ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๔. ยัญญสามิกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระยัญญสามิกเถระ
(พระยัญญสามิกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑๗] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบ เป็นผู้จบมนตร์ ได้ดำรงวงศ์ตระกูล ได้ตระเตรียมพิธีบูชายัญ [๑๘] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าจะฆ่าสัตว์เลี้ยง ๘๔,๐๐๐ ตัว จึงให้คนจับผูกไว้ที่หลักไม้แก่น ตระเตรียมเพื่อจะบูชายัญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๔๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค]

๔. ยัญญสามิกเถราปทาน

[๑๙] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้มีพระรัศมีเรืองรองดุจถ่านไม้ตะเคียน กระทบที่ปากเบ้า เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย (และ) เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ [๒๐] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ให้สำเร็จประโยชน์ทุกอย่าง ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลอันไตรโลกบูชา เสด็จเข้ามาหาแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า [๒๑] กุมาร เราพอใจการไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง การงดเว้นจากการลักขโมย จากการประพฤตินอกใจ และจากการดื่มน้ำเมา [๒๒] คือความยินดีในการประพฤติสม่ำเสมอ ความเป็นพหูสูต และความเป็นผู้กตัญญู ธรรมเหล่านี้บัณฑิตก็สรรเสริญทั้งในปัจจุบันและอนาคต [๒๓] ท่านเจริญธรรมเหล่านี้ ยินดีในความเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้ว จงเจริญมรรคที่สูงสุดเถิด [๒๔] พระสัพพัญญูผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน ครั้นตรัสดังนี้ ทรงพร่ำสอนข้าพเจ้าอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่อากาศ [๒๕] ข้าพเจ้าชำระจิตให้บริสุทธิ์ก่อนแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใสในภายหลัง ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ไปเกิดยังสวรรค์ชั้นดุสิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๔๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค]

๕. นิมิตตสัญญกเถราปทาน

[๒๖] ในกัปที่ ๙๔ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งความทรงจำในพระพุทธเจ้า [๒๗] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระยัญญสามิกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ยัญญสามิกเถราปทานที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๔๘๕-๔๘๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=32&siri=326              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=6664&Z=6687                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=326              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=32&item=326&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=32&item=326&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap326/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :