ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๒๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มี สภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
อารัมมณปัจจัยเป็นต้น
[๒๗] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะอารัมมณปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๒๘] เหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ (ย่อ) กัมมปัจจัย มี ๓ วาระ วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ อวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร

๒. ปัจจยปัจจนียะ ๑. วิภังควาร
นเหตุปัจจัย
[๒๙] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่ เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน ปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ ฯลฯ (๑)
นอธิปติปัจจัย
[๓๐] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะผิด และให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบและ ให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองเพราะนอธิปติปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
นปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[๓๑] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มี สภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองเพราะนปุเรชาตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ เกิดระคน กับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๔๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร

สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ ผิดและให้ผลแน่นอนเพราะนปัจฉาชาตปัจจัย (บริบูรณ์แล้ว)
นอาเสวนปัจจัยเป็นต้น
[๓๒] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองเพราะนอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะผิด และให้ผลแน่นอนเพราะนกัมมปัจจัย เพราะนวิปากปัจจัย (ย่อ) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองเพราะนฌานปัจจัย ได้แก่ ... เกิดระคนกับปัญจวิญญาณ ฯลฯ เพราะ นมัคคปัจจัย ... เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่เป็นอเหตุกะซึ่งไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเกิดระคนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนเพราะนวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ เกิดระคนกับขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ฯลฯ เกิดระคนกันขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเกิดระคนกับสภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองเพราะนวิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ ในอรูปาวจรภูมิ ขันธ์ ๓ เกิดระคน กับขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เกิดระคนกับขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๓๓] นเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๕. สังสัฏฐวาร

นปุเรชาตปัจจัย มี ๒ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๓ วาระ นฌานปัจจัย มี ๑ วาระ นมัคคปัจจัย มี ๑ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๓๔] นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นปุเรชาตปัจจัย ” มี ๒ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ นอาเสวนปัจจัย ” มี ๑ วาระ นกัมมปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปากปัจจัย ” มี ๓ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๓๕] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๑ วาระ (ย่อ) อวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ สังสัฏฐวาร จบ
(สัมปยุตตวารเหมือนกับสังสัฏฐวาร)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๔๙๘-๕๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=41&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=41&A=11854&Z=11937                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1667              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=41&item=1667&items=20              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=41&item=1667&items=20                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu41



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :