ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๓. อมูฬหวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า
เรื่องภิกษุชื่อคัคคะ
[๑๙๖] สมัยนั้น พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย กาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นเป็นผู้วิกลจริต มี จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้” ภิกษุชื่อคัดคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน เสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๐๙}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๓. อมูฬหวินัย

เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น ไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้น อยู่นั่นเองว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงได้โจทภิกษุชื่อคัคคะ ด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปร ปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสีย แล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็น อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น ไม่ได้ ผมหลง ได้ทำ สิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้ท่านกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่นั่นเองว่า ‘ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ ทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะ จริงหรือ ฯลฯ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อมูฬหวินัยแก่ ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว”
วิธีให้อมูฬหวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๐}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๓. อมูฬหวินัย

อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจท กระผมด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ กระผมกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิต แปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้กระผม กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยัง โจทกระผมอยู่นั่นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์” พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจท กระผม ด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายแล้วว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้’ กระผมกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มี จิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้กระผม กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทกระผมอยู่นั้นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ เห็นปานนี้’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์” ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า [๑๙๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะนี้วิกลจริต มีจิต แปรปรวน ภิกษุชื่อคัคคะนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๑}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๓. อมูฬหวินัย

ภิกษุทั้งหลายโจท ภิกษุชื่อคัคคะด้วยอาบัติที่ท่านผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผม วิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติ ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม ทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่นั่นเองว่า ‘ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นหายวิกล จริตแล้วขอ อมูฬวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะ ผู้ หายวิกลจริตแล้ว นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะนี้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ท่านวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุชื่อ คัคคะด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น ปานนี้’ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปร ปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกล จริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้ภิกษุชื่อ คัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่อย่างนั่นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติ แล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุชื่อคัคคะนั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัย กับสงฆ์ สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วย กับการให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๒}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๓. อมูฬหวินัย

อมูฬหวินัย สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ กรณี
[๑๙๘] ภิกษุทั้งหลาย การให้อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ หมวด ชอบธรรม ๓ หมวดนี้ การให้อมูฬหวินัย ไม่ชอบธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน
หมวดที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุ รูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น กำลังระลึก กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ ไม่ได้” สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุ นั้นระลึกได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้เหมือนความฝัน” สงฆ์ให้อมูฬห- วินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติ สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุ นั้นหายวิกลจริตแล้ว แต่ยังทำเป็นวิกลจริตว่า “ผมก็ทำอย่างนี้ ท่านทั้งหลายก็ทำ อย่างนี้ สิ่งนี้ควรแก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย” สงฆ์ให้อมูฬวินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม การให้อมูฬหวินัยไม่ชอบธรรม ๓ หมวดเหล่านี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๓}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๓. อมูฬหวินัย

อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ กรณี
หมวดที่ ๑
[๑๙๙] การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ หมวด เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวนได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าว ด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุ นั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้นระลึกไม่ได้จึงกล่าว อย่างนี้ว่า “ท่าน ผมต้องอาบัติแล้ว แต่ระลึกอาบัติเห็นปานนี้ไม่ได้” สงฆ์ให้อมูฬห- วินัยแก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุที่วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้น ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ระลึกไม่ได้จึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมระลึกได้เหมือนความฝัน” สงฆ์ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุนั้น การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ภิกษุนั้น ผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณ มากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือ ภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติแล้วจงระลึกอาบัติเห็นปานนี้” ภิกษุนั้น ยังวิกลจริตอยู่ ทำเป็นวิกลจริตว่า “ผมก็ทำอย่างนี้ แม้ท่านทั้งหลายก็ทำอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๔}

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]

๔. ปฏิญญาตกรณะ

สิ่งนี้ควรแม้แก่ผม สิ่งนี้ควรแม้แก่ท่านทั้งหลาย” สงฆ์ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุนั้น การ ให้อมูฬหวินัยชอบธรรม การให้อมูฬหวินัยชอบธรรม ๓ หมวดเหล่านี้
อมูฬหวินัย จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๐๙-๓๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=8164&Z=8292                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=600              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=600&items=8              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=600&items=8                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:5.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#Kd.14.4.11



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :