ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิ- ขณะ เหตุที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดยเหตุปัจจัย (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๒] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่เกิดขึ้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะที่ เกิดขึ้น ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เกิดขึ้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) [๓] สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอารัมมณ- ปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งรูปที่ยังไม่เกิดขึ้น ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑) [๔] สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุที่จักเกิดขึ้นแน่นอน ฯลฯ กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่จักเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

แน่นอนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น ขันธ์ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (๑)
อธิปติปัจจัย
[๕] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่เกิดขึ้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลยินดีเพลิดเพลินโสตะที่เกิดขึ้น ... ฆานะ ... ชิวหา ... กาย ... รูป ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินโสตะ เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินรูปที่ยังไม่เกิดขึ้น ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... โผฏฐัพพะ ... ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินรูปเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุที่จักเกิดขึ้น แน่นอน ฯลฯ กาย ... รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ ... หทัยวัตถุ ... ขันธ์ที่จักเกิดขึ้น แน่นอนให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้น นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตปัจจัย
[๖] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยสหชาตปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิ- ขณะ ขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูปโดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๒ และกฏัตตารูปโดยสหชาตปัจจัย ขันธ์เป็น ปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยสหชาตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดย สหชาตปัจจัย ... ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทายรูปโดยสหชาตปัจจัย (๑)
อัญญมัญญปัจจัย
[๗] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอัญญมัญญปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และหทัยวัตถุโดย อัญญมัญญปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดยอัญญมัญญปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ที่เป็น ภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่า อสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓ โดยอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ มหาภูตรูป ๒ ฯลฯ (๑)
นิสสยปัจจัย
[๘] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปโดยนิสสยปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ... ที่มี อาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับเหล่าอสัญญสัตตพรหม มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปและกฏัตตารูปที่เป็น อุปาทายรูป จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เกิดขึ้นโดยนิสสยปัจจัย (๑)
อุปนิสสยปัจจัย
[๙] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุที่เกิดขึ้นแล้วทำฌานให้เกิดขึ้น ทำ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยโภชนะที่เกิดขึ้น ฯลฯ เสนาสนะแล้วทำฌานให้เกิดขึ้น ทำวิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อุตุที่เกิดขึ้น ... โภชนะ ... เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเมื่อปรารถนาวรรณสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น จึงให้ ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ เมื่อปรารถนาสัททสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น ... คันธสมบัติ ... รสสมบัติ ... โผฏฐัพพสมบัติ ... ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นจึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ วรรณสมบัติที่ยังไม่เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอุปนิสสย- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเมื่อปรารถนาจักขุสมบัติที่จักเกิดขึ้นแน่นอนจึง ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ปรารถนาโสตสมบัติที่จักเกิดขึ้นแน่นอน ฯลฯ กายสมบัติ ฯลฯ วรรณสมบัติ ... คันธสมบัติ ... รสสมบัติ ... โผฏฐัพพสมบัติ ... ขันธ์ที่จักเกิดขึ้นแน่นอน จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ จักขุสมบัติที่ จักเกิดขึ้นแน่นอน ฯลฯ กายสมบัติ ฯลฯ วรรณสมบัติ ฯลฯ โผฏฐัพพสมบัติ ฯลฯ ขันธ์ที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เกิดขึ้น ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย มรรค และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑)
ปุเรชาตปัจจัย
[๑๐] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูป ด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เกิดขึ้นโดยปุเรชาตปัจจัย (๑)
ปัจฉาชาตปัจจัย
[๑๑] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยปัจฉาชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย (๑)
กัมมปัจจัย
[๑๒] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดย กัมมปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

วิปากปัจจัย
[๑๓] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยวิปากปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นวิบากซึ่งเกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยวิปากปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัย แก่ขันธ์ ๓ และกฏัตตารูป ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุโดย วิปากปัจจัย (๑)
อาหารปัจจัย
[๑๔] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอาหารปัจจัย ได้แก่ อาหารที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหารปัจจัย (๑)
อินทรียปัจจัย
[๑๕] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ อินทรีย์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอินทรีย- ปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยอินทรีย- ปัจจัย (๑)
ฌานปัจจัยเป็นต้น
[๑๖] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยฌานปัจจัยเป็น ปัจจัยโดยมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปโดยวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์เป็น ปัจจัยแก่หทัยวัตถุ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์โดยวิปปยุตตปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็น ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เกิดขึ้นโดยวิปปยุตตปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยวิปปยุตต- ปัจจัย (๑)
อัตถิปัจจัย
[๑๗] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ที่เป็นภายนอก ... ที่มีอาหารเป็นสมุฏฐาน ... ที่มีอุตุเป็นสมุฏฐาน ... สำหรับ เหล่าอสัญญสัตตพรหม ฯลฯ ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ฯลฯ เห็นแจ้งหทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูป ด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยอัตถิปัจจัย จักขายตนะเป็น ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๑)
อวิคตปัจจัย
[๑๘] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอวิคตปัจจัย ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
[๑๙] เหตุปัจจัย มี ๑ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๑ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๑ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๑ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๑ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ กัมมปัจจัย มี ๑ วาระ วิปากปัจจัย มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย มี ๑ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๑ วาระ ฌานปัจจัย มี ๑ วาระ มัคคปัจจัย มี ๑ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๑ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๑ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
อนุโลม จบ
ปัจจนียุทธาร
[๒๐] สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่จักเกิดขึ้นแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยอารัมมณ- ปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย (๑)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๒๑] นเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๓ วาระ นอธิปติปัจจัย มี ๓ วาระ ฯลฯ นวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ วาระ โนอัตถิปัจจัย มี ๒ วาระ โนนัตถิปัจจัย มี ๓ วาระ โนวิคตปัจจัย มี ๓ วาระ โนอวิคตปัจจัย มี ๒ วาระ (พึงนับอย่างนี้)
ปัจจนียะ จบ
๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๒๒] นราอัมมปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ฯลฯ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
อนุโลมปัจจนียะ จบ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๒๓] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ อธิปติปัจจัย ” มี ๓ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน]

๑๗. อุปปันนติกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ อัญญมัญญปัจจัย ” มี ๑ วาระ นิสสยปัจจัย ” มี ๑ วาระ อุปนิสสยปัจจัย ” มี ๑ วาระ ปุเรชาตปัจจัย ” มี ๑ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย ” มี ๑ วาระ กัมมปัจจัย ” มี ๑ วาระ วิปากปัจจัย ” มี ๑ วาระ อาหารปัจจัย ” มี ๑ วาระ อินทรียปัจจัย ” มี ๑ วาระ ฌานปัจจัย ” มี ๑ วาระ มัคคปัจจัย ” มี ๑ วาระ สัมปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ วิปปยุตตปัจจัย ” มี ๑ วาระ อัตถิปัจจัย ” มี ๑ วาระ อวิคตปัจจัย ” มี ๑ วาระ
ปัจจนียานุโลม จบ
ปัญหาวาร จบ
อุปปันนติกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๑ หน้า : ๕๕๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๑ หน้าที่ ๕๕๐-๕๕๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=41&siri=39              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=41&A=13040&Z=13268                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1888              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=41&item=1888&items=29              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=12750              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=41&item=1888&items=29              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=12750                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu41              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/patthana1.18/en/narada



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :