ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๙. ชยทิสจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าชัยทิศ
[๗๔] ในกรุงที่ประเสริฐชื่อกัปปิลา เป็นนครที่อุดมในแคว้นปัญจาละ ได้มีพระราชาพระนามว่าชัยทิศ ประกอบด้วยคุณคือศีล [๗๕] เราเป็นโอรสของพระราชาพระองค์นั้น มีธรรมอันสดับแล้ว มีศีลดีงาม มีนามว่าอลีนสัตตกุมาร มีคุณสงเคราะห์บริวารชนทุกเมื่อ [๗๖] พระราชบิดาของเราเสด็จล่าเนื้อ ได้เข้าใกล้พระยาโปริสาท พระยาโปริสาทนั้นได้จับพระราชบิดาของเราแล้วกล่าวว่า ท่านเป็นอาหารของเรา อย่าดิ้นรนไปเลย [๗๗] พระราชบิดาของเราทรงสดับคำของพระยาโปริสาทนั้น ตกพระทัย สะดุ้งหวาดหวั่น มีพระเพลาแข็ง๑- เพราะทอดพระเนตรเห็นพระยาโปริสาท [๗๘] พระยาโปริสาทรับเอาเนื้อแล้วปล่อยไปโดยบังคับให้กลับมาอีก พระราชบิดาพระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์แล้วตรัสเรียกเรามาว่า [๗๙] ลูกเอ๋ย จงปกครองราชสมบัติ อย่าประมาทปกครองนครนี้ พระยาโปริสาทบังคับพ่อให้กลับไปหาอีก [๘๐] เราไหว้พระราชมารดาและพระราชบิดาแล้ว ตกแต่งร่างกาย สะพายธนู เหน็บพระแสงขรรค์ ออกไปหาพระยาโปริสาท(เราคิดว่า) @เชิงอรรถ : @ พระเพลาแข็ง หมายถึงขาแข็งไม่สามารถจะหนีไปได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๗๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก [๒. หัตถินาควรรค]

๑๐. สังขปาลจริยา

[๘๑] พระยาโปริสาทเห็นเรามีอาวุธถืออยู่ในมือ บางทีจักสะดุ้งกลัว แต่เพราะเมื่อเราทำความสะดุ้งกลัวต่อพระยาโปริสาท ศีลของเราจะขาด [๘๒] เพราะเรากลัวศีลจะขาด จึงไม่กล่าววาจาน่ารังเกียจ แก่พระยาโปริสาทนั้น เรามีเมตตาจิตกล่าวคำที่เป็นประโยชน์ว่า [๘๓] “ท่านจงก่อไฟกองใหญ่ขึ้น เราจักโดดจากต้นไม้เข้ากองไฟ ท่านปู่ ท่านรู้เวลาว่า เราสุกดีแล้วจงกินเถิด” [๘๔] เราไม่ได้รักษาชีวิตของเราเพราะเหตุแห่งพระราชบิดาผู้ทรงศีล และเราได้ให้พระยาโปริสาทผู้ฆ่าสัตว์เป็นปกติทุกเมื่อนั้น บวชแล้ว ฉะนี้แล
ชยทิสจริยาที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๗๕๕-๗๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=33&siri=238              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=9109&Z=9133                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=227              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=227&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=52&A=4292              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=227&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=52&A=4292                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :