ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ นิทานวัตถุ

๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๑๑
ว่าด้วยการขอผ้าห่มหนาในฤดูหนาว
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็น นักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถา สมัยนั้นในฤดูหนาว พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงผ้ากัมพลราคาแพงเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุณีถุลลนันทาชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควร เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ซึ่งภิกษุณีถุลลนันทา ชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้ตรัสกับภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า ท่านต้องการสิ่งใดก็โปรดได้บอกเถิด” ภิกษุณีถุลลนันทานั้นทูลว่า “ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์มีพระราชประสงค์ จะพระราชทาน ก็ขอได้โปรดพระราชทานผ้ากัมพลผืนนี้เถิด” ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลถวายผ้ากัมพลผืนนั้นแก่ภิกษุณีถุลลนันทา เสด็จ ลุกจากที่ประทับนั่งทรงอภิวาทภิกษุณีถุลลนันทาแล้วทำประทักษิณเสด็จจากไป พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกภิกษุณีเป็นคนมักมาก ไม่สันโดษ ไฉนจึงออกปากทูลขอผ้ากัมพลจากพระราชาเล่า” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี ผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงออกปาก ทูลขอผ้ากัมพลจากพระราชาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๑๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาออกปากทูล ขอผ้ากัมพลจากพระราชา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา จึงออกปากทูลขอผ้ากัมพลจากพระราชาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิ ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๘๔] ก็ภิกษุณีเมื่อจะขอผ้าห่มหนา พึงขอได้เพียงราคา ๔ กังสะ๑- เป็น อย่างมาก ถ้าขอเกินกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์๒-
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๘๕] ที่ชื่อว่า ผ้าห่มหนา ได้แก่ ผ้าห่มชนิดหนึ่งที่ใช้ห่มในฤดูหนาว๓- คำว่า เมื่อจะขอ คือ เมื่อจะออกปากขอ คำว่า พึงขอได้เพียงราคา ๔ กังสะ คือ พึงขอผ้าที่มีราคา ๑๖ กหาปณะได้ คำว่า ถ้าขอเกินกว่านั้น ความว่า ภิกษุณีออกปากขอผ้าราคาเกินกว่านั้น ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือ เป็นของจำต้อง สละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่ภิกษุณีรูปเดียว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ๑ กังสะ เท่ากับ ๔ กหาปณะ, ๔ กังสะ จึงเท่ากับ (๔x๔) ๑๖ กหาปณะ (กงฺขา.อ. ๓๖๒) @ หมายความว่า ภิกษุณีขอจากคนอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ แต่ถ้าขอจากสหธรรมิก ญาติและ @คนปวารณา แม้จะราคาเกิน ๔ กังสะ ก็ไม่ต้องอาบัติ (กงฺขา.อ. ๓๖๒) @ หมายถึงผ้าห่มเนื้อหนาสำหรับห่มในฤดูหนาว (สีตกาเล หิ มนุสฺสา ถูลปาวุรณํ ปารุปนฺติ -ปาจิตฺยาทิ- @โยชนา ๗๘๔/๑๕๘ ม.) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๑๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ บทภาชนีย์

วิธีสละผ้าห่มที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ผ้าห่ม หนาผืนนี้ราคาเกิน ๔ กังสะดิฉันขอมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละผ้าห่มหนาผืนนี้ แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนผ้าห่มหนาที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม วาจาว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้าห่มหนาผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้ เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนผ้าห่มหนาผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละผ้าห่มหนาผืนนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ “ฯลฯ พึงคืนผ้าห่มหนาผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละผ้าห่มหนา ผืนนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ฯลฯ “ดิฉันคืนผ้าห่มหนาผืนนี้ให้แก่แม่เจ้า”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๘๖] ผ้าห่มหนาราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ขอ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๒๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ อนาปัตติวาร

ผ้าห่มหนาราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ขอ ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ผ้าห่มหนาราคาเกิน ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่ามีราคาหย่อนกว่า ขอ ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ผ้าห่มหนาราคาหย่อนกว่า ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ ผ้าห่มหนาราคาหย่อนกว่า ๔ กังสะ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ผ้าห่มหนาราคาหย่อนกว่า ๔ กังสะ ภิกษุณีสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๘๗] ๑. ภิกษุณีขอผ้าห่มหนาราคา ๔ กังสะเป็นอย่างมาก ๒. ภิกษุณีขอผ้าห่มหนาราคาหย่อนกว่า ๔ กังสะ ๓. ภิกษุณีขอจากญาติ ๔. ภิกษุณีขอจากคนปวารณา ๕. ภิกษุณีขอเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ๖. ภิกษุณีซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน ๗. ภิกษุณีจ่ายผ้าราคาถูก แต่ทายกผู้ต้องการให้จ่ายผ้าราคาแพง ๘. ภิกษุณีวิกลจริต ๙. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๑๘-๑๒๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=26              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=2098&Z=2166                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=138              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=138&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11199              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=138&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11199                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.138 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np11/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np11/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :