ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระปิยาลผลทายกเถระ
(พระปิยาลผลทายกเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๑๐๔] เมื่อชาติก่อน ข้าพเจ้าเป็นนายพรานเนื้อ ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค]

๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน

ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีคือกิเลส ทรงถึงความสำเร็จแห่งธรรมทั้งปวง [๑๐๕] ข้าพเจ้าเลื่อมใสได้นำผลมะหาด ไปถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ผู้เป็นเนื้อนาบุญ ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้ง ๒ ของตน [๑๐๖] ในกัปที่ ๓๑ นับจากกัปนี้ไป ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้ไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ [๑๐๗] กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าก็เผาได้แล้ว ภพทั้งปวงข้าพเจ้าก็ถอนได้แล้ว ข้าพเจ้าตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้แล้วอยู่อย่างผู้ไม่มีอาสวะ ดุจพญาช้างตัดเครื่องพันธนาการได้แล้วอยู่อย่างอิสระ [๑๐๘] การที่ข้าพเจ้ามาในสำนักของพระพุทธเจ้า เป็นการมาดีแล้วโดยแท้ วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว [๑๐๙] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทำสำเร็จแล้ว ดังนี้แล ได้ทราบว่า ท่านพระปิยาลผลทายกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
ปิยาลผลทายกเถราปทานที่ ๑๐ จบ
กิงกณิปุปผวรรคที่ ๕๐ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน [๕๐. กิงกณิปุปผวรรค]

รวมวรรคทั้ง ๑๐ ศีล

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้คือ
๑. ตีณิกิงกณิปุปผิยเถราปทาน ๒. ปังสุกูลปูชกเถราปทาน ๓. โกรัณฑปุปผิยเถราปทาน ๔. กิงสุกปุปผิยเถราปทาน ๕. อุปัฑฒทุสสทายกเถราปทาน ๖. ฆฏมัณฑทายกเถราปทาน ๗. อุทกทายกเถราปทาน ๘. ปุฬินถูปิยเถราปทาน ๙. นฬกุฏิกทายกเถราปทาน ๑๐. ปิยาลผลทายกเถราปทาน ในวรรคนี้ บัณฑิตนับคาถาได้ ๑๐๙ คาถา
รวมวรรคทั้ง ๑๐ คือ
๑. เมตเตยยวรรค ๒. ภัททาลิวรรค ๓. สกิงสัมมัชชกวรรค ๔. เอกวิหาริวรรค ๕. วิเภทกิวรรค ๖. ชคติทายกวรรค ๗. สาลกุสุมิยวรรค ๘. นฬมาลิวรรค ๙. ปังสุกูลวรรค ๑๐. กิงกณิปุปผวรรค บัณฑิตนับคาถาได้ ๑,๔๘๒ คาถา ๑๐ วรรคมีเมตเตยยวรรคเป็นต้น
๕๐๐ อปทาน จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า : ๑๘๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ หน้าที่ ๑๘๑-๑๘๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=33&siri=90              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=2086&Z=2114                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=90              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=33&item=90&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=33&item=90&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu33              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap502/en/walters



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :