ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๔. ชหติกถา

๔. ชหติกถา
ว่าด้วยการละ
๑. นสุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการไม่ยกพระสูตรมาอ้าง
[๒๗๙] สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. ละได้เด็ดขาด ละได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ละได้อย่างไม่มีเยื่อใย ละได้ พร้อมทั้งมูล ละได้พร้อมทั้งตัณหา ละได้พร้อมทั้งอนุสัย ละได้ด้วยอริยญาณ ละได้ ด้วยอริยมรรค รู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมจึงละได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ข่มได้อย่างไม่มีเยื่อใย ข่มได้ พร้อมทั้งมูล ข่มได้พร้อมทั้งตัณหา ข่มได้พร้อมทั้งอนุสัย ข่มได้ด้วยอริยญาณ ข่มได้ด้วยอริยมรรค รู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมจึงข่มได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผล จึงข่มได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะพยาบาทได้ และละได้เด็ดขาด ละได้ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอื่นมี สมิติยะ เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๙/๑๖๙) @ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและโทสะได้เด็ดขาด (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๙/๑๖๙) @ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น @พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๐/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๔. ชหติกถา

สก. ปุถุชนละกามราคะพยาบาทได้ และละได้เด็ดขาด ละได้อย่างไม่มีส่วน เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงละได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้ และข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงข่มได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ปุถุชนข่มกามราคะพยาบาทได้ และข่มได้เด็ดขาด ข่มได้อย่างไม่มีส่วน เหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลจึงข่มได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ละไม่ได้ อย่างไม่มีส่วนเหลือ ละไม่ได้อย่างไม่มีเยื่อใย ละไม่ได้พร้อมทั้งมูล ละไม่ได้พร้อม ทั้งตัณหา ละไม่ได้พร้อมทั้งอนุสัย ละไม่ได้ด้วยอริยญาณ ละไม่ได้ด้วยอริยมรรค จะรู้แจ้งแทงตลอดอกุปปธรรมก็ละไม่ได้ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ละไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ฯลฯ จะทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ละไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปุถุชนข่มกามราคะและพยาบาทได้ แต่ละไม่ได้เด็ดขาด ข่มไม่ได้อย่าง ไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ข่มไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ข่มกามราคะพยาบาทได้ และข่มไม่ได้เด็ดขาด ข่มไม่ได้อย่างไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ทำให้แจ้งอนาคามิผลก็ ข่มไม่ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๔. ชหติกถา

สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ละได้ด้วยมรรคไหน ปร. ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร สก. มรรคฝ่ายรูปาวจรนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึง ความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มรรคฝ่ายรูปาวจรไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากมรรคฝ่ายรูปาวจรไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะ และพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร” สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ ด้วยอนาคามิมรรค และมรรคนั้นนำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของ สังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๖๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๔. ชหติกถา

สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ให้ถึงความสิ้นกิเลส ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ สังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ด้วยมรรคฝ่ายรูปาวจร และมรรคนั้น ไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึง นิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของ สังกิเลสใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ละกามราคะและพยาบาทได้ด้วย อนาคามิมรรค และมรรคนั้นไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏทุกข์ ไม่ให้ถึงความสิ้นกิเลส ไม่ให้ถึงความตรัสรู้ ไม่ให้ถึงนิพพาน เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของ สังโยชน์ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๐] สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม ปร. ใช่๑- สก. ดำรงอยู่ในอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อม กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า ปุถุชนผู้ได้ฌานสามารถละกามราคะและพยาบาทได้ เมื่อบรรลุสัจจะก็จะเป็น @พระอนาคามีได้เลย (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๘๐/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๔. ชหติกถา

สก. เจริญมรรคทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เจริญมรรคทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทำให้แจ้งสามัญญผลทั้ง ๓ ประการได้ไม่ก่อนไม่หลังใช่ไหม ปร. ใช่ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๓ เวทนา ๓ สัญญา ๓ เจตนา ๓ จิต ๓ สัทธา ๓ วิริยะ ๓ สติ ๓ สมาธิ ๓ ปัญญา ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ปุถุชนผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผลพร้อม กับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ด้วยโสดาปัตติมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ด้วยสกทาคามิมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ด้วยมรรคไหน ปร. ด้วยอนาคามิมรรค สก. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ด้วยอนาคามิมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๔. ชหติกถา

๒. สุตตาหรณกถา
ว่าด้วยการยกพระสูตรมาอ้าง
[๒๘๑] สก. ปุถุชนละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ด้วย อนาคามิมรรคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ ๓ ประการได้ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสโสดาปัตติผล(ว่ามี) เพราะละสังโยชน์ ๓ ประการได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ได้ด้วยอนาคามิมรรค” ฯลฯ สก. ปุถุชนละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิ- มรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ละกามราคะอย่างหยาบและพยาบาทอย่างหยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่งกามราคะ และพยาบาทมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสสกทาคามิผล(ว่ามี) เพราะความเบาบางแห่ง กามราคะและพยาบาท ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ละกามราคะและพยาบาทอย่าง หยาบได้ด้วยอนาคามิมรรค” สก. ปุถุชนเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการได้บรรลุธรรมใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๔. ชหติกถา

สก. เหล่าชนผู้บรรลุธรรมได้ทั้งหมด ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พร้อมกับการ ได้บรรลุธรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ครูทั้ง ๖ ผู้มียศ ได้รับยกย่องว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ๑- มุ่งมั่นในกรุณา ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ปุถุชนจึงละกามราคะและพยาบาทได้ สก. ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ คำว่า กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๔/๑๓๔) @ ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๔/๕๓๐-๕๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๔. ชหติกถา

สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครูสุเนตรนั้นเป็น ผู้มีอายุยืนนานอย่างนี้ เป็นผู้ดำรงอยู่ได้นานอย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เราจึงกล่าวว่า ไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ (๑) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล (๒) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ (๓) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา (๔) เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา ได้แล้ว ภวเนตติสิ้นไปแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก” (พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า) “พระโคดมผู้มียศ ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง พระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ ปรินิพพานแล้ว”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ปุถุชนละกามราคะและพยาบาทได้”
ชหติกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๘๖/๑๓๒-๑๓๓, องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑/๒, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๖๖/๑๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๖๗-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=3573&Z=3750                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=286              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=286&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3781              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=286&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3781                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :