ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)
ว่าด้วยอัพยากฤต
[๗๐๖] สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต๑- ใช่ไหม ปร.๒- ใช่ สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา เป็นรูป เป็น นิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ คำว่า อัพยากฤต มี ๒ ความหมาย คือ ๑. อัพยากฤตที่มีความหมายว่าไม่ให้ผล ได้แก่ อัพยากฤต ๔ อย่าง @คือ (๑) วิปากอัพยากฤต (๒) กิริยาอัพยากฤต (๓) รูปอัพยากฤต (๔) นิพพานอัพยากฤต (ตามแนวพระ @อภิธรรม) ๒. อัพยากฤตที่มีความหมายว่าไม่พยากรณ์ เช่น การไม่พยากรณ์ว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง เป็นต้น @(ตามแนวพระสูตร) ในที่นี้ปรวาทีใช้คำว่าอัพยากฤต ในความหมายตามแนวพระสูตร ส่วนสกวาทีใช้ @ความหมายตามแนวพระอภิธรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๖/๒๗๗) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๖/๒๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)

สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เวทนาที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตที่ สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผัสสะที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐิเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เวทนาที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตที่ สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐิเป็นอกุศลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๐๗] สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทิฏฐิไม่มีผลไม่มีวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทิฏฐิมีผลมีวิบากมิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)

สก. หากทิฏฐิมีผลมีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง”๑- มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากโทษทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ มิจฉาทิฏฐิแลเป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๓๑๐/๔๑ @ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๙๔/๒๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๘. อัพยากตกถา (๑๔๓)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุณณะ เรากล่าวว่าคติของคนผู้ เป็นมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” [๗๐๘] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “วัจฉะ คำว่า โลกเที่ยง นี้เราไม่ พยากรณ์๒- คำว่า โลกไม่เที่ยง นี้เราไม่พยากรณ์ คำว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ คำว่า โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ คำว่า ชีวะ๓- กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ฯลฯ คำว่า ชีวะกับ สรีระเป็นคนละอย่างกัน ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคต๔- เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายไป ตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก ฯลฯ คำว่า หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เราไม่พยากรณ์”๕- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ทิฏฐิจึงเป็นอัพยากฤต สก. ทิฏฐิเป็นอัพยากฤตใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๗๙/๗๖-๗๗ @ คำนี้ แปลมาจากคำว่า อพฺยากต หรือ อพฺยากฺฤต ในภาษาสันสกฤต @ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะหรืออาตมัน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙), @ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๓๙-๔๑ @ คำว่า ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ใช่ @หมายถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่าหมายถึงสัตว์ (ที.สี.อ. ๑๕/๑๐๘, ม.ม.อ. ๒/๑๒๒/๑๐๕) @ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๘๗-๑๘๙/๒๑๙-๒๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๔. จุททสมวรรค]

๙. อปริยาปันนกถา (๑๔๔)

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่ถือ ปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ ทิฏฐิ ฯลฯ มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความ ปรารถนา ความตั้งใจและสังขารทั้งหลายของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ธรรมทั้งหมด นั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นอัพยากฤต”
อัพยากตกถา จบ
๙. อปริยาปันนกถา (๑๔๔)
ว่าด้วยธรรมที่ไม่นับเนื่อง(ในโลกิยะ)
[๗๐๙] สก. ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่องใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. ทิฏฐิเป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๑๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ทิฏฐิเป็นธรรมที่ไม่นับเนื่อง” ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๓๐๖/๓๙ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๙/๒๗๗-๒๗๘) @ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานเรียกว่าผู้ละกามราคะได้ แต่ไม่เรียกว่าผู้ละทิฏฐิได้ ดังนั้น ทิฏฐิ @จึงไม่นับเนื่องในโลกิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๐๙/๒๗๗-๒๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๕๕-๗๕๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=161              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=16367&Z=16443                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1586              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1586&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6248              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1586&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6248                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv14.8/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :