ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)

๑๕. ปัณณรสมวรรค
๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)
ว่าด้วยความเป็นปัจจัย
[๗๑๑] สก. ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. วิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดีมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิมังสาเป็นเหตุและเป็นอธิบดี ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาเป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย” สก. ฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากฉันทาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย” [๗๑๒] สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย” @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๑-๗๑๗/๒๗๘) @ เพราะมีความเห็นว่า สภาวธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัย(ชื่อปัจจัยหนึ่งในปัจจัย ๒๔ ดูในคัมภีร์ปัฏฐาน) @สภาวธรรมเหล่านั้นก็ต้องเป็นเหตุปัจจัยเท่านั้น จะเป็นปัจจัยอื่นไม่ได้ กล่าวคือในธรรมหนึ่งๆ จะต้องมี @ปัจจยสัตติ(แรงหรือพลังของปัจจัย)เดียวเท่านั้น เกินกว่านั้นไม่มี ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @สภาวธรรมหนึ่งมีปัจจัยได้หลายปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๑-๗๑๗/๒๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)

สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทรียปัจจัย” สก. วิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิริยาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย” [๗๑๓] สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย” สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหารมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอาหาร ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหาร- ปัจจัย” สก. จิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)

สก. หากจิตตาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น ท่าน จึงควรยอมรับว่า “จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย” [๗๑๔] สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรม ดังนั้น ท่านจึงควรยอม รับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย” สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นอินทรีย์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อินทรียปัจจัย” สก. วิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรคมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากวิมังสาธิบดีเป็นอธิบดีแห่งสหชาตธรรมและเป็นองค์แห่งมรรค ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคค- ปัจจัย” [๗๑๕] สก. สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา๑- ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้ว เกิดขึ้นและทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์มิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ สภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา หมายถึงกามาวจรกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ ๔ มหากิริยาจิตที่ @สัมปยุตด้วยญาณ ๔ (วิภาวินี. ปริจเฉทที่ ๙ ข้อ ๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๒. อัญญมัญญปัจจยกถา (๑๔๖)

สก. หากสภาวธรรมที่เป็นเครื่องพิจารณา ทำอริยธรรมให้หนักแน่นแล้วเกิดขึ้น และทำอริยธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่ เป็นเครื่องพิจารณาเป็นปัจจัยโดยอธิปติปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย” [๗๑๖] สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลังๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นกุศลหลังๆ และสภาวธรรมที่เป็นกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลก่อนๆ เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย” สก. สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลังๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ สภาวธรรมที่เป็นอกุศลหลังๆ และสภาวธรรมที่เป็นอกุศลนั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอกุศลก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย” สก. สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลังๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต นั้นเป็นอาเสวนะมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตก่อนๆ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย แก่สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤตหลังๆ และสภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต นั้นเป็นอาเสวนะ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกิริยาอัพยากฤต เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๖๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๑. ปัจจยตากถา (๑๔๕)

[๗๑๗] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เป็นปัจจัยโดยเหตุปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัยก็ได้ เป็น ปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยก็ได้ เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัยก็ได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ความเป็นปัจจัยมีจำกัดไว้”
ปัจจยตากถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๖๑-๗๖๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=163              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=16463&Z=16556                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1596              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1596&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6268              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1596&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6268                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv15.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :