ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๔. ขณลยมุหุตตกถา (๑๔๘)
ว่าด้วยขณะ ลยะ และมุหุตตะ
[๗๒๒] สก. ขณะหนึ่ง๒- เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว ลยะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว มุหุตตะหนึ่งก็เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม ปร.๓- ใช่ สก. เป็นรูปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๓] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “มุหุตตะหนึ่งเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้ กถาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐ @ ขณะหนึ่ง หมายถึงชั่วระยะเวลาดีดนิ้วมือ ๑๐ ครั้ง, ๑๐ ขณะเป็น ๑ ลยะ, ๑๐ ลยะเป็น ๑ ขณลยะ, @๑๐ ขณลยะเป็น ๑ มุหุตตะ, ๑๐ มุหุตตะ เป็น ๑ ขณมุหุตตะ (อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๖๖-๖๗) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๑๘-๗๑๙/๒๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑๕. ปัณณรสมวรรค]

๕. อาสวกถา (๑๔๙)

๑. ควรกล่าวถ้อยคำย้อนอดีตกาลว่า อดีตกาลได้มีมาแล้วอย่างนี้ ๒. ควรกล่าวถ้อยคำมุ่งถึงอนาคตกาลว่า อนาคตกาลจักมีอย่างนี้ ๓. ควรกล่าวถ้อยคำสืบเนื่องกับปัจจุบันกาลว่า ปัจจุบันกาลมีอยู่ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ ประการนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ขณะหนึ่งจึงเป็นสภาวะสำเร็จแล้ว
ขณลยมุหุตตกถา จบ
๕. อาสวกถา (๑๔๙)
ว่าด้วยอาสวะ
[๗๒๔] สก. อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. เป็นมรรค ผล นิพพาน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ โพชฌงค์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๗๒๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อาสวะ ๔ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ” ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๘/๒๗๐ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๔/๒๘๐) @ เพราะมีความเห็นว่า อาสวะมี ๔ อย่างเท่านั้น ไม่อาจเป็นอารมณ์ของอาสวะได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๒๔/๒๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๗๗๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๗๗๐-๗๗๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=166              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=16668&Z=16692                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1617              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1617&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6302              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1617&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6302                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv15.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :