ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๓. อนันตราปยุตตกถา (๑๒๘)
ว่าด้วยบุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม
[๖๖๐] ปร.๑- บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๒- ได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พึงก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยาม๓- และสัมมัตตนิยามทั้ง ๒ ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. กรรมที่ใช้ให้ทำนั้นก่อความรำคาญใจให้ ให้เกิดความเดือดร้อนใจมิใช่หรือ สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ ซึ่งมีความเห็นว่า ผู้ที่ใช้ให้คนอื่นทำอนันตริยกรรม เช่น ฆ่า @มารดา ฆ่าบิดา เป็นต้น ถึงจะไม่ใช่ผู้ทำอนันตริยกรรมโดยตรง แต่ก็ต้องถือว่ารับผลของอนันตริยกรรม @แน่นอน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ถ้าผู้ถูกใช้ให้ทำ ไม่ทำตรงตามที่สั่งให้ทำ ผู้สั่งไม่ต้อง @รับโทษของอนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๐-๖๖๒/๒๖๗-๒๖๘) @ สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙) @ มิจฉัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๓. อนันตราปยุตตกถา (๑๒๘)

ปร. หากกรรมที่ใช้ให้ทำนั้นก่อความรำคาญใจให้ ให้เกิดความเดือดร้อนใจได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้” [๖๖๑] สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิด ประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความ รำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เขาปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เขาล้มเลิกกรรมนั้น บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจ แล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากเขาล้มเลิมกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความ เดือดร้อนใจได้แล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมล้ม เลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๓. เตรสมวรรค]

๔. นิยตัสสนิยามกถา (๑๒๙)

[๖๖๒] ปร. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เขาเป็นผู้ใช้ให้ทำกรรมนั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากเขาเป็นผู้ใช้ให้ทำกรรมนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม”
อนันตราปยุตตกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๑๓-๗๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=146              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=15527&Z=15572                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1518              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1518&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6023              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1518&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6023                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv13.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :