ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๗. เอกัจจมัตถีติกถา
ว่าด้วยบางอย่างมีอยู่
๑. อตีตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอดีต เป็นต้น
[๒๙๙] สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตมีอยู่ใช่ไหม ปร.๑- สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี๒- สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างดับไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับไป บาง อย่างหายไปแล้ว บางอย่างยังไม่หายไป บางอย่างสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่สูญไป บางอย่างดับสูญไปแล้ว บางอย่างยังไม่ดับสูญไปใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๘) @ เพราะมีความเห็นว่า วิบากที่ยังไม่ให้ผล มีอยู่ ส่วนวิบากที่ให้ผลแล้ว ไม่มี (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๗. เอกัจจมัตถีติกถา

สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผล บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้ว บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีวิบาก บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตบางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมอะไรมีอยู่ สภาวธรรมอะไรไม่มีอยู่ ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็นอดีต ที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีอยู่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๗. เอกัจจมัตถีติกถา

สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่” สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๗. เอกัจจมัตถีติกถา

สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ไม่มีผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ให้ผลดับไปแล้วเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอดีต ส่วนหนึ่งให้ผลแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังไม่ให้ผล ดับไปแล้วเหล่านั้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผลมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลก็จักให้ผล ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลเหล่านั้นมีอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๗. เอกัจจมัตถีติกถา

สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอดีตที่ยังไม่ให้ผลจักให้ผล” จึง ยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม ปร. ใช่๑- สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
๒. อนาคตาทิเอกัจจกถา
ว่าด้วยสภาวธรรมบางอย่างที่เป็นอนาคต เป็นต้น
[๓๐๐] สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตมีอยู่ใช่ไหม ปร.๒- บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มี๓- สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตบางอย่างเกิด บางอย่างไม่เกิด บางอย่างเกิด อย่างดี บางอย่างไม่เกิดอย่างดี บางอย่างบังเกิด บางอย่างไม่บังเกิด บางอย่าง ปรากฏ บางอย่างไม่ปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า กรรมที่สั่งสมไว้ซึ่งยังไม่ให้ผลเป็นสิ่งที่มีปรากฏจึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๙๙/๑๗๙) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายกัสสปิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๐/๑๗๘-๑๗๙) @ เพราะมีความเห็นว่า วิปากธรรมบางอย่างจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๐๐/๑๗๘-๑๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๗. เอกัจจมัตถีติกถา

สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มี ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น บางเหล่ามีอยู่ บางเหล่าไม่มี ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคต บางอย่างมีอยู่ บางอย่างไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมอะไรมีอยู่ สภาวธรรมอะไรไม่มี ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ สภาวธรรมที่เป็น อนาคตที่จักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มี สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๗. เอกัจจมัตถีติกถา

สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นยังไม่เกิดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากสภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น ยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่” สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแต่ยังไม่เกิดเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น และยังไม่เกิดเหล่านั้นมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักไม่เกิดขึ้น และยังไม่เกิดเหล่านั้นไม่มี ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดเหล่านั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากสภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น ดังนั้น ท่านจึง ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นเหล่านั้นมีอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๓๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๘. สติปัฏฐานกถา

สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนมีอยู่” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้น จักเกิดขึ้น” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นอนาคตซึ่งจักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจุบัน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันจักดับ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมที่ปัจจุบันเหล่านั้นไม่มี” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เอกัจจมัตถีติกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=27              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=4912&Z=5050                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=408              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=408&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3992              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=408&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3992                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.8/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :