ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)
ว่าด้วยการรับคำแนะนำจากผู้อื่น
[๓๒๒] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. พระอรหันต์ถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่นชักจูงไป อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์ไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็นมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะ ผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำ แนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และเขาถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่น ชักจูงไปอาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่นอยู่ โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และท่านถูกผู้อื่นนำไป ถูกผู้อื่นชักจูงไป อาศัยผู้อื่น เกาะผู้อื่น โง่เขลา ไม่ฉลาด ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกาย ปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๒/๑๘๓) @ เพราะมีความเห็นว่า พระอรหันต์ต้องอาศัยผู้อื่นบอก จึงสามารถรู้ชื่อและโคตรของบุคคล และสถานที่ @เป็นต้นได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๒๒/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และท่านไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูกผู้อื่นชักจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็น ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมี และเขาไม่ถูกผู้อื่นนำไป ไม่ถูก ผู้อื่นชักจูงไป ไม่อาศัยผู้อื่น ไม่เกาะผู้อื่น ไม่โง่เขลา ฉลาด ย่อมรู้ ย่อมเห็นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นใน(เรื่อง)พระศาสดา ใน(เรื่อง)พระธรรม ใน(เรื่อง)พระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนเบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลาย ทั้งในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลาย ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจ- สมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากการรับคำแนะนำจากผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ใน ปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมี การรับคำแนะนำจากผู้อื่นใน พระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่า “เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี” ของปุถุชนนั้นมีใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี การรับคำแนะนำจากผู้อื่น ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นมีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีอยู่ และการรับคำแนะนำจาก ผู้อื่นในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของปุถุชนมีอยู่ และการรับคำแนะนำจากผู้อื่น ในพระศาสดา ในพระธรรม ฯลฯ ในปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ของปุถุชนนั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๒๓] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากราคะพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัด รากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอน โคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

ต่อไปไม่ได้ ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะมิใช่หรือ สก. พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ทำให้แจ้งธรรมที่ควร ทำให้แจ้งแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ พระอรหันต์มี” [๓๒๔] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมี แต่ การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มี สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนมีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นมีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว (แต่)การรับคำแนะนำ จากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละราคะได้แล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจาก ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตน ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์ เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นยังมีอยู่ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว (แต่)การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ นั้นยังมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่นละได้แล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่น ของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ราคะพระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนละได้แล้ว การรับคำแนะนำจาก ผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมอื่น ละได้แล้ว ฯลฯ เจริญมรรค ฯลฯ เจริญโพชฌงค์เพื่อละราคะ ฯลฯ เพื่อละโทสะ ฯลฯ เพื่อละอโนตตัปปะ ฯลฯ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้ง ธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ผู้ฉลาดในธรรมของตนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์ นั้นไม่มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

[๓๒๕] สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ฯลฯ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ เมื่อ บุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ สิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อยังไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ แต่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ข. (แปล) ๑๗/๑๐๑/๑๙๒-๑๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

บุคคลเมื่อรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัด ละสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์” มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พระโสดาบันละธรรม ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว พร้อมกับการ บรรลุโสดาปัตติมรรค พระโสดาบันก็พ้นจากอบายทั้ง ๔ และจะไม่ทำอภิฐาน ๖”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ธรรมจักษุ ที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อริยสาวกว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด ขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา’ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่ง โสดาปัตติมรรค อริยสาวกย่อมละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๒๓๓-๒๓๔/๕๕๕ @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๕/๓๒๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๔. ปรวิตารณกถา (๑๓)

สก. การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “โธตกะ เราไม่อาจปลดเปลื้องใครๆ ผู้มีความสงสัยในโลกได้ แต่เธอเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมอันประเสริฐ ก็จะพึงข้ามโอฆะได้เองด้วยประการฉะนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระ อรหันต์มี” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ผู้อื่นจะพึงแนะนำนามและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อ ของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. หากผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อของหญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของพระอรหันต์มี” สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำชื่อและโคตรของสตรีและบุรุษ ทางและมิใช่ทาง ชื่อของ หญ้า ไม้ และต้นไม้เจ้าป่าแก่พระอรหันต์ได้ ดังนั้น การรับคำแนะนำจากผู้อื่นของ พระอรหันต์จึงมีใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.สุ. (แปล) ๒๕/๑๐๗๑/๗๕๕, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๙/๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๒๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๒. ทุติยวรรค]

๕. วจีเภทกถา (๑๔)

สก. ผู้อื่นจะพึงแนะนำโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล แก่พระอรหันต์ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปรวิตารณกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๒๘๓-๒๙๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=6138&Z=6353                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=547              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=547&items=28              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=547&items=28                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv2.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :