ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๔. นิยามกถา (๔๖)

๔. นิยามกถา (๔๖)
ว่าด้วยนิยาม
[๔๒๘] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอน๑- มีญาณเพื่อไปสู่นิยาม๒- ได้ใช่ไหม ปร.๓- ใช่๔- สก. บุคคลผู้แน่นอน๕- มีญาณเพื่อไปสู่อนิยาม๖- ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ บุคคลผู้ไม่แน่นอน ในที่นี้หมายถึงปุถุชนผู้มีคติไม่แน่นอน อาจไปเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่งในภูมิ ๓ คือ @กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๐๓ หน้า ๔๒๘ ในเล่มนี้ @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐) @ เพราะมีความเห็นว่า แม้ปุถุชนก็มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐) @ บุคคลผู้แน่นอน ในที่นี้หมายถึงพระอริยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๒๘/๒๑๐) @ อนิยาม ในที่นี้หมายถึงมิจฉัตตนิยาม คืออนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๔. นิยามกถา (๔๖)

สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่อนิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๒๙] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีนิยามเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีสติปัฏฐาน ฯลฯ มีสัมมัปปธาน ฯลฯ มีอิทธิบาท ฯลฯ มีอินทรีย์ ฯลฯ มีพละ ฯลฯ มีโพชฌงค์ เพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีนิยามเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีนิยามเพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้” สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีสติปัฏฐาน ฯลฯ ไม่มีโพชฌงค์ เพื่อไปสู่นิยามได้ ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๔. นิยามกถา (๔๖)

สก. หากบุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีโพชฌงค์เพื่อไปสู่นิยาม ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้” [๔๓๐] สก. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีญาณในโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ อนาคามิผล ฯลฯ อรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผลใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๓๑] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่นิยามได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม๑- ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากพระผู้มีพระภาคทรงทราบได้ว่า “บุคคลนี้จักก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ควรเพื่อบรรลุธรรมได้” ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณ เพื่อไปสู่นิยามได้”
นิยามกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๖๖๓-๖๖๔/๒๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๖๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๕๙-๔๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=66              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=10068&Z=10134                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1046              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1046&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4728              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1046&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4728                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv5.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :