ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์
๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)
ว่าด้วยบุญสำเร็จด้วยการบริโภค
[๔๘๓] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค๑- เจริญได้ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค ในที่นี้หมายถึงบุญที่เกิดจากวัตถุทานที่ผู้รับ (ปฏิคาหก) นำไปใช้สอย @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๓/๒๒๔-๒๒๕) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๓/๒๒๕) @ เพราะมีความเห็นว่า วัตถุทานที่ผู้รับนำไปใช้สอยเท่านั้นจึงเกิดบุญ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า @บุญเกิดจากจาคเจตนาใน ๓ กาล คือ (๑) ปุริมเจตนา (เจตนาก่อนให้) (๒) มุญจนเจตนา (เจตนากำลังให้) @(๓) อปราปรเจตนา (เจตนาหลังจากให้แล้ว) โดยไม่คำนึงถึงว่าจะใช้สอยวัตถุทานนั้นหรือไม่ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๔๘๓/๒๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)

สก. เจริญได้เหมือนเถาวัลย์ เหมือนเถาย่านทราย เหมือนต้นไม้ เหมือนหญ้า เหมือนกองหญ้าปล้องใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๘๔] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทายกถวายทานแล้วไม่ใฝ่ใจ ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทานของผู้ไม่นึกถึง ผู้ไม่ขวนขวาย ผู้ไม่สนใจ ผู้ไม่ใฝ่ใจ ผู้ไม่จงใจ ผู้ไม่ต้องการ ผู้ไม่ปรารถนา เป็นบุญใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ทานของผู้นึกถึง ผู้ขวนขวาย ผู้สนใจ ผู้ใฝ่ใจ ผู้จงใจ ผู้ต้องการ ผู้ปรารถนา เป็นบุญมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากทานของผู้นึกถึง ผู้ขวนขวาย ผู้สนใจ ผู้ใฝ่ใจ ผู้จงใจ ผู้ต้องการ ผู้ปรารถนา เป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” [๔๘๕] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทายกถวายทานแล้ว ตรึกถึงกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)

สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ จิต ๒ ดวงใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. สภาวธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและ ประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกล กันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้ สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ท้องฟ้ากับแผ่นดิน นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๑ ๒. ฝั่งนี้กับฝั่งโน้นของทะเล นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่าง ที่ ๒ ๓. จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นกับจุดที่ดวงอาทิตย์ตก นี้เป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกล กันเหลือเกินอย่างที่ ๓ ๔. ธรรมของสัตบุรุษ(คนดี)กับธรรมของอสัตบุรุษ(คนชั่ว) นี้เป็นสิ่งที่ อยู่ห่างไกลกันเหลือเกินอย่างที่ ๔ ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่อยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน ๔ อย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)

นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า ฟ้ากับดินอยู่ไกลกัน ฝั่ง (ทั้ง ๒) ของทะเลอยู่ไกลกัน จุดที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกก็อยู่ไกลกัน บัณฑิตกล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษ กับธรรมของอสัตบุรุษอยู่ไกลกันยิ่งกว่านั้น สมาคมของสัตบุรุษยั่งยืนนาน ดำรงอยู่ตราบนานเท่านาน ส่วนสมาคมของอสัตบุรุษย่อมจืดจางเร็ว เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ จึงห่างไกลกันกับธรรมของอสัตบุรุษ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่ มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาวและเป็นฝ่ายมี ส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้” [๔๘๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ชนเหล่าใดปลูกสวนอันรื่นรมย์ ปลูกป่า สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ บ่อน้ำ และให้ที่พักอาศัย บุญย่อมเจริญแก่ชนเหล่านั้น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๔๗/๗๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)

ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลแล้วย่อมเป็นผู้ไปสู่สวรรค์๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภคจึงเจริญได้ ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๒- ๔ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อ สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ฯลฯ ๓. ภิกษุใช้สอยเสนาสนะของทายกใด ฯลฯ ๔. ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิ ที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นหาประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๔๗/๖๑ @ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลวิบากที่เกิดขึ้นแห่งบุญกุศลซึ่งหลั่งไหลนำสุขมาให้ผู้บำเพ็ญไม่ขาดสาย @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๗. สัตตมวรรค]

๕. ปริโภคมยปุญญกถา (๖๗)

ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล ๔ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้ อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค จึงเจริญได้ [๔๘๗] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทายกถวายทาน ปฏิคาหกรับทานแล้วไม่บริโภค ทิ้งเสีย สละเสีย ทานนั้นเป็นบุญใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากทายกถวายทาน ปฏิคาหกรับทานแล้วไม่บริโภค ทิ้งเสีย สละเสีย ทานนั้นเป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้” สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ทายกถวายทาน เมื่อปฏิคาหกรับทานแล้ว พระราชาทรงริบไปเสีย โจรลักไป ไฟไหม้ น้ำพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักกันนำไปเสีย ทานนั้นเป็น บุญใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากทายกถวายทาน เมื่อปฏิคาหกรับทานแล้ว พระราชาทรงริบไปเสีย โจรลักไป ไฟไหม้ น้ำพัดไป หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รักกันนำไปเสีย ทานนั้นเป็นบุญ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้”
ปริโภคมยปุญญกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๑-๕๒/๘๔-๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๕๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๕๑๒-๕๑๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=87              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=11234&Z=11346                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1145              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=1145&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5049              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=1145&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5049                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv7.5/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :