ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยหลักธรรมสำคัญ
มาติกา
[๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการ ทรงจำธรรมที่ได้สดับมา) [๒] ปัญญาในการสดับธรรมแล้วสำรวมไว้ ชื่อว่าสีลมยญาณ (ญาณในการ สำรวมศีล) [๓] ปัญญาในการสำรวมจิตตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ (ญาณในการ สำรวมจิตเจริญสมาธิ) [๔] ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อว่าธัมมัฏฐิติญาณ (ญาณในการกำหนด ที่ตั้งแห่งธรรม) [๕] ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้ว กำหนดไว้ ชื่อว่าสัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดนามธรรมและรูปธรรม) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

มาติกา

[๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรผันแห่งธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน ชื่อว่าอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความเกิดและ ความดับ) [๗] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความดับ ชื่อว่าวิปัสสนา- ญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความดับ) [๘] ปัญญาในการ (เห็นสังขาร) ปรากฏโดยความเป็นภัย ชื่อว่าอาทีนวญาณ (ญาณที่คำนึงเห็นโทษ) [๙] ปัญญาที่ปรารถนาจะพ้นไป พิจารณาและดำรงมั่นอยู่ ชื่อว่าสังขารุเปกขา- ญาณ (ญาณที่เป็นกลางต่อสังขาร) [๑๐] ปัญญาในการออกและหลีกไปจากนิมิตภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร) [๑๑] ปัญญาในการออกและหลีกไปทั้งจากกิเลสขันธ์และจากนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค) [๑๒] ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่าผลญาณ (ญาณในอริยผล) [๑๓] ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติ- ญาณ (ญาณในวิมุตติ) [๑๔] ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่าปัจจเวกขณญาณ (ญาณในการพิจารณาทบทวน) [๑๕] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่างๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตตญาณ (ญาณในวัตถุต่างๆ) [๑๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่างๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ (ญาณในอารมณ์ต่างๆ) [๑๗] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ (ญาณในจริยาต่างๆ) [๑๘] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ (ญาณใน ภูมิต่างๆ) [๑๙] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ (ญาณ ในธรรมต่างๆ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

มาติกา

[๒๐] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้) [๒๑] ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา) [๒๒] ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ) [๒๓] ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว) [๒๔] ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง) [๒๕] ปัญญาในอรรถต่างๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในอรรถ) [๒๖] ปัญญาในธรรมต่างๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม) [๒๗] ปัญญาในนิรุตติต่างๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน นิรุตติ) [๒๘] ปัญญาในปฏิภาณต่างๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉาน ในปฏิภาณ) [๒๙] ปัญญาในวิหารธรรมต่างๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง วิหารธรรม) [๓๐] ปัญญาในสมาบัติต่างๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง สมาบัติ) [๓๑] ปัญญาในวิหารสมาบัติต่างๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน สภาวะแห่งวิหารสมาบัติ) [๓๒] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ (ญาณในสมาธิตามลำดับ) [๓๓] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า อรณวิหารญาณ (ญาณในอรณวิหาร) [๓๔] ปัญญาที่มีความชำนาญ ในการระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ อย่าง ชื่อว่า นิโรธสมาปัตติญาณ (ญาณในนิโรธสมาบัติ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

มาติกา

[๓๕] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ ชื่อ ว่าปรินิพพานญาณ (ญาณในปรินิพพาน) [๓๖] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบและ ดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน) [๓๗] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่างๆ สภาวะเดียวและเดช ชื่อว่า สัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถแห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา) [๓๘] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ (ญาณในการปรารภความเพียร) [๓๙] ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ (ญาณใน การเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธรรม) [๔๐] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้งสภาวะ ต่างๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าทัสสนวิสุทธิญาณ (ญาณในความหมดจด แห่งทัสสนะ) [๔๑] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ (ญาณในธรรมที่พอใจ) [๔๒] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ (ญาณในการหยั่งลงสู่ธรรม) [๔๓] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ (ญาณในวิหารธรรมส่วน หนึ่ง) [๔๔] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ (ญาณในการ หลีกออกจากอกุศลด้วยสัญญา) [๔๕] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากสภาวะต่างๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจากอกุศลด้วยการคิดถึงกุศล) [๔๖] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออก จากอกุศลด้วยกุศลที่อธิษฐาน) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

มาติกา

[๔๗] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก อกุศลด้วยความรู้) [๔๘] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก อกุศลด้วยการสละ) [๔๙] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก ภาวะที่ไม่แท้ด้วยภาวะที่แท้) [๕๐] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จ ด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน ด้วย อำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ (ญาณที่ ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้) [๕๑] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สัททนิมิตที่มีสภาวะต่างๆ และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่าโสตธาตุวิสุทธิญาณ (ญาณในความ หมดจดแห่งโสตธาตุ) [๕๒] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่างๆ และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ (ญาณที่ทำให้กำหนดใจผู้อื่นได้) [๕๓] ปัญญาในการหยั่งลงสู่ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัย ด้วยอำนาจการ แผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะต่างๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสานุสสติ- ญาณ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้) [๕๔] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่างๆ และสภาวะเดียวด้วยอำนาจ แสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุญาณ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์) [๕๕] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่า อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ) [๕๖] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ (ญาณในทุกข์) [๕๗] ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

มาติกา

[๕๘] ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ) [๕๙] ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในมรรค) [๖๐] ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์) [๖๑] ทุกขสมุทยญาณ (ญาณในเหตุเกิดทุกข์) [๖๒] ทุกขนิโรธญาณ (ญาณในความดับทุกข์) [๖๓] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณในข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์) [๖๔] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในอรรถ) [๖๕] ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม) [๖๖] นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในนิรุตติ) [๖๗] ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในปฏิภาณ) [๖๘] อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ของสัตว์ทั้งหลาย) [๖๙] อาสยานุสยญาณ (ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย) [๗๐] ยมกปฏิหาริยญาณ (ญาณในยมกปาฏิหาริย์) [๗๑] มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในมหากรุณาสมาบัติ) [๗๒] สัพพัญญุตญาณ (ญาณความรู้ในธรรมทั้งปวง) [๗๓] อนาวรณญาณ (ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น) ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ประการ ในญาณทั้ง ๗๓ ประการนี้ ญาณ ๖๗ ประการ (เบื้องต้น) เป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ญาณ ๖ ประการ (เบื้องปลาย) เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก (เฉพาะพระตถาคตเท่านั้น)
มาติกา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑-๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=1&Z=94              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=0&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=0&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :