ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)

๒๐. วีสติมวรรค
๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)
ว่าด้วยความไม่จงใจ
[๘๕๗] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำปาณาติบาตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลไม่จงใจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯลฯ พูดเท็จ ชื่อว่าเป็น ผู้พูดเท็จใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลไม่จงใจฆ่าสัตว์ ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำปาณาติบาตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลไม่จงใจถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ฯลฯ ไม่จงใจพูดเท็จ ชื่อว่าไม่เป็นผู้พูดเท็จใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๗/๓๐๙-๓๑๐) @ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุแห่งอนันตริยกรรม (บิดา มารดา พระอรหันต์ พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์) เป็น @สิ่งล้ำเลิศและยิ่งใหญ่ เมื่อบุคคลทำลายวัตถุเหล่านั้น แม้โดยไม่ได้ตั้งใจก็เป็นอนันตริยกรรมได้ ซึ่งต่างกับ @ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า การกระทำทุกอย่างที่จะจัดเป็นกรรมต้องประกอบด้วยเจตนา หากไม่ @ประกอบด้วยเจตนา ไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๕๗/๓๐๙-๓๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)

สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าไม่เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๕๘] สก. บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย- กรรม” มีอยู่จริงหรือ ปร. ไม่มี สก. พระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย- กรรม” มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระสูตรที่ว่า “บุคคลจงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย- กรรม” มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลไม่จงใจปลงชีวิตมารดา ชื่อว่า เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” [๘๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย- กรรม” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เขาปลงชีวิตมารดาแล้วมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากเขาปลงชีวิตมารดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ ฆ่ามารดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เขาปลงชีวิตบิดาแล้วมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากเขาปลงชีวิตบิดาแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าบิดา ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)

ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย- กรรม” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้วมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากเขาปลงชีวิตพระอรหันต์แล้ว ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคล ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่า เป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้วมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากเขาทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อแล้ว ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า “บุคคลผู้ทำร้ายพระตถาคตจนถึงพระโลหิตห้อ ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริย- กรรม” [๘๖๐] สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่า เป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๑. อสัญจิจจกถา (๑๙๔)

[๘๖๑] สก. บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม จึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อุบาลี บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้ แตกกันเป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ มีอยู่ บุคคลผู้ทำลาย สงฆ์ให้แตกกัน ไม่เป็นผู้เข้าถึงอบาย ไม่เข้าถึงนรกตลอดกัป ไม่ใช่ผู้แก้ไขไม่ได้” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรม ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” [๘๖๒] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้มีความสำคัญว่าชอบธรรมจึงทำลาย สงฆ์ให้แตกกัน ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป พลาดจากนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
อสัญจิจจกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๖๕๗ หน้า ๗๑๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๙๒-๘๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=212              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=19164&Z=19259                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1809              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1809&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6971              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1809&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6971                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv20.1/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :