ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)
ว่าด้วยนายนิรยบาล
[๘๖๖] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. เครื่องสำหรับลงอาญาไม่มีในนรกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๖/๓๑๑) @ เพราะมีความเห็นว่า ในนรก นายนิรยบาลที่เป็นบุคคลไม่มี กรรมของสัตว์นรกนั้นเองเป็นนายนิรยบาล @ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า มีนายนิรยบาลที่เป็นบุคคลเกิดจากกุศลกรรมและอกุศลกรรม @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๖/๓๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)

สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์และผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรกและผู้ลงอาญาก็มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในนรก แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เครื่องสำหรับลงอาญามีอยู่ในมนุษย์ แต่ผู้ลงอาญาไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๘๖๗] ปร. นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ท้าวเวสสภู๑- ท้าวเปตติราช๒- ท้าวโสมะไม่ได้ฆ่า ท้าวยมะ และท้าวเวสวัณก็ไม่ได้ฆ่า กรรมของตนเองฆ่าบุคคลผู้สิ้นบุญจากโลกนี้ เกิดในปรโลกในนรกนั้น” มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงไม่มีในนรก @เชิงอรรถ : @ คำว่า ท้าวเวสสภู เป็นชื่อของเทพองค์หนึ่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๗/๓๑๑) @ คำว่า ท้าวเปตติราช เป็นเทพผู้มีฤทธิ์มากกว่าเปรตในเปตวิสัย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๗/๓๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๓. นิรยปาลกถา (๑๙๖)

[๘๖๘] สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาลทำ กรรมกรณ์ (เครื่องสำหรับลงอาญา)ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอกตะปู เหล็กแดงที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนากล้า อย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงมีอยู่ในนรก สก. นายนิรยบาลไม่มีในนรกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย นายนิรยบาล ฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก นายนิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอา มีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียมรถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลว โชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขา เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงไปในโลหกุมภีอันร้อนแดง ลุกเป็นแสงไฟ เขาถูก ต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ในในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขาทุ่มลงไปในมหานรก ก็มหานรกนั้น (มีลักษณะ) ดังนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๕๐/๒๙๔-๒๙๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๑-๑๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๘๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒๐. วีสติมวรรค]

๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)

มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งกำหนดออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชติช่วง แผ่ความร้อนไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น นายนิรยบาลจึงมีอยู่ในนรก
นิรยปาลกถา จบ
๔. ติรัจฉานกถา (๑๙๗)
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉาน
[๘๖๙] สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. เทวดามีอยู่ในหมู่สัตว์ดิรัจฉานใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในหมู่เทวดาใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.อุ. (แปล) ๑๔/๒๕๐/๒๙๔-๒๙๕, องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๖/๑๙๔, @ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๗๐-๗๑/๑๗๙, ๒๖/๒๔๐-๒๔๑/๒๐๖, ๒๖/๖๙๓-๖๙๔/๒๘๑, @ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๐/๔๘๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๒๒/๔๐๒-๔๐๘ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๙/๓๑๒) @ เพราะมีความเห็นว่า ในเทวโลก มีเทวบุตรที่เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เช่น เอราวัณเทพบุตร ซึ่งต่างกับความเห็น @ของสกวาทีที่เห็นว่า เทพบุตรที่เป็นสัตว์ดิรัจฉานไม่มี แต่มีเทพบุตรจำแลงเป็นสัตว์ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๘๖๙/๓๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๙๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๘๙๗-๙๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=214              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=19292&Z=19353                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1818              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1818&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7009              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1818&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7009                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv20.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :