ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ
[๔๕๗] สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. นิโรธสมาบัติเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๗/๒๑๙) @ เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากนิโรธสมาบัติเป็นสภาวะที่ดับแล้ว จึงเป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของ @สกวาทีที่เห็นว่า นิโรธสมาบัติเป็นทั้งสังขตะ และอสังขตะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๕๗/๒๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)

สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ต้านทานมี ๒ อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี ๒ อย่างใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางพวกเข้านิโรธสมาบัติ ได้นิโรธสมาบัติ ให้นิโรธสมาบัติ อุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลบางพวกเข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรมที่ไม่ ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๕๘] สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธสมาบัติ ปรากฏได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ปรากฏได้ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. วจีสังขารของผู้เข้านิโรธสมาบัติอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารจึงดับ ต่อจากนั้น จิตสังขารจึงดับใช่ไหม ปร. ใช่ สก. วจีสังขารของผู้เข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารจึงดับ ต่อจากนั้น จิตตสังขารจึงดับใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๖. ฉัฏฐวรรค]

๕. นิโรธสมาปัตติกถา (๕๗)

สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้น กายสังขาร จึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผัสสะทั้ง ๓ คือ (๑) สุญญตผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิตผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากนิโรธแล้วใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผัสสะทั้ง ๓ คือ (๑) สุญญตผัสสะ (๒) อนิมิตตผัสสะ (๓) อัปปณิหิตผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จิตของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่วิเวกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จิตของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่ วิเวกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๕๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย ปรุงแต่ง” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น นิโรธสมาบัติจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
นิโรธสมาปัตติกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๙๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๘๘-๔๙๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=77              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=10732&Z=10791                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1100              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1100&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4932              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1100&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4932                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv6.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :