ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๓๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็น ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด ให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีสภาวะ ผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๓๗] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะพิจารณากิเลสที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนซึ่งละได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งขันธ์ที่มีสภาวะ ผิดและให้ผลแน่นอนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อม ด้วยจิตที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณา มรรค รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนด้วย เจโตปริยญาณ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) [๓๘] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษา อุโบสถแล้วพิจารณากุศลนั้น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน พระอริยะพิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลสที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของ บุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอารัมมณปัจจัย รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดย อารัมมณปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด และให้ผลแน่นอนโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม และโลหิตุปปาทกรรมโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่ มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ยึดมั่นหทัยวัตถุใด หทัยวัตถุนั้นเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอารัมมณปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย อารัมมณปัจจัย (๓)
อธิปติปัจจัย
[๓๙] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย อธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดี- ธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด ให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๔๐] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย อธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและ สหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอธิปติปัจจัยมีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๔๑] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะพิจารณาผลให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก แน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอธิปติปัจจัยมีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอธิปติปัจจัย (๒)
อนันตรปัจจัย
[๔๒] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่ นอนเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอนันตร- ปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองซึ่ง เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ผลเป็น ปัจจัยแก่ผล อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (๑) [๔๓] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โทมนัสที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่โทมนัสที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอนันตรปัจจัย มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนโดย อนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอนันตรปัจจัย (๓)
สมนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๔๔] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยสมนันตรปัจจัย (ปัจจัยนี้เหมือนกับอนันตรปัจจัย) เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร มี ๙ วาระ) เป็นปัจจัยโดย อัญญมัญญปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร มี ๓ วาระ) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย (เหมือนกับกุสลติกะ มี ๑๓ วาระ)
อุปนิสสยปัจจัย
[๔๕] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ได้แก่ มาตุฆาตกรรมเป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย มาตุฆาตกรรม ฯลฯ ปิตุฆาตกรรม ฯลฯ อรหันตฆาตกรรม ฯลฯ โลหิตุปปาทกรรม ฯลฯ สังฆเภทกรรม ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึง ทำเป็นจักกนัย) มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอน โดยอุปนิสสยปัจจัย มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ฯลฯ สังฆเภทกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลปลงชีวิตมารดา ประสงค์จะลบล้างกรรมนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ปลงชีวิตพระอรหันต์ ฯลฯ มีจิตประทุษร้ายทำโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ประสงค์จะลบล้าง กรรมนั้นจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ (๒) [๔๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ ตติยมรรคเป็น ปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทำสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิด ขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาด ในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดย อุปนิสสยปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๔๗] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ... อภิญญา ... สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... อุตุ ... โภชนะ ... เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ศรัทธาที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ สุขทางกาย ... ทุกข์ ทางกาย ... ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ ปฐมฌานนั้นเท่านั้น ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนว- สัญญานาสัญญายตนะนั้นเท่านั้น ฯลฯ ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ปาณาติบาตเป็น ปัจจัยแก่ปาณาติบาตโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงทำเป็นจักกนัย) (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ผิดและให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองแล้ว ปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ทำลายสงฆ์อาศัยโทสะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้วปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ทำลาย สงฆ์ ราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ... ปิตุฆาตกรรม ... อรหันตฆาตกรรม ... โลหิตุปปาทกรรม ... สังฆเภทกรรม ... มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
ปุเรชาตปัจจัย
[๔๘] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ เป็นต้นนั้น ราคะที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายา- ยตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการ ทั้งสองโดยปุเรชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ผิดและให้ผลแน่นอนโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ... ปิตุฆาตกรรม ... อรหันตฆาตกรรม ... โลหิตุปปาทกรรมโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่ นอนโดยปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยปุเรชาตปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปัจฉาชาตปัจจัย
[๔๙] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผล แน่นอนซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน ซึ่งเกิดภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองโดยปัจฉาชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองซึ่งเกิด ภายหลังเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
อาเสวนปัจจัย
[๕๐] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้ง สองซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองซึ่งเกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทานโดย อาเสวนปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด และให้ผลแน่นอนโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ โทมนัสที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง เป็นปัจจัยแก่โทมนัสที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอาเสวนปัจจัย มิจฉาทิฏฐิ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่นอนโดยอาเสวน- ปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอาเสวนปัจจัย ได้แก่ โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอาเสวนปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

กัมมปัจจัย
[๕๑] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่มีสภาวะผิดและให้ผล แน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย กัมมปัจจัย (๓) [๕๒] สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่มีสภาวะชอบและให้ ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ที่เป็นวิบากโดยกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนา ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย กัมมปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ เป็นวิบากและกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (๑)
วิปากปัจจัย
[๕๓] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปากปัจจัย ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ
อาหารปัจจัยเป็นต้น
[๕๔] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยฌานปัจจัย เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัย
[๕๕] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่ แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและ ปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่ เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่จิตต- สมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้ง สองโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่ เกิดก่อนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ผิดและให้ผลแน่นอนโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบ และให้ผลแน่นอนโดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยวิปปยุตตปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

อัตถิปัจจัย
[๕๖] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะผิดและให้ผล แน่นอนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ โดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏ- ฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่ เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด ให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอัตถิปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๓) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ (มี ๓ วาระ) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยอัตถิปัจจัย ... มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

เป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟัง เสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดย อาการทั้งสองอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่ เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูป- ชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ผิดและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ฯลฯ โลหิตุปปาทกรรมโดยอัตถิปัจจัย หทัยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย (๓) [๕๗] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้ง สองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและหทัยวัตถุเป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและกวฬิงการาหารเป็น ปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ (มี ๒ วาระ เหมือนกับสภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน)
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๕๘] เหตุปัจจัย มี ๗ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๕ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๘ วาระ อนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๕ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๓ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๗ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๓ วาระ กัมมปัจจัย มี ๗ วาระ วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย มี ๗ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๗ วาระ ฌานปัจจัย มี ๗ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

มัคคปัจจัย มี ๗ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๑๓ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๕ วาระ วิคตปัจจัย มี ๕ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๕๙] สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มี สภาวะผิดและให้ผลแน่นอนโดยสหชาตปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน โดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาต- ปัจจัย และกัมมปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด ให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยสหชาตปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบและให้ผลแน่นอนโดยสหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และ ปัจฉาชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะ ชอบให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองโดยสหชาตปัจจัย (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

[๖๐] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่ นอนโดยอาการทั้งสองโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาต- ปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิด และให้ผลแน่นอนโดยอารัมมณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบ และให้ผลแน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะผิดให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (๒) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปุเรชาตะ (๑) สภาวธรรมที่มีสภาวะชอบให้ผลแน่นอนและที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองเป็น ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสอง มี ๔ อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (๒)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๖๑] นเหตุปัจจัย มี ๑๓ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๑๓ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๑๓ วาระ นอนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

นสมนันตรปัจจัย มี ๑๓ วาระ นสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย มี ๑๓ วาระ นปุเรชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ นปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑๓ วาระ นอาเสวนปัจจัย มี ๑๓ วาระ นกัมมปัจจัย มี ๑๓ วาระ นวิปากปัจจัย มี ๑๓ วาระ นอาหารปัจจัย มี ๑๓ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย มี ๑๓ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๗ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๗ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๑๗ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๑๓ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๗ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
เหตุทุกนัย
[๖๒] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ นอธิปติปัจจัย ” มี ๗ วาระ นอนันตรปัจจัย ” มี ๗ วาระ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๗ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๑๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

นอุปนิสสยปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ ฯลฯ นมัคคปัจจัย ” มี ๗ วาระ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๗ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๗ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๗ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๗ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
นเหตุทุกนัย
[๖๓] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๕ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๘ วาระ อนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ สมนันตรปัจจัย ” มี ๕ วาระ สหชาตปัจจัย ” มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๓ วาระ นิสสยปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๗ วาระ ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย ” มี ๓ วาระ กัมมปัจจัย ” มี ๗ วาระ วิปากปัจจัย ” มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย ” มี ๗ วาระ อินทรียปัจจัย ” มี ๗ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๒๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๕. มิจฉัตตนิยตติกะ ๗. ปัญหาวาร

ฌานปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๗ วาระ มัคคปัจจัย ” มี ๗ วาระ สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๓ วาระ วิปปยุตตปัจจัย ” มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ นัตถิปัจจัย ” มี ๕ วาระ วิคตปัจจัย ” มี ๕ วาระ อวิคตปัจจัย ” มี ๑๓ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียานุโลม จบ
มิจฉัตตนิยตติกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๕๐๒-๕๒๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=41&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=41&A=11938&Z=12378                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1687              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=41&item=1687&items=81              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=41&item=1687&items=81                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu41



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :