ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการเรียกภิกษุณีที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเข้าหมู่
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๖๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีเป็นผู้ก่อความ บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาวถกเถียง ก่ออธิกรณ์ใน สงฆ์ เมื่อสงฆ์จะลงโทษภิกษุณีจัณฑกาลีนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาก็คัดค้าน ต่อมา ภิกษุณีถุลลนันทาเดินทางไปหมู่บ้านด้วยธุระบางอย่าง ครั้งนั้น ภิกษุณีสงฆ์ทราบว่า “ภิกษุณีถุลลนันนทาจากไปแล้ว” จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุณีจัณฑกาลีเพราะไม่ เห็นอาบัติ ครั้นภิกษุณีถุลลนันทาทำธุระในหมู่บ้านเสร็จแล้วกลับมายังกรุงสาวัตถี เมื่อภิกษุณีถุลลนันทากำลังมาภิกษุณีจัณฑกาลีไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้ง รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่เอาน้ำดื่มต้อนรับ ภิกษุณี ถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีจัณฑกาลีนั้นดังนี้ว่า “เมื่อฉันกำลังมา ไฉนเธอจึงไม่ ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่เอาน้ำดื่มต้อนรับเล่า” ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า “แม่เจ้า คนไม่มีที่พึ่งก็ทำอย่างนี้แหละ” ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า “เพราะเหตุไร เธอจึงไม่มีที่พึ่ง” ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า “แม่เจ้า ภิกษุณีเหล่านี้เข้าใจว่า ‘ดิฉันเป็นคนไม่มี ที่พึ่ง ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีใครคอยกล่าวปกป้อง’ จึงลงอุกเขปนียกรรมดิฉันเพราะไม่ เห็นอาบัติ” ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า “ภิกษุณีพวกนี้โง่เขลา ภิกษุณีพวกนี้ไม่ฉลาด ภิกษุณีพวกนี้ไม่รู้จักกรรม โทษของกรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ เรานี่แหละ รู้จักกรรมบ้าง โทษของกรรมบ้าง กรรมวิบัติบ้าง กรรมสมบัติบ้าง เรานี่แหละพึงทำ กรรมที่ยังไม่มีใครทำหรือรื้อฟื้นกรรมที่ตัดสินไปแล้วได้” จึงสั่งให้ประชุมภิกษุณีสงฆ์ ทันทีแล้วเรียกภิกษุณีจัณฑกาลีกลับเข้าหมู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ พระบัญญัติ

บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน แม่เจ้าถุลลนันทาจึงเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์๑- ไม่รับรู้ฉันทะของ คณะเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาเรียกภิกษุณี ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับ เข้าหมู่โดยไม่บอกการกสงฆ์ ไม่รับรู้ฉันทะของคณะ จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงเรียกภิกษุณีผู้ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่โดยไม่บอกการกสงฆ์ ไม่รับรู้ ฉันทะของคณะเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๙๕] ก็ภิกษุณีใดเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่โดยไม่บอกการกสงฆ์ ทั้งไม่ รับรู้ฉันทะของคณะ แม้ภิกษุณีนี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่าปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ
@เชิงอรรถ : @ “การกสงฆ์” คือสงฆ์ผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนาหรือสังฆกรรมต่างๆ ในที่นี้หมายถึง @สงฆ์ผู้ร่วมกันทำอุกเขปนียกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๖๙๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน๑- อยู่ในสมานสังวาสสีมา๒- ที่ชื่อว่า ที่...ลงอุกเขปนียกรรม คือ ถูกสงฆ์ลงโทษเพราะไม่เห็นหรือไม่ทำ คืนอาบัติ หรือเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิบาป คำว่า โดยธรรม โดยวินัย คือ โดยธรรมใด โดยวินัยใด คำว่า โดยสัตถุศาสน์ คือ โดยคำสั่งสอนของพระชินเจ้า โดยคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า คำว่า โดยไม่บอก คือ ไม่บอกสงฆ์ผู้กระทำกรรม คำว่า ไม่รับรู้ฉันทะของคณะ คือ ไม่รู้ความพอใจของคณะ ภิกษุณีคิดว่า “จะเรียกเข้าหมู่” จึงแสวงหาคณะ หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติ ทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ คำว่า ปฐมาปัตติกะ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุโดยไม่ต้อง สวดสมนุภาสน์ คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่ คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส @เชิงอรรถ : @ “มีสังวาสเสมอกัน” คือมีการทำกรรมร่วมกัน สวดอุทเทส(ปาติโมกข์)ร่วมกัน มีสิกขาเสมอกัน @(ดูข้อ ๖๕๘ หน้า ๗ ในเล่มนี้) @ “อยู่ในสมานสังวาสสีมา” อยู่ในเขตที่กำหนดไว้เป็นพิเศษสำหรับสงฆ์เพื่อเป็นสถานที่ทำสังฆกรรมร่วมกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

สังฆาทิเสสสิกขาบทท ๔ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกสังฆาทิเสส
[๖๙๗] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ เรียกเข้าหมู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง เรียกเข้าหมู่ ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๙๘] ๑. ภิกษุณีบอกสงฆ์ผู้ทำกรรมแล้วเรียกกลับเข้าหมู่ ๒. ภิกษุณีเรียกกลับเข้าหมู่ เมื่อรับรู้ฉันทะของคณะแล้ว ๓. ภิกษุณีเรียกภิกษุณีผู้ประพฤติข้อวัตรกลับเข้าหมู่ ๔. ภิกษุณีเรียกกลับเข้าหมู่ในเมื่อไม่มีการกสงฆ์ผู้ทำกรรม ๕. ภิกษุณีวิกลจริต ๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๔๑-๔๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=688&Z=764                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=47              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=47&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11059              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=47&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11059                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.047 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss4/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss4/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :