ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส
แสดงอาสวักขยญาณ
[๑๐๗] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่าอาสวักขยญาณ เป็นอย่างไร คือ อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง ได้แก่ ๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเรา จักรู้สัจธรรมที่ยังไม่รู้) ๒. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญาอันรู้ทั่วถึง) ๓. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์ของท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว) อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ย่อมถึงฐานะเท่าไร อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี ความน้อมไปเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส

มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลัง เป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการ นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอนัญญาตัญญัสสามี- ตินทรีย์นั้น ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งโสดาปัตติผล อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมี สหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกัน เป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทาคามิผล ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๕๕. อาสวักขยญาณนิทเทส

ในขณะแห่งอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มี ชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตมรรค ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะแห่งอรหัตตมรรค อัญญินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาต ธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการ และเป็นบริวารของอัญญินทรีย์นั้น ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมไปเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ซึ่งมีสหชาต- ธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบ ด้วยกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ รวม ๘ หมวดนี้ จึงเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้ คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๑๖๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๕๖-๖๓. สัจจญาณจตุกกทวยนิทเทส

อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้ สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง โสดาปัตติมรรคนี้ กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้ ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่าอาสวักขยญาณ
อาสวักขยญาณนิทเทสที่ ๕๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๑๖๕-๑๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=53              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=2907&Z=2969                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=258              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=258&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=8828              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=258&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=8828                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :