ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
อาสนปฏิพาหนาทิ
ว่าด้วยการกีดกันอาสนะเป็นต้น
เรื่องบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่ยังฉัน
[๓๑๖] สมัยนั้น มหาอมาตย์ผู้หนึ่งเป็นสาวกของอาชีวกจัดถวายสังฆภัต ท่าน พระอุปนันทศากยบุตรมาภายหลัง บังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลัง ฉันอยู่ จึงเกิดความวุ่นวายขึ้นในโรงอาหาร ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้นั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ เชื้อสายศากยบุตรมาภายหลังจึงบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉัน อยู่เล่า ทำให้เกิดความวุ่นวายในโรงอาหาร ภิกษุผู้นั่งที่อื่นควรจะได้ฉันจนอิ่มมิใช่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๓๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลายได้ยินมหาอมาตย์นั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ บรรดาภิกษุ ผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร มาภายหลัง จึงบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่เล่า ทำให้เกิด ความวุ่นวายในโรงอาหาร” ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอมาภายหลังบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ ทำให้เกิดความ วุ่นวายในโรงอาหารจริงหรือ” พระอุปนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอมาภายหลังจึงบังคับ ภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ ทำให้เกิดความวุ่นวายในโรงอาหารเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรง ตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบังคับให้ภิกษุที่นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ รูปใดบังคับให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าบังคับให้ลุกขึ้น ภิกษุที่ลุกขึ้นนั้นย่อมเป็นผู้ห้ามภัตด้วย พึงกล่าว กับภิกษุนั้นว่า ‘ท่านจงไปหาน้ำมา’ ถ้าพึงได้น้ำนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุ ที่ถูกบังคับให้ลุกขึ้นนั้นพึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อยแล้วจึงให้อาสนะแก่ภิกษุผู้แก่ พรรษากว่า ภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่ได้กล่าวว่า “ภิกษุพึงกีดกันอาสะสำหรับภิกษุ ผู้แก่พรรษากว่า โดยปริยายใดๆ’ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บังคับพวกภิกษุเป็นไข้ให้ลุกขึ้น พวกภิกษุเป็นไข้ตอบว่า “พวกเราไม่สามารถลุกขึ้นได้ (เพราะ) พวกเราเป็นไข้” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกเราจะช่วยพยุงพวกท่านให้ลุกขึ้น” แล้วช่วย ประคองให้ลุกขึ้น แล้วก็ปล่อยให้พวกภิกษุไข้ยืนอยู่ พวกภิกษุไข้สลบล้มลง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๓๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้ มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบังคับภิกษุเป็นไข้ให้ลุกขึ้น รูปใดบังคับ ให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกกระผมเป็นไข้ไม่ควรที่จะถูกไล่ให้ ลุกขึ้น” แล้วยึดเอาที่นอนดีๆ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ที่นอนที่เหมาะสม แก่ภิกษุเป็นไข้” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ก็กีดกันอาสนะเอาไว้โดยอ้างเลศ ภิกษุทั้งหลายจึง นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกีดกันเสนาสนะโดยอ้างเลศ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”
เรื่องอนุญาตให้ภิกษุถือเสนาสนะ
สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์(พวกภิกษุที่อยู่ในกลุ่มภิกษุ ๑๗ รูป)ซ่อม แซมวิหารหลังใหญ่แห่งหนึ่งอยู่สุดเขตอาราม ด้วยหมายใจว่า “พวกเราจะจำพรรษา ในที่นี้” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กำลังซ่อมแซมวิหาร ครั้นเห็น แล้วจึงกล่าวกันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านี้กำลังซ่อม แซมวิหาร มาเถิด พวกเราช่วยกันขับไล่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์นั้นออกไป” ภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดคอยจนกว่าพวกภิกษุ สัตตรสวัคคีย์นั้นจะซ่อมวิหารเสร็จแล้วพวกเราค่อยไล่ออกไป” ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกับพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ดังนี้ว่า “พวก ท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๓๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสนขันธกะ]

๒. ทุติยภาณวาร

พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านควรจะบอกก่อนมิใช่ หรือ พวกเราจะได้ซ่อมแซมวิหารหลังอื่น” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์มิใช่หรือ” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ใช่ ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “วิหารใหญ่ พวกท่านก็อยู่ได้ พวกเราก็อยู่ได้” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา” แล้วโกรธ ไม่พอใจ จับคอฉุดลากออกไป พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉุดลากออกไปก็ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ ไม่พอใจฉุดลากพวกกระผมออกจากวิหารของสงฆ์” บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ ฉัพพัคคีย์จึงโกรธไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า” ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโกรธไม่พอใจ ไม่พึงฉุดลาก ภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ รูปใดฉุดลาก พึงปรับอาบัติตามธรรม๑- ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุถือเสนาสนะ” @เชิงอรรถ : @ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงพึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๗ แห่งภูตคามวรรค @(วิ.มหา. (แปล) ๒/๑๒๔-๑๒๕/๓๐๒-๓๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๑๓๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๑๓๑-๑๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=7&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=2351&Z=2413                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=272              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=272&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=7404              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=272&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=7404                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/brahmali#pli-tv-kd16:10.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd16/en/horner-brahmali#Kd.16.10.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :