ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปุฬินถูปิยเถระ
(พระปุฬินถูปิยเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๕๗] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมพานต์ มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อยมกะ ข้าพเจ้าได้สร้างอาศรม และบรรณศาลาไว้อย่างดี [๕๘] ข้าพเจ้าเป็นชฎิลผู้มีตบะแก่กล้า มีชื่อว่านารทะ ศิษย์ประมาณ ๑๔,๐๐๐ คน บำรุงข้าพเจ้าอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค]

๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน

[๕๙] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้หลีกเร้นอยู่ จึงคิดอย่างนี้ว่า มหาชนบูชาเรา แต่เราไม่ได้บูชาอะไรเลย [๖๐] ผู้ที่จะสั่งสอนเราก็ไม่มี ใครๆ ที่จะตักเตือนเราก็ไม่มี เราไม่มีอุปัชฌาย์อาจารย์อาศัยอยู่ในป่า [๖๑] ศิษย์ผู้ภักดีควรทำจิตให้หนักแน่น บำรุงอาจารย์ใด อาจารย์นั้นของเราก็ไม่มี การอยู่ในป่าจึงไม่มีประโยชน์ [๖๒] สิ่งที่ควรบูชาเราควรแสวงหา สิ่งที่ควรเคารพยกย่องเราก็ควรแสวงหาเหมือนกัน เราจักชื่อว่าอยู่อย่างมีที่พึ่ง ใครๆ จักติเตียนไม่ได้ [๖๓] แม่น้ำซึ่งมีฝั่งลาด มีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ และเกลื่อนกล่นไปด้วยทรายที่บริสุทธิ์สะอาด อาศรมของข้าพเจ้าก็อยู่ไม่ไกล [๖๔] ครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้ไปยังแม่น้ำชื่ออมริกา แล้วโกยทรายมาก่อเป็นพระเจดีย์ทราย ข้าพเจ้าได้ทำพระเจดีย์ทรายนั้นให้เป็นนิมิตว่า [๖๕] พระสถูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นมุนี ผู้ทำลายที่สุดแห่งภพ ที่ได้มีแล้วก็เป็นเช่นนี้ [๖๖] ครั้นแล้ว ได้สร้างพระสถูปทองคำไว้ที่หาดทราย แล้วใช้ดอกกระดิ่งทองจำนวน ๓,๐๐๐ ดอกบูชา [๖๗] ข้าพเจ้ามีความอิ่มใจ ประนมมือนมัสการทุกเช้าเย็น ไหว้พระเจดีย์ทราย เหมือนไหว้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในที่เฉพาะพระพักตร์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค]

๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน

[๖๘] ในเวลาที่กิเลสหรือกามวิตกที่อาศัยความรักเกิดขึ้น ข้าพเจ้าระลึกถึงและเพ่งดูพระสถูปที่ข้าพเจ้าก่อไว้ [๖๙] ข้าพเจ้าอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้นำหมู่สัตว์(ออกจากที่กันดาร) ผู้ทรงเป็นผู้นำวิเศษ อยู่ด้วยการตักเตือนตนเองว่า ควรระวังกิเลสไว้นะท่านผู้นิรทุกข์ การให้กิเลสเกิดขึ้นนี้เป็นของไม่สมควรแก่ท่าน [๗๐] เมื่อข้าพเจ้าระลึกถึงพระสถูป ย่อมเกิดความเคารพขึ้นพร้อมกัน ในขณะนั้น ข้าพเจ้าบรรเทาอกุศลวิตกเสียได้ เหมือนช้างถูกปฏักแทง บรรเทาได้แล้ว [๗๑] ข้าพเจ้าประพฤติอยู่อย่างนี้ ได้ถูกมัจจุราชย่ำยี สิ้นชีวิตที่นั้นแล้ว ได้ไปเกิดยังพรหมโลก [๗๒] ข้าพเจ้าอยู่ในพรหมโลกนั้นจนหมดอายุขัย มาเกิดยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นจอมเทพ ได้ครองเทวสมบัติตลอด ๘๐ ชาติ [๗๓] ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๐๐ ชาติ และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับชาติไม่ถ้วน [๗๔] ข้าพเจ้าได้เสวยผลของดอกกระดิ่งทองเหล่านั้น ดอกกระดิ่งทองจำนวน ๒๒,๐๐๐ ดอก แวดล้อมข้าพเจ้าไปทุกภพ [๗๕] เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บำรุงพระสถูป ฝุ่นละอองย่อมไม่ติดกายข้าพเจ้า ที่กายของข้าพเจ้าเหงื่อไม่ไหล ข้าพเจ้ามีรัศมีซ่านออก [๗๖] โอหนอ พระสถูปข้าพเจ้าได้สร้างไว้ดีแล้ว แม่น้ำอมริกาข้าพเจ้าได้เห็นดีแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค]

๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน

เพราะได้ก่อพระสถูปทราย ข้าพเจ้าจึงได้บรรลุบทที่ไม่หวั่นไหว [๗๗] สัตว์ผู้ปรารถนาจะทำกุศล ชื่อว่ายึดถือสิ่งที่เป็นสาระ เขตหรืออเขตไม่สำคัญ การปฏิบัติเท่านั้นเป็นสิ่งสำคัญ [๗๘] บุรุษผู้มีกำลัง มีความอุตสาหะที่จะข้ามทะเลใหญ่ พึงถือท่อนไม้เล็กๆ แล้ววิ่งลงทะเลใหญ่ด้วยคิดว่า [๗๙] เราอาศัยท่อนไม้นี้แล้วจักข้ามทะเลใหญ่ไปได้ นรชนพึงข้ามทะเลใหญ่ไปได้ด้วยอุตสาหวิริยะ แม้ฉันใด [๘๐] ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ได้กระทำไว้แล้วจึงข้ามพ้นสงสารไปได้ [๘๑] เมื่อถึงภพสุดท้าย ข้าพเจ้าถูกกุศลมูลตักเตือนแล้ว เกิดในตระกูลพราหมณมหาศาลที่มั่งคั่งในกรุงสาวัตถี [๘๒] มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นผู้มีศรัทธา นับถือพระพุทธเจ้า ท่านทั้ง ๒ นั้นเห็นธรรมแล้วและได้ฟังธรรมแล้ว ประพฤติตนตามคำสอน [๘๓] ท่านทั้ง ๒ ถือสะเก็ดไม้โพธิ์ให้สร้างเป็นพระสถูปทอง นมัสการในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระศากยบุตร ทุกเช้าเย็น [๘๔] ในวันอุโบสถ ท่านทั้ง ๒ นำพระสถูปทองออกมาแล้ว กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ ให้เวลาผ่านไปตลอด ๓ ยาม (ด้วยการปฏิบัติธรรม) [๘๕] ข้าพเจ้าได้เห็นพระสถูปทองเสมอ จึงระลึกถึงเจดีย์ทรายขึ้นได้ นั่งบนอาสนะเดียวได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว
ภาณวารที่ ๒๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค]

๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน

[๘๖] เมื่อข้าพเจ้าแสวงหาพระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์อยู่นั้น ได้เห็นพระธรรมเสนาบดี(สารีบุตร) จึงออกบวชในสำนักของท่าน [๘๗] ข้าพเจ้ามีอายุ ๗ ขวบก็ได้บรรลุอรหัตตผล พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ ทรงทราบคุณวิเศษ จึงให้ข้าพเจ้าอุปสมบท [๘๘] กิจที่ควรกระทำ ข้าพเจ้าผู้ยังเป็นเด็กอยู่ ให้สำเร็จแล้ว วันนี้ กิจที่ควรทำในศาสนาของพระศากยบุตร ข้าพเจ้าก็ได้ทำเสร็จแล้ว [๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก สาวกของพระองค์เป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัยทุกอย่าง ล่วงพ้นกิเลสเป็นเครื่องข้อง๑- ทั้งปวง เป็นฤาษี นี้เป็นผลของการสร้างพระสถูปทอง [๙๐] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๙๑] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว @เชิงอรรถ : @ กิเลสเป็นเครื่องข้อง หมายถึงกิเลสเป็นเครื่องข้องมีราคะเป็นต้น (ขุ.เถร.อ. ๒/๑๐๒๕/๔๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค]

๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน

[๙๒] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระปุฬินถูปิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปุฬินถูปิยเถราปทานที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑๗๕-๑๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=33&siri=88              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=2007&Z=2068                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=88              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=88&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=88&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap500/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :