ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๔. ทานกถา (๖๖)

๔. ทานกถา (๖๖)
ว่าด้วยทาน๑-
[๔๗๘] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้ใช่ไหม ปร.๒- ใช่ สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่นๆ ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่นๆ ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จะให้ผัสสะแก่คนอื่นๆ ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่นๆ ได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๗๙] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์ เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ทาน โดยทั่วไปมี ๓ อย่าง คือ (๑) จาคเจตนา (เจตนาเป็นเหตุบริจาค) (๒) วิรัติ (การงดเว้น) (๓) ไทยธรรม @(การให้สิ่งของ) ทาน ๓ ประการนี้ย่นลงเป็น ๒ คือ (๑) เจตสิกธรรม (จาคเจตนาและวิรัติ) (๒) ไทยธรรม @ซึ่งฝ่ายปรวาทีมีความเห็นว่า เจตสิกธรรมเท่านั้น เรียกว่าทาน ส่วนไทยธรรมไม่เรียกว่า ทาน @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๘/๒๒๓) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๗๘/๒๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๔. ทานกถา (๖๖)

ปร. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็น กำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็น ทานได้” สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. จีวรมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทาน ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๘๐] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ และทานที่เป็นกุศล อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๔. ทานกถา (๖๖)

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าธรรม ๓ ประการนี้ เป็นทางไปสู่เทวโลก เพราะธรรม ๓ ประการนี้แล บุคคลจึงไปสู่เทวโลกได้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทานได้ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จัก ไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มี เวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็น ผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอัน ไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ ๑ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบ ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็ จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ๒. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ ๓. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ๔. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ ๕. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๒/๒๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๔. ทานกถา (๖๖)

ของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ชื่อว่า ให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้ง หลายไม่มีประมาณ นี้เป็นทาน ประการที่ ๕ เป็นมหาทาน ที่รู้ กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่า เป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้ จัดเป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทาน [๔๘๑] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป” มีอยู่จริง มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ไทยธรรมจึงเป็นทานได้ [๔๘๒] ปร. ไทยธรรมเป็นทานได้ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ไทยธรรมมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุข เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม สก. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๙/๓๐๐-๓๐๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)

ปร. จีวรมีผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทานใช่ไหม สก. ใช่ ปร. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้”
ทานกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๐๘-๕๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=86              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=11126&Z=11233                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1139              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1139&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5019              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1139&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5019                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv7.4/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :