ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระนิคคุณฑิปุปผิยเถระ
(พระนิคคุณฑิปุปผิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๓๙] ในกาลใด เทวดาจะจุติจากหมู่เทพเพราะสิ้นอายุ ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดี ย่อมเปล่งเสียง ๓ ประการว่า [๔๐] ท่านผู้เจริญ ท่านจากที่นี้จงไปสู่สุคติ สู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับมนุษย์ เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอย่างยอดเยี่ยมในพระสัทธรรม [๔๑] ศรัทธาของท่านพึงตั้งมั่นดำรงอยู่ เป็นมูลไว้ เป็นที่พึ่ง อย่าคลอนแคลนในพระสัทธรรม ที่พระอริยะประกาศไว้ดีแล้วจนตลอดชีวิต [๔๒] จงทำกุศลที่ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีอุปธิทางกาย ทางวาจา ทางใจ ให้มากเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๔๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค]

๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน

[๔๓] จงทำบุญให้ยิ่งไปกว่านั้นให้มากด้วยการให้ทาน จงชักชวนผู้อื่นให้ตั้งมั่นในพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นพระสัทธรรมอย่างประเสริฐ [๔๔] ด้วยความอนุเคราะห์นี้ ในกาลใด เหล่าเทวดาผู้รู้แจ้ง พลอยยินดีกับท่านผู้ประเสริฐซึ่งกำลังจุติว่า ท่านเทวดา ขอท่านจงมาบ่อยๆ นะ [๔๕] ในกาลนั้น เมื่อหมู่เทวดามาประชุมกัน ข้าพเจ้าเกิดความสลดใจว่า เราจุติจากที่นี้แล้วจักไปเกิดยังกำเนิดอะไรหนอ [๔๖] พระสมณะผู้อบรมอินทรีย์แล้ว รู้ความสังเวชของข้าพเจ้า ท่านประสงค์จะช่วยเหลือข้าพเจ้า จึงมายังสำนักของข้าพเจ้า [๔๗] ท่านมีนามว่าสุมนะ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ พร่ำสอนอรรถธรรม ให้ข้าพเจ้าสลดใจ ในครั้งนั้น
ภาณวารที่ ๑๒ จบ
[๔๘] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของท่านแล้ว ทำจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า อภิวาทท่านผู้เป็นนักปราชญ์แล้ว ก็สิ้นชีวิตลงในที่นั้น [๔๙] ข้าพเจ้านั้น อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว ได้อุบัติ ณ ที่นั้นเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๔๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค]

๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน

ตนเมื่ออยู่ในครรภ์มารดา ก็อยู่ในครรภ์ของมารดาคนเดิม [๕๐] ข้าพเจ้าจุติจากกายนั้นแล้ว ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในระหว่างนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นความโทมนัสในครั้งนั้นเลย [๕๑] ข้าพเจ้าจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว ลงสู่ครรภ์มารดา ออกจากครรภ์มารดา(คลอด)แล้ว ไม่รู้จักทุกข์อะไรๆ เลย [๕๒] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบ ได้เข้าไปยังอาราม ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโคดมศากยบุตร ผู้คงที่ [๕๓] ได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดา ในปาพจน์อย่างกว้างขวาง ในศาสนาที่ชนจำนวนมากนับถือ [๕๔] กรุงชื่อว่าสาวัตถี พระเจ้าโกศลทรงเป็นใหญ่ในกรุงนั้น พระองค์เสด็จไปยังต้นโพธิ์ที่ประเสริฐด้วยรถซึ่งเทียมด้วยม้า [๕๕] ข้าพเจ้าเห็นพาหนะประเสริฐของพระเจ้าโกศลนั้นแล้ว ระลึกถึงบุพกรรม จึงได้ประนมมือไปยังที่ประชุม [๕๖] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบ ก็ได้บวชเป็นบรรพชิต พระสาวกชื่ออานนท์ เป็นอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า [๕๗] ท่านมีคติ มีธิติ มีสติ เป็นพหูสูต๑- มีความรุ่งเรืองมาก ได้ถวายพระธรรมเทศนาทำพระหฤทัยของพระราชาให้ทรงเลื่อมใส @เชิงอรรถ : @ มีคติ ในที่นี้หมายถึงมีหลักการทรงจำพุทธพจน์ได้หมดทุกบทที่พระองค์ทรงแสดงให้ฟังในแต่ละครั้งได้หมดทุกข์บท @มีธิติ ในที่นี้หมายถึงเพียรเรียน เพียรสาธยาย เพียรทรงจำ @มีสติ ในที่นี้หมายถึงสามารถจำพระพุทธพจน์ได้เป็นเลิศ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๔๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๓๓. อุมาปุปผิยวรรค]

๗. นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน

[๕๘] ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมของท่านพระอานนท์แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมยืนอยู่ในที่นั้นเอง ก็ได้บรรลุอรหัตตผล [๕๙] ข้าพเจ้าห่มจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้า ถวายอภิวาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เปล่งวาจานี้ [๖๐] ข้าพเจ้าถือดอกย่านทรายไปวางที่พระแท่นสีหาสน์ ของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้คงที่ [๖๑] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นจอมแห่งเทวดาและมนุษย์ ผู้เจริญที่สุดในโลก ทรงองอาจกว่านรชน ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความชนะและความพ่ายแพ้ได้แล้ว บรรลุฐานะที่ไม่หวั่นไหว [๖๒] ในกัปที่ ๒๕,๐๐๐ (นับจากกัปนี้ไป) ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ชาติ มีอายุมากมายหลายอัพพุทะและนิรัพพุทะ [๖๓] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระนิคคุณฑิปุปผิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทานที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @เป็นพหูสูต ในที่นี้หมายถึงได้เรียนพุทธพจน์โดยตรงจากพระผู้มีพระภาค ตั้งอยู่ในฐานะ “ขุนคลังปริยัติ” @ในศาสนาของพระทศพล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๒๓/๒๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๒ หน้า : ๔๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๔๘๙-๔๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=32&siri=329              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=6717&Z=6763                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=329              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=32&item=329&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5212              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=32&item=329&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5212                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap329/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :