ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)
ว่าด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะ
[๓๘๔] สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม ปร.๑- ใช่ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญามิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๑/๒๐๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)

สก. หากเป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ มีสัญญา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการ ได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ภพนั้นเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากเป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า สัญญา มีอยู่” [๓๘๕] สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง อสัญญสัตว์นั้น เป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มี สัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่ มีสัญญาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นเป็นภพที่ไม่มีสัญญา เป็นคติที่ไม่มีสัญญา เป็นสัตตาวาสที่ไม่มีสัญญา เป็นสงสารที่ไม่มีสัญญา เป็นกำเนิดที่ไม่มีสัญญา เป็นการได้อัตภาพที่ไม่มีสัญญาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)

สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และ ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพก็เป็นภพที่มีขันธ์ ๑ เป็นคติ ... เป็นสัตตาวาส ... เป็นสงสาร ... เป็นกำเนิด ... เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๑ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่งอสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการ ได้อัตภาพที่มีสัญญาใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพที่มีสัญญา เป็นคติที่มีสัญญา ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่ มีสัญญาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และในเนวสัญญานาสัญญายตนภพนั้นก็เป็นภพ ... เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้ อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในหมู่อสัญญสัตว์ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” และภพแห่ง อสัญญสัตว์นั้นก็เป็นภพ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพที่มีขันธ์ ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)

สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “สัญญามีอยู่” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านก็ไม่ควร ยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่าสัญญามีอยู่” [๓๘๖] สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ใน อากาสานัญจายนตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพ เป็นภพที่มีขันธ์ ๔ แต่ท่านไม่ยอมรับว่า “ในอากิญจัญญายตนภพ สัญญามีอยู่” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)

สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่ มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ควรยอม รับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี สัญญาก็มิใช่” สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ใน เนวสัญญานาสัญญายตนภพ สัญญามีและไม่มี” ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา (๓๒)

สก. อากาสานัญจายตนภพ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ท่านไม่ยอมรับว่า “ในอากิญจัญญายตน- ภพ มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. อากาสานัญจายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วิญญาณัญจายตนภพ ฯลฯ อากิญจัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เนวสัญญานาสัญญายตนภพเป็นภพที่มีขันธ์ ๔ ในภพนั้นสัญญามีอยู่ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่มี สัญญาก็ใช่” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากเนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ ข้าพเจ้าไม่ยอมรับว่า มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ใช่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๓. ตติยวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “เนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่” จึงไม่ยอมรับว่า “มีสัญญาก็ใช่ ไม่มีสัญญาก็ใช่” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “อทุกขมสุขเวทนามีอยู่” จึงไม่ยอมรับว่า มีเวทนาก็ใช่ ไม่มีเวทนาก็ใช่” ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
เนวสัญญานาสัญญายตนกถา จบ
ตติยวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลกถา ๒. อริยันติกถา ๓. วิมุตติกถา ๔. วิมุจจมานกถา ๕. อัฏฐมกกถา ๖. อัฏฐมกัสสอินทริยกถา ๗. ทิพพจักขุกถา ๘. ทิพพโสตกถา ๙. ยถากัมมูปคตญาณกถา ๑๐. สังวรกถา ๑๑. อสัญญกถา ๑๒. เนวสัญญานาสัญญายตนกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๙๒-๓๙๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=8586&Z=8702                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=852              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=852&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4501              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=852&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4501                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv3.12/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :