ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๒. ญาณกถา (๑๙๕)

๒. ญาณกถา (๑๙๕)
ว่าด้วยญาณ
[๘๖๓] สก. ญาณ๑- ไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม ปร.๒- ใช่ สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ๓- ไม่มีแก่ ปุถุชนใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ ของปุถุชนมีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ฯลฯ ความเข้าไปกำหนด จำเพาะของปุถุชนมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน” [๘๖๔] สก. ญาณไม่มีแก่ปุถุชนใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากปุถุชนเข้าปฐมฌานได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน” @เชิงอรรถ : @ ญาณ โดยทั่วไปมี ๒ อย่าง คือ (๑) โลกิยญาณ ได้แก่ ญาณในสมาบัติและกัมมัสสกตาญาณ @(๒) โลกุตตรญาณ ได้แก่ มัคคญาณและผลญาณ ในที่นี้ปรวาทีหมายเอาโลกุตตรญาณเท่านั้น @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๓/๓๑๑) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายเหตุวาท (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๓/๓๑๑) @ ตั้งแต่คำว่า ปัญญา จนถึง ความเข้าไปกำหนดจำเพาะ นี้ล้วนเป็นไวพจน์ของญาณทั้งนั้น @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๓/๓๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)

สก. ปุถุชนเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน ฯลฯ อากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ วิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ พึงให้ทาน ฯลฯ จีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากปุถุชนให้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ญาณไม่มีแก่ปุถุชน” [๘๖๕] ปร. ญาณของปุถุชนมีอยู่ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ปุถุชนกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคได้ ด้วย ญาณนั้นใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ญาณกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๙๖-๘๙๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=213              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=19260&Z=19291                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1814              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1814&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6995              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1814&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6995                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv20.2/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :