้ อธิบายว่า พึงข้าม คือ ข้ามไป ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย กาโมฆะ(ห้วงน้ำคือกาม) ภโวฆะ(ห้วงน้ำคือภพ) ทิฏโฐฆะ(ห้วงน้ำคือทิฏฐิ) อวิชโชฆะ(ห้วงน้ำคืออวิชชา) รวมความว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้ คำว่า มุนี ... ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย อธิบายว่า คำว่า ความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือด้วย อำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจ ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิ๑- คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ผู้ที่ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่า มุนี คือ ผู้บรรลุโมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) ๓ ประการ คือ (๑) โมเนยยธรรมทางกาย (๒) โมเนยยธรรมทางวาจา (๓) โมเนยยธรรมทางใจ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบกับความในข้อ ๑๒/๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

โมเนยยธรรมทางกาย เป็นอย่างไร คือ การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายปริญญา(การกำหนดรู้กาย) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย มรรคที่สหรคตด้วย ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในกาย ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ความดับแห่งกายสังขาร การบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นอย่างไร คือ การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วาจาปริญญา(การกำหนดรู้วาจา) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา มรรคที่สหรคตด้วย ปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน วาจา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร การบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา โมเนยยธรรมทางใจ เป็นอย่างไร คือ การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ จิตต- ปริญญา(การกำหนดรู้จิต) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจิต ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ ความดับแห่งจิตตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่า โมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ละกิเลสทั้งปวงได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาป๑- ได้แล้ว๒- มุนีผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการเหล่านี้ มี ๖ จำพวก คือ (๑) อาคารมุนี (๒) อนาคารมุนี (๓) เสขมุนี (๔) อเสขมุนี (๕) ปัจเจกมุนี (๖) มุนิมุนี๓- อาคารมุนี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้ครองเรือน เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้ ชื่อว่าอาคารมุนี อนาคารมุนี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้เป็นบรรพชิต เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว เหล่านี้ชื่อว่าอนาคารมุนี พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสขมุนี พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่าอเสขมุนี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าปัจเจกมุนี @เชิงอรรถ : @ ล้างบาป หมายถึงล้างบาปด้วยมัคคญาณ (ขุ.ม.อ. ๑๔/๑๗๓) @ ขุ.อิติ. ๒๕/๖๗/๒๘๒, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๗ @ มุนิมุนี พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า มุนิมุนโย วุจฺจนฺติ ตถาคตาติ พระตถาคตท่านเรียกว่า มุนิมุนี @เพราะมีความหมาย ๘ อย่าง คือ @(๑) พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือเสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา @(๒) พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชา สละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าองค์ @ก่อนๆ @(๓) พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือทรงมีญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย @(๔) พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาท @(๕) พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ทั้งสัตว์โลก @เทพและพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา @(๖) พระผู้ตรัสอย่างนั้น หรือมีพระวาจาแท้จริงถูกต้องไม่เป็นอย่างอื่น @(๗) พระผู้ทำอย่างนั้น คือตรัสอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น @(๘) พระผู้เป็นยิ่ง คือทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสูด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ @ทรงอำนาจเป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือ @พรหม ไม่มีใครอาจจะวัดหรือจะทัดเทียมพระองค์ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ @(ขุ.ม.อ. ๑๔/๑๗๓-๑๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียกว่ามุนิมุนี (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่งๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่ ส่วนบุคคลผู้ฉลาด เลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่าเป็นมุนีแท้ ผู้ที่รู้โลกทั้ง ๒ ก็เรียกว่า เป็นมุนี (เช่นกัน)๑- ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ ทั้งภายในและภายนอก ในโลกทั้งปวง เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง๒- และตัณหาดุจตาข่าย๓- ได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๔- คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด ๒ อย่าง คือ (๑) ความติดด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความ ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ มุนีละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ได้แล้ว ไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย คือ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้อง แล้ว มีใจเป็นอิสระ(จากความติด)อยู่ รวมความว่า มุนีไม่เข้าไปติดในความยึดถือ ทั้งหลาย คำว่า ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ อธิบายว่า @เชิงอรรถ : @ ขุ.ธ. ๒๕/๒๖๘-๒๖๙/๖๓, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๘ @ เครื่องข้อง ๗ อย่าง คือโลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต @ ตาข่าย มี ๒ อย่างคือตัณหาและทิฏฐิ @ ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๓/๔๓๘, ขุ.จู. ๓๐/๒๑/๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

คำว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร ๗ ชนิด คือ (๑) ลูกศรคือราคะ (๒) ลูกศรคือโทสะ (๓) ลูกศรคือโมหะ (๔) ลูกศรคือมานะ (๕) ลูกศรคือทิฏฐิ (๖) ลูกศรคือโสกะ (๗) ลูกศรคือความสงสัย ลูกศรเหล่านั้นผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้ถอนลูกศรได้แล้ว คือ ถอนลูกศรออกแล้ว ดึงลูกศรขึ้นแล้ว ดึงลูกศรออกแล้ว ฉุดลูกศรออกแล้ว กระชากลูกศรออกแล้ว สละลูกศรแล้ว คายลูกศรแล้ว ปล่อย ลูกศรแล้ว ละลูกศรแล้ว สลัดทิ้งลูกศรแล้ว เป็นผู้หมดความอยาก ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า ถอนลูกศรได้แล้ว คำว่า ประพฤติอยู่ ได้แก่ ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป
ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่ประมาท อธิบายว่า ผู้ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความ ตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงทำสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดย อุบายอย่างไร” ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ... ว่าเราพึงทำสมาธิขันธ์ ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสมาธิขันธ์ที่ บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบายอย่างไรดังนี้ ... ว่าเราพึงทำปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส

นั้นๆ โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ... ว่าเราพึงทำวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาวิมุตติขันธ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบาย อย่างไร ดังนี้ ... คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า เราพึงทำวิมุตติญาณทัสสน- ขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาวิมุตติ- ญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้นๆ โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทใน กุศลธรรมทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนืองๆ ด้วยคิดว่า “เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้ กำหนดรู้ พึงละกิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้แจ้ง นิโรธที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร”ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม ทั้งหลาย รวมความว่า ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า อธิบายว่า ไม่หวังโลกนี้ คืออัตภาพ ของตน ไม่หวังโลกหน้า คืออัตภาพของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณของตน ไม่หวังโลกหน้า คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คืออายตนะภายใน ๖ ไม่หวังโลกหน้า คืออายตนะ ภายนอก ๖ ไม่หวังโลกนี้ คือมนุษยโลก ไม่หวังโลกหน้า คือเทวโลก ไม่หวังโลกนี้ คือ กามธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คือรูปธาตุ อรูปธาตุ ไม่หวังโลกนี้ คือกามธาตุ รูปธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คืออรูปธาตุ ไม่หวัง คือ ไม่ต้องการ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังคติ การถือกำเนิด ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือ วัฏฏะต่อไป รวมความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย พึงข้ามโอฆะได้ ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๗๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๘-๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=487&Z=1310                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=30              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=29&item=30&items=40              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=45&A=2055              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=29&item=30&items=40              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=45&A=2055                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/ati/tipitaka/kn/nm/nm.2.04.olen.html



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :