ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

๙. พลกถา
ว่าด้วยพละ
[๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ (พละคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (พละคือวิริยะ) ๓. สติพละ (พละคือสติ) ๔. สมาธิพละ (พละคือสมาธิ) ๕. ปัญญาพละ (พละคือปัญญา) อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ สังคหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสสริยพละ อธิษฐานพละ สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ ขีณาสวพละ ๑๐ อิทธิพละ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐ สัทธาพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็น ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะ ตรัสรู้สัจจะ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล (บุคคลผู้กระทำ) ตั้งอยู่ เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ (๑) วิริยพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะครอบงำกิเลส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

ทั้งหลาย ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นความหมดจดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็น ความผ่องแผ้วแห่งจิต ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องบรรลุธรรมวิเศษ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะรู้แจ้งธรรมที่ยิ่ง ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะตรัสรู้ สัจจะ ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็น วิริยพละ (๒) สติพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าสติพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ เพราะ มีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะให้การกบุคคล ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ (๓) สมาธิพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะให้การก- บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ (๔) ปัญญาพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะให้ การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ (๕) หิริพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายถีนมิทธะด้วย อาโลกสัญญา ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายวิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอวิชชา ด้วยญาณ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าหิริพละ เพราะ ละอายนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าหิริพละ เพราะละอายกิเลสทั้งปวงด้วย อรหัตตมรรค นี้เป็นหิริพละ (๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะ เกรงกลัวถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวอุทธัจจะ ด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัววิจิกิจฉาด้วยธัมมววัตถาน ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวอวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัว อรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตตมรรค นี้เป็นโอตตัปปพละ (๗) ปฏิสังขานพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า ปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาพยาบาทด้วยอพยาบาท ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณา อุทธัจจะด้วยอวิกเขปะ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาวิจิกิจฉาด้วยธัมม- ววัตถาน ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณาอวิชชาด้วยญาณ ชื่อว่าปฏิสังขาน- พละเพราะพิจารณาอรติด้วยปามุชชะ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณานิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งปวงด้วย อรหัตตมรรค นี้เป็นปฏิสังขานพละ (๘) ภาวนาพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญ เนกขัมมะ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาทย่อมเจริญ อพยาบาท ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะย่อมเจริญ อาโลกสัญญา ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอุทธัจจะย่อมเจริญ อวิกเขปะ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละวิจิกิจฉาย่อมเจริญ ธัมมววัตถาน ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอวิชชาย่อมเจริญญาณ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละอรติย่อมเจริญปามุชชะ ชื่อว่า ภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละนิวรณ์ย่อมเจริญปฐมฌาน ฯลฯ ชื่อว่า ภาวนาพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวงย่อมเจริญอรหัตตมรรค นี้เป็นภาวนาพละ (๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

อนวัชชพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละ กามฉันทะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอพยาบาทไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะ ละพยาบาทได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอาโลกสัญญาไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละถีนมิทธะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอวิกเขปะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในธัมมววัตถานไม่มีโทษแม้น้อย หนึ่ง เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในญาณไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในปามุชชะไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละอรติได้แล้ว ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในปฐมฌานไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง เพราะละนิวรณ์ได้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะในอรหัตตมรรคไม่มีโทษ แม้น้อยหนึ่ง เพราะละกิเลสทั้งปวงได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ (๑๐) สังคหพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมรวมจิตไว้ด้วย อำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท ย่อมรวมจิต ไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อม รวมจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าสังคหพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมรวมจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็นสังคหพละ (๑๑) ขันติพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะย่อมอดทน เพราะละกามฉันทะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะอพยาบาทย่อมอดทน เพราะละพยาบาทได้แล้ว ชื่อว่า ขันติพละ เพราะอาโลกสัญญาย่อมอดทน เพราะละถีนมิทธะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะอวิกเขปะย่อมอดทน เพราะละอุทธัจจะได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะ ธัมมววัตถานย่อมอดทน เพราะละวิจิกิจฉาได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะญาณ ย่อมอดทน เพราะละอวิชชาได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะปามุชชะย่อมอดทน เพราะละอรติได้แล้ว ชื่อว่าขันติพละ เพราะปฐมฌานย่อมอดทน เพราะละนิวรณ์ ได้แล้ว ฯลฯ ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรหัตตมรรคย่อมอดทน เพราะละกิเลสทั้งปวง ได้แล้ว นี้เป็นขันติพละ (๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

ปัญญัตติพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ ถีนมิทธะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะ พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น ปัญญัตติพละ (๑๓) นิชฌัตติพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิต ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ ถีนมิทธะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะ พระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น นิชฌัตติพละ (๑๔) อิสสริยพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิต ให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจร เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่า อิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละถีนมิทธะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจ ด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละ กิเลสทั้งปวง ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็น อิสสริยพละ (๑๕) อธิษฐานพละ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิต ด้วยอำนาจเนกขัมมะ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละพยาบาท ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอพยาบาท ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอาโลกสัญญา ฯลฯ ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะพระโยคาวจรเมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมอธิษฐานจิตด้วยอำนาจอรหัตตมรรค นี้เป็นอธิษฐานพละ (๑๖) สมถพละ เป็นอย่างไร คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจเนกขัมมะ เป็น สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอพยาบาท เป็น สมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจอาโลกสัญญา เป็น สมถพละ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละ คำว่า สมถพละ อธิบายว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ในปีติด้วยตติยฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขและทุกข์ด้วยจตุตถ- ฌาน ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอากาสานัญ- จายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ในวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ชื่อว่าสมถพละ เพราะ จิตไม่หวั่นไหวในอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ชื่อ ว่าสมถพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและเพราะขันธ์ นี้เป็นสมถพละ (๑๗) วิปัสสนาพละ เป็นอย่างไร คือ อนิจจานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาในรูปเป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในรูปเป็น วิปัสสนาพละ อนิจจานุปัสสนาในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักขุ ฯลฯ อนิจจานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนาในชราและมรณะเป็นวิปัสสนาพละ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาในชราและ มรณะเป็นวิปัสสนาพละ คำว่า วิปัสสนาพละ อธิบายว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะมีความหมายว่า อย่างไร คือ ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุ- ปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในนันทิด้วยนิพพิทานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวในราคะด้วยวิราคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่ หวั่นไหวในสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหวใน อาทานะด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะจิตไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่เอนเอียง เพราะอวิชชา เพราะกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและ เพราะขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ (๑๘) เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า อเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาทิฏฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาสังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ ศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษา สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯลฯ สัมมาญาณ๑- ฯลฯ สัมมาวิมุตติ๒- ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตตินั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ นี้แล (๑๙-๒๐) (=๓๘) @เชิงอรรถ : @ สัมมาญาณ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๖๗) @ สัมมาวิมุตติ หมายถึงธรรมที่ประกอบด้วยผลเว้นมรรคมีองค์ ๘ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

ขีณาสวพละ ๑๐ เป็นอย่างไร คือ สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น สภาวะไม่เที่ยง ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรม ที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาชอบตาม ความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยัน ความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๑) กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วย ปัญญาชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ ภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะ ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๒) จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ใน วิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ว่างจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการ ทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความ สิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” (๓) สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่ง ภิกษุขีณาสพได้อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเรา สิ้นแล้ว” (๔) สัมมัปปธาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรม ที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้ อาศัยแล้วยืนยันความสิ้นอาสวะว่า “อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว” นี้ก็เป็นกำลัง ของภิกษุขีณาสพ ๑๐ (๕-๑๐) (=๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

อิทธิพละ ๑๐ อะไรบ้าง คือ ๑. ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๒. ฤทธิ์ที่แสดงได้ต่างๆ ๓. ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๔. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๕. ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๖. ฤทธิ์ของพระอริยะ ๗. ฤทธิ์ที่เกิดจากผลกรรม ๘. ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๙. ฤทธิ์ที่สำเร็จมาจากวิชชา ๑๐. ชื่อว่าฤทธิ์ เพราะมีสภาวะสำเร็จด้วยการประกอบโดยชอบในส่วน นั้นๆ เป็นปัจจัย นี้อิทธิพละ ๑๐ (๑๐) (=๕๘) ตถาคตพละ ๑๐ อะไรบ้าง คือ ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะ๑- โดยความเป็นอฐานะใน โลกนี้ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยความเป็นฐานะและอฐานะโดย ความเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้ว ยืนยันฐานะที่องอาจบันลือสีหนาท๒- ประกาศพรหมจักรในบริษัท๓- (๑) ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรม ที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็น กำลังของตถาคต ฯลฯ (๒) @เชิงอรรถ : @ ฐานะและอฐานะ ได้แก่ การณะและอการณะ (เหตุและสิ่งมิใช่เหตุ) (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๐) @ บันลือสีหนาท หมายถึงคำพูดที่ตรัสด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใดเพราะทรงมั่น @พระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๑/๔๐๓/๔๓๒) @ บริษัท ในที่นี้หมายถึงกลุ่มของบุคคลหลายสถานะที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อต้องการจะฟังพระ @ธรรมเทศนามี ๘ กลุ่ม คือขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท จาตุมหาราชิกา- @บริษัท ดาวดึงสบริษัท มารบริษัท และพรหมบริษัท (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๑, ม.มู. ๑๒/๑๕๑/๑๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด ปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๓) ตถาคตรู้ชัดโลกธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง การที่ ตถาคตรู้ชัดโลกธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลัง ของตถาคต ฯลฯ (๔) ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง การที่ตถาคต รู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๕) ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและมีอินทรีย์อ่อน ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่นและบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่ กล้าและมีอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๖) ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ สมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๗) ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ การที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๘) ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ การที่ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติและกำลังเกิดด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ นี้เป็นกำลังของตถาคต ฯลฯ (๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๙. พลกถา

ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน๓- การที่ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้า ถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัยแล้วยืนยันฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท นี้ตถาคตพละ ๑๐ (๑๐) (=๖๘) [๔๕] ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมี สภาวะอย่างไร ชื่อว่าสติพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมี สภาวะอย่างไร ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าหิริพละ เพราะมี สภาวะอย่างไร ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร ฯลฯ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะมีสภาวะอย่างไร คือ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่า วิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะ มีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่น ไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่า หิริพละ เพราะละอายบาปอกุศลธรรม ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะเกรงกลัวบาป- อกุศลธรรม ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะพิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่า ภาวนาพละ เพราะธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่า อนวัชชพละ เพราะในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษแม้น้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคหพละ เพราะ พระโยคาวจรรวมจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะเนกขัมมะ เป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะพระ โยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะพระโยคาวจร ย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอิสสริยพละ เพราะพระโยคาวจรย่อม @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงผลสมาธิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลปัญญา (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒/๘๔) @ ในปัจจุบัน หมายถึงในอัตภาพนี้ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๔/๒๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑๐. สุญญกถา

บังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะ พระโยคาวจรย่อมอธิษฐานจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าสมถพละ เพราะจิต เป็นเอกัคคตารมณ์ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะพระ โยคาวจรย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระ เสขะยังต้องศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะ ศึกษาในสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น๑- ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะฤทธิ์ย่อมสำเร็จด้วยการ อธิษฐานเป็นต้นด้วยการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ เป็นปัจจัย ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะมีสภาวะมีกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้
พลกถา จบ
๑๐. สุญญกถา
ว่าด้วยความว่าง
[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เขากล่าวกันว่า ‘โลกว่าง โลกว่าง’ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระองค์จึงตรัสว่า ‘โลกว่าง” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เพราะว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่อง ด้วยอัตตา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘โลกว่าง’ อานนท์ อะไรเล่าว่างจากอัตตาและ จากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา คือ จักขุเป็นธรรมว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วย อัตตา รูปว่างจากอัตตาและจากสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา จักขุวิญญาณเป็นธรรมว่าง @เชิงอรรถ : @ ความเห็นด้วยดี ในที่นี้หมายถึงญาณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ (ขุ.ป.อ. ๒/๔๕/๒๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๕๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๕๑๓-๕๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=78              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=9299&Z=9513                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=621              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=621&items=12              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=5990              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=621&items=12              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=5990                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :