ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ

๗. คัพภินีวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สิกขมานา ผู้ไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ๑- ตลอด ๒ ปี สิกขมานาผู้บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้น โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้ นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สิกขมานา ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรง @เชิงอรรถ : @ หมายถึงอนุปสัมบันหรือสามเณรีผู้ใคร่ศึกษา แต่ยังไม่มีภิกษุณีใดให้สิกขาหรือมีสิกขาเสียไป ที่ได้ชื่อว่า @สิกขมานา เพราะศึกษาในธรรม ๖ ข้อ หรือธรรมกล่าวคือสิกขาเหล่านั้น (กงฺขา.อ. ๓๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๙๖}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ

แสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ ภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติ๑- ในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานา ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติอย่างนี้
วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้สิกขาสมมติ
สิกขมานานั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๑๐๗๘] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ขอ สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ขอสิกขาสมมติ ในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี สงฆ์ให้แก่สิกขมานาชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ [๑๐๗๙] พึงบอกสิกขมานาผู้นั้นว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้ว่า ๑. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี ๒. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ โดย ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี @เชิงอรรถ : @ สิกขาสมมติ คือข้อตกลงยินยอมร่วมกันที่จะให้สิกขมานานั้นศึกษาในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๙๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

๓. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์๑- โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี ๔. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการพูดเท็จ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี ๕. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง แห่งความประมาท โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี ๖. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล โดย ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี” พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วตรัส โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๐๘๐] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๘๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี @เชิงอรรถ : @ พฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ หมายถึงการเสพเมถุนกรรม (การร่วมสังวาส) (ขุ.ขุ.อ. ๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๙๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา คือ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือให้แล้ว แต่เธอทำขาด คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้ ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตร หรือจีวร หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๘๒] กรรมที่ทำถูกต้อง๑- ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง อาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง อาบัติทุกกฏ @เชิงอรรถ : @ กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาสวดให้สิกขาสมบัติดังกล่าวข้างต้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๙๙}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๐๘๓] ๑. ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๙๖-๓๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=91              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=4979&Z=5055                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=372              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=372&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11747              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=372&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11747                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.372 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc63/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc63/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :