ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)
ว่าด้วยชื่อว่าพุทธะเพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
[๓๙๘] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. เมื่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดับไป หายไป ระงับไปแล้ว ไม่จัดว่าเป็น พุทธะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๘/๒๐๔) @ เพราะมีความเห็นว่า จะเรียกว่าพุทธะได้ก็เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ และมีปรากฏตลอดไปเช่นเดียวกับ @สี เช่นจะเรียกว่าคนขาว ก็เพราะมีผิวขาว จะเรียกว่าคนดำ ก็เพราะมีผิวดำ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๘/๒๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)

สก. บุคคลทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็น เครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่อง ตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทำกิจที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)

สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต ทำกิจที่ควรทำ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน ทำกิจที่ควรทำ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต ทำกิจที่ควร ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)

สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่ทำกิจที่ควร ทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจ ที่ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต แต่ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีตนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่ทำกิจที่ควรทำ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่ทำกิจที่ ควรทำด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ได้ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้น ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคต แต่ไม่กำหนด รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอนาคตนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบัน แต่ไม่กำหนด รู้ทุกข์ ฯลฯ เจริญมรรคด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นปัจจุบันนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๖. โพธิยาพุทโธติกถา (๓๘)

[๓๙๙] สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระพุทธะ บริบูรณ์ มั่นคง ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่าง เนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ระคนกัน ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๓ อย่างปรากฏใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ดังนั้น ท่านจึงควร ยอมรับว่า “ชื่อว่าพุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้” สก. ชื่อว่าพุทธะ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ เพราะปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ชื่อว่าโพธิ เพราะได้ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
โพธิยาพุทโธติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๒๐-๔๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=58              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=9195&Z=9309                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=937              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=937&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4586              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=937&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4586                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv4.6/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :