ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปาวจรกุศล

๒. อภิธรรมภาชนีย์
๑. รูปาวจรกุศล
ฌานจตุกกนัย
[๖๒๓] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) ๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) ๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) [๖๒๔] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑) ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒) ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยฌาน (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๑. รูปาวจรกุศล

จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ฌานจตุกกนัย จบ
ฌานปัญจกนัย
[๖๒๕] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมี องค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกามและสภาวธรรม ที่เป็นอกุศลทั้งหลาย บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยฌาน (๒) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป แล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๓) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อ ว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. โลกุตตรกุศล

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๕)
ฌานปัญจกนัย จบ
๒. อรูปาวจรกุศล
[๖๒๖] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยเนวสัญญา- นาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
๓. โลกุตตรกุศล
ฌานจตุกกนัย
[๖๒๗] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน [๖๒๘] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๓. โลกุตตรกุศล

ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒) ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุ ตติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่า สัมปยุตด้วยฌาน (๓) จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุจตุตถฌานที่เป็นทุกขา- ปฏิปทาทันธาภิญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัย ใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔)
ฌานจตุกกนัย จบ
ฌานปัญจกนัย
[๖๒๙] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจาก วัฏฏทุกข์ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๔. รูปาวจรวิบาก

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกามและสภาวธรรมที่เป็น อกุศลทั้งหลายแล้ว บรรลุทุติยฌานที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจาก วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๒) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๓) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะปีติจางคลายไป ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรม ที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๔) ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น บรรลุปัญจมฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทา- ทันธาภิญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ใน สมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน (๕)
ฌานปัญจกนัย จบ
๔. รูปาวจรวิบาก
[๖๓๐] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๕. อรูปาวจรวิบาก

[๖๓๑] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ ปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็น วิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป แล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวี- กสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมรูปาวจรกุศลกรรมนั้น นั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
๕. อรูปาวจรวิบาก
[๖๓๒] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญมรรคเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ที่สหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและ ทุกข์ได้ ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้สั่งสมอรูปาวจรกุศลกรรมนั้นนั่นแหละ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๖. โลกุตตรวิบาก

อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
๖. โลกุตตรวิบาก
[๖๓๓] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน [๖๓๔] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทา- ทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญฌานที่เป็นโลกุตตระซึ่งเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ให้ ถึงนิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌานที่เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล ... เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌาน ที่เป็นสุญญตะ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ซึ่งเป็นวิบาก เพราะได้ทำได้เจริญ ฌานที่เป็นโลกุตตรกุศลนั้นนั่นแหละ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๒. ฌานวิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์ ๗. รูปารูปาวจรกิริยา

๗. รูปารูปาวจรกิริยา
[๖๓๕] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน [๖๓๖] บรรดาฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ จตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน [๖๓๗] ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญอรูปาวจรฌานที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่ เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา ก็เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน สภาวธรรมที่เหลือชื่อว่าสัมปยุตด้วยฌาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๔๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๔๑๓-๔๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=8549&Z=8888                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=710              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=710&items=27              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9436              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=710&items=27              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9436                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb12/en/thittila#pts-s622



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :