ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
แสดงสมาธิภาวนามยญาณ
[๔๓] ปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ เป็นอย่างไร คือ สมาธิ ๑ อย่าง ได้แก่ เอกัคคตาจิต สมาธิ ๒ อย่าง ได้แก่ ๑. โลกิยสมาธิ ๒. โลกุตตรสมาธิ สมาธิ ๓ อย่าง ได้แก่ ๑. สมาธิที่มีวิตกวิจาร ๒. สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร ๓. สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร สมาธิ ๔ อย่าง ได้แก่ ๑. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความเสื่อม ๒. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ๓. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ ๔. สมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมาธิ ๕ อย่าง ได้แก่ ๑. สมาธิที่มีปีติแผ่ไป ๒. สมาธิที่มีสุขแผ่ไป ๓. สมาธิที่มีจิตแผ่ไป ๔. สมาธิที่มีแสงสว่างแผ่ไป ๕. สมาธิที่มีการพิจารณาเป็นนิมิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

สมาธิ ๖ อย่าง ได้แก่ ๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ (มีอารมณ์เดียว) ไม่ฟุ้งซ่านด้วย อำนาจแห่งพุทธานุสสติ ๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งธัมมานุสสติ ๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสังฆานุสสติ ๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งสีลานุสสติ ๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งจาคานุสสติ ๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเทวตานุสสติ สมาธิ ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. ความฉลาดในสมาธิ ๒. ความฉลาดในการเข้าสมาธิ ๓. ความฉลาดในการดำรงสมาธิ ๔. ความฉลาดในการออกจากสมาธิ ๕. ความฉลาดในการใช้สมาธิ ๖ ความฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ ๗. ความฉลาดในการนำสมาธิให้สูงๆ ขึ้นไป สมาธิ ๘ อย่าง ได้แก่ ๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปฐวีกสิณ ๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโปกสิณ ๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเตโชกสิณ ๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวาโยกสิณ ๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งนีลกสิณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปีตกสิณ ๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ ๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโอทาตกสิณ สมาธิ ๙ อย่าง ได้แก่ ๑. รูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ ๒. รูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง ๓. รูปาวจรสมาธิอย่างประณีต ๔. อรูปาวจรสมาธิอย่างต่ำ ๕. อรูปาวจรสมาธิอย่างปานกลาง ๖. อรูปาวจรสมาธิอย่างประณีต ๗. สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นความว่าง) ๘. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีนิมิต) ๙. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาเห็นธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา) สมาธิ ๑๐ อย่าง ได้แก่ ๑. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตก- สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่พองขึ้น) ๒. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวินีลกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีสีเขียว) ๓. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิปุพพกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม) ๔. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิจฉิททก- สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ขาดจากกัน) ๕. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขายิตก- สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสัตว์กัด) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

๖. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งวิกขิตตสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่กระจัดกระจาย) ๗. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งหตวิกขิตตก- สัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่ถูกสับเป็นท่อน) ๘. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีโลหิต) ๙. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งปุฬุวกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีหนอน) ๑๐. สมาธิที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอัฏฐิกสัญญา (ความหมายรู้ซากศพที่มีแต่กระดูก) สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๕ อย่าง [๔๔] อีกอย่างหนึ่ง สมาธิมีความหมาย ๒๕ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์ ๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ามีอารมณ์เดียว ๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ซ่านไป ๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ขุ่นมัว ๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่หวั่นไหว ๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าหลุดพ้นจากกิเลส สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะจิตตั้งมั่นด้วยอำนาจปรากฏชัดในเอกัคคตารมณ์ ๑๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบ ๑๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ ความสงบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๓. สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส

๑๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าแสวงหาความสงบแล้ว ๑๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่แสวงหาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ ความสงบแล้ว ๑๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบ ๑๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ ความสงบแล้ว ๑๖. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่ายึดมั่นความสงบแล้ว ๑๗. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ยึดมั่นธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ ความสงบแล้ว ๑๘. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบ ๑๙. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบ ๒๐. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติความสงบแล้ว ๒๑. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ปฏิบัติความไม่สงบแล้ว ๒๒. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบ ๒๓. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ ความสงบ ๒๔. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเพ่งความสงบแล้ว ๒๕. ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีความหมายว่าเผาธรรมที่เป็นข้าศึกแก่ความ สงบแล้ว สรุปว่า ชื่อว่าสมาธิ เพราะสงบเกื้อกูลและเป็นสุข เหล่านี้เป็นความหมายแห่ง สมาธิ ๒๕ ประการ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการสำรวมตั้งจิตมั่น ชื่อว่าสมาธิภาวนามยญาณ
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทสที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๖๕-๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=1088&Z=1129                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=92              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=92&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=5530              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=92&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=5530                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :