ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

๑๐. ผลญาณกถา (๕๒)

๑๐. ผลญาณกถา (๕๒)
ว่าด้วยผลญาณ
[๔๔๓] สก. พระสาวกมีผลญาณ๑- ใช่ไหม ปร.๒- ใช่ สก. พระสาวกกำหนดผลอันเป็นคุณสมบัติของตนได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งผล การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ การรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งบุคคล ของพระสาวกมีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. การบัญญัติขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ บุคคล ของพระสาวก มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสาวกเป็นพระชินเจ้า เป็นพระศาสดา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสัพพัญญู เป็นพระสัพพทัสสาวี เป็นพระธัมมัสสามี เป็นพระธัมมปฏิสรณะ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสาวกมีผลญาณใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ผลญาณ หมายถึงญาณหยั่งรู้ผลแห่งกรรมของสัตว์ทั้งหลาย ปรวาทีเห็นว่า พระสาวกก็สามารถมี @ผลญาณเหมือนกับพระพุทธเจ้า ส่วนสกวาทีเห็นว่าไม่เหมือนกัน @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๔๓/๒๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๕. ปัญจมวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

สก. พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้กำเนิดแก่มรรคที่ยังไม่ มีผู้ให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้รู้มรรค เข้าใจมรรค ฉลาดใน มรรคใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๔๔] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสาวกมีผลญาณ” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสาวกเป็นผู้ไม่มีญาณใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น พระสาวกจึงมีผลญาณ ฯลฯ
ผลญาณกถา จบ
ปัญจมวรรค จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. วิมุตติกถา ๒. อเสกขญาณกถา ๓. วิปรีตกถา ๔. นิยามกถา ๕. ปฏิสัมภิทากถา ๖. สมมติญาณกถา ๗. จิตตารัมมณกถา ๘. อนาคตญาณกถา ๙. ปัจจุปปันนญาณกถา ๑๐. ผลญาณกถา
มหาปัณณาสก์ จบ
รวมวรรคที่มีในมหาปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ ๑ เริ่มด้วยปุคคลกถา วรรคที่ ๒ เริ่มด้วยปรูปหารกถา วรรคที่ ๓ เริ่มด้วยพลกถา วรรคที่ ๔ เริ่มด้วยคิหิสสอรหาติกถา วรรคที่ ๕ เริ่มด้วยวิมุตติกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๗๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๗๑-๔๗๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=72              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=10337&Z=10372                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1075              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1075&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4838              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1075&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4838                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv5.10/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :