ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระอัมพปาลีเถรี
(พระอัมพปาลีเถรี เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๒๐๔] หม่อมฉันเกิดในตระกูลกษัตริย์ เป็นพระภคินีของพระมหามุนีพระนามว่าผุสสะ ผู้มีพระรัศมีงาม รุ่งเรืองดุจเทริด [๒๐๕] หม่อมฉันได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว มีจิตผ่องใส ได้ถวายมหาทานแล้ว ปรารถนารูปสมบัติ [๒๐๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป พระชินเจ้าพระนามว่าสิขี ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ทรงส่องโลกให้สว่างไสว ทรงเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกในไตรโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค]

๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน

[๒๐๗] ครั้งนั้น หม่อมฉันเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงอรุณที่น่ารื่นรมย์ โกรธแล้ว สาปแช่งภิกษุณีรูปหนึ่งผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วว่า [๒๐๘] ‘ท่านเป็นหญิงแพศยา ประพฤติอนาจาร ประทุษร้ายพระศาสนาของพระชินเจ้า’ ครั้นด่าอย่างนี้แล้ว เพราะกรรมชั่วที่ทำไว้นั้น [๒๐๙] หม่อมฉันต้องตกนรกที่ร้ายกาจ เพียบด้วยมหันตทุกข์ เคลื่อนจากนรกนั้นแล้ว มาเกิดในหมู่มนุษย์ ก็มีความเดือดร้อนเป็นประจำ [๒๑๐] ครองตำแหน่งหญิงแพศยาอยู่ถึง ๑๐,๐๐๐ ชาติ ก็ยังไม่พ้นจากบาปกรรมนั้น เปรียบเหมือนคนที่กลืนกินยาพิษอย่างร้ายแรง [๒๑๑] หม่อมฉันได้ออกบวชเป็นภิกษุณี มีเพศประเสริฐในศาสนาของพระชินเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะผลแห่งกรรมนั้น [๒๑๒] เมื่อถึงภพสุดท้าย หม่อมฉันเกิดเป็นโอปปาติกะ๑- ที่ระหว่างกิ่งต้นมะม่วง จึงมีชื่อว่าอัมพปาลี ตามนิมิตหมายนั้น [๒๑๓] หม่อมฉันมีประชาชนหลายโกฏิ แห่ห้อมล้อมมาบวชในศาสนาของพระชินเจ้า เป็นลูกหญิงแห่งพระพุทธเจ้า บรรลุถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกะ หมายถึงสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น @เทวดา และสัตว์นรกเป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๔. ขัตติยกัญญาวรรค]

๙. อัมพปาลีเถริยาปทาน

[๒๑๔] ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์ ในทิพพโสตธาตุ และมีความชำนาญในเจโตปริยญาณ [๒๑๕] รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุ หม่อมฉันก็ชำระให้หมดจดแล้ว อาสวะทั้งปวงก็สิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก [๒๑๖] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ และปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ของหม่อมฉัน บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด [๒๑๗] กิเลสทั้งหลายหม่อมฉันก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงหม่อมฉันก็ถอนได้แล้ว หม่อมฉันตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๒๑๘] การที่หม่อมฉันมาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด เป็นการมาที่ดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ หม่อมฉันได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๒๑๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า พระอัมพปาลีภิกษุณีได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
อัมพปาลีเถริยาปทานที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๕๔๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๕๔๗-๕๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=33&siri=190              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=6582&Z=6615                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=179              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=179&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=179&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thi-ap39/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :