ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)
ว่าด้วยการหยั่งลงสู่นิยาม
[๔๐๓] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม๒- ประพฤติพรหมจรรย์๒- แล้วใน ศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร.๓- ใช่๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) ๑๑/๑๙๙-๒๐๐/๑๕๙-๑๖๐ @ คำว่า นิยามก็ดี พรหมจรรย์ก็ดี เป็นชื่อของอริยมรรค ดังนั้น คำว่า หยั่งลงสู่นิยาม หมายถึง @บรรลุอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖) @ เพราะมีความเห็นว่า พระโพธิสัตว์โชติปาละเคยได้อริยมรรคมาแล้วในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่า @กัสสปะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

สก. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. พระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่๒- สก. เป็นสาวกแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นสาวกแล้วจึงเป็นพระพุทธเจ้าใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟังใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟังใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสยัมภูมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระสยัมภู ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระ ผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยการรับฟัง” สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระ ผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผลเพียง ๓ เท่านั้น ณ ควงไม้โพธิ์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เพราะคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในคำถามนี้ ปรวาทีมุ่งถึงพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย จึงตอบปฏิเสธ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๖) @ เพราะคำว่า “พระโพธิสัตว์” ในคำถามนี้ ปรวาทีมุ่งถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ @โชติปาละ จึงตอบรับ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๓/๒๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๒๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

สก. พระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผล ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากพระผู้มีพระภาคตรัสรู้สามัญญผล ๔ ณ ควงไม้โพธิ์ ท่านก็ไม่ ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” [๔๐๔] สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนา ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโพธิสัตว์ได้ทำทุกกรกิริยา(การทำความเพียรที่คนทั่วไปทำได้ยาก) ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ(โสดาปัตติมรรค)จึงทำทุกกรกิริยาใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญตบะอย่างอื่นและนับถือศาสดาอื่น๑- ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะจะพึงนับถือศาสดาอื่นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ท่านพระอานนท์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาค (ดังนั้น) ท่านพระอานนท์จึงเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ศาสดาอื่น ในที่นี้หมายถึงอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุททกดาบส รามบุตร (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๐๔/๒๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ (ดังนั้น) พระโพธิสัตว์จึงเป็นสาวกของพระผู้มี พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ท่านจิตตคหบดี ท่านหัตถกะชาวเมืองอาฬวี หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาค (ดังนั้น) จิตตคหบดี ท่านหัตถกะ ชาวเมืองอาฬวี จึงเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ (ดังนั้น) พระโพธิสัตว์จึงเป็นสาวกของพระผู้มี พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม ว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านพระอานนท์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาค แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม ว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านจิตตคหบดี ท่านหัตถกะชาวเมืองอาฬวี หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาค แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มี พระภาคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ แต่ไม่ได้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคพระนาม ว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เป็นสาวกล่วงไปชาติหนึ่งแล้วกลับไม่เป็นสาวกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๐๕] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ แล้วในพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ เพื่อความตรัสรู้ในอนาคต” มีอยู่จริง มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ‘เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑- รู้ธรรมทั้งปวง๒- มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๑- ละธรรมทั้งปวง๑- ได้สิ้นเชิง หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง แล้วจะพึงอ้างใครเล่า @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

เราไม่มีอาจารย์๑- เราไม่มีผู้เสมอเหมือน เราไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเองเพียงผู้เดียว เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสได้แล้วในโลก เราจะไปเมืองหลวงแห่งชาวกาสี ประกาศธรรมจักร ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน’ อุปกาชีวกกราบทูลว่า ‘อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ’ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ”๒- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติ พรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ” สก. พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มี พระภาคพระนามว่ากัสสปะใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วใน ธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขอริยสัจ’ @เชิงอรรถ : @ อาจารย์ ในที่นี้หมายถึงอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๑/๑๗, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๘๕/๓๑๑, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๔๑/๔๑๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๘. นิยาโมกกันติกถา (๔๐)

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แส่งสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ ควรกำหนดรู้’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขอริยสัจนี้ เราได้กำหนดรู้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจนี้ ควรละ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขสมุทยอริยสัจ เราละได้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ควรทำให้แจ้ง’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ ควรให้เจริญ’ ภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยสดับมาก่อนว่า ‘ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๕/๒๒-๒๓, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๐๘๑/๕๙๓-๕๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๓๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]

๙. อปราปิสมันนาคตกถา (๔๑)

สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “พระโพธิสัตว์หยั่งลงสู่นิยาม ประพฤติพรหมจรรย์แล้วในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสปะ”
นิยาโมกกันติกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๒๘-๔๓๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=60              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=9396&Z=9532                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=969              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=969&items=16              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4634              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=969&items=16              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4634                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv4.8/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :