ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๖. โอปัมมสังสันทนะ
ว่าด้วยการเทียบเคียงโดยข้ออุปมา
[๒๘] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูป กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับ บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดใน ตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ หยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอม รับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๒๙] สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ สก. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

สก. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้ บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้ บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำ ขัดแย้งใด ในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับวิญญาณจึงเป็นคนละ อย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๓๐] สก. ท่านหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจ หยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๓๑] สก. ท่านหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจ หยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๓๒] สก. ท่านหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๓๓] สก. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจ หยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ สก. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้ บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้ง ใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึง เป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณกับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้วิญญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) วิญญาณ กับสังขารจึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ หยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า วิญญาณกับบุคคลเป็นคน ละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๓๔] สก. ท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ มนายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๓๕] สก. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ หยั่งรู้ ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๓๖] สก. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ หยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ ฯลฯ สก. ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละ อย่างกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ท่านจงรับนิคคหะ ดังต่อไปนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

หากท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้ โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่าง กัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้ อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้า หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้น ของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับ อัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ หยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้น นั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญิน- ทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้ อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับ บุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๓๗] ปร. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ปร. รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำ ขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละ อย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้า หยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) รูปกับเวทนาจึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ เกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด ฯลฯ [๓๘] ปร. ท่านหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๓๙] ปร. ท่านหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูปได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

[๔๐] ปร. ท่านหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้สังขาร ฯลฯ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๔๑] ปร. ท่านหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้วิญญาณ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญาได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๔๒] ปร. ท่านหยั่งรู้วิญญาณได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้รูป ฯลฯ ดุจหยั่งรู้เวทนา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สัญญา ฯลฯ ดุจหยั่งรู้สังขารได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๔๓] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตายตนะ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขายตนะ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ มนายตนะได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๔๔] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตธาตุได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ หยั่งรู้ธัมมธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุธาตุ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้มโนวิญญาณธาตุได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ [๔๕] ปร. ท่านหยั่งรู้จักขุนทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ ดุจหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้โสตินทรีย์ ฯลฯ ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้จักขุนทรีย์ ฯลฯ สก. ท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์เป็นคนละอย่างกันใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม สก. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๑. ปุคคลกถา

ปร. อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ปร. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้ หากท่านหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่” และท่านหยั่งรู้ อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “อัญญาตา- วินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้ อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็น คนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตา- วินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของท่านผิด อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจ หยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตาวินทรีย์กับอัญญินทรีย์ จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง มีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัด แย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดย สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดุจหยั่งรู้อัญญินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ (ดังนั้น) อัญญาตา- วินทรีย์กับอัญญินทรีย์จึงเป็นคนละอย่างกัน พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘บุคคลผู้ ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองมีอยู่’ และข้าพเจ้าหยั่งรู้อัญญาตาวินทรีย์ได้โดยสัจฉิกัฏฐ- ปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า อัญญาตาวินทรีย์กับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน” คำนั้นของ ท่านผิด ฯลฯ
โอปัมมสังสันทนะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๒๒-๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=397&Z=587                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=26              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=26&items=24              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3116              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=26&items=24              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3116                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.1/en/aung-rhysdavids#pts-cs1.1.130



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :